ข่าว

ออกแบบจำลองคณิตศาสตร์-แผนที่เสี่ยงภัย แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม

ออกแบบจำลองคณิตศาสตร์-แผนที่เสี่ยงภัย แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม

12 ธ.ค. 2562

กทม.พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลแสดงระดับน้ำแบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ออกแบบจำลองคณิตศาสตร์-แผนที่เสี่ยงภัย แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วมกรุง

 

               กทม.แก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม ติดตั้งระบบตรวจวัดค่าระดับน้ำในบริเวณสถานีสูบน้ำหลักกว่า 250 สถานี พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลแสดงระดับน้ำแบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

 

               นายขจิต ชัชวานิชย์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร  เปิดเผย  ตามที่ รศ.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ หรือ SCiRA  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

 

ออกแบบจำลองคณิตศาสตร์-แผนที่เสี่ยงภัย แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม

 

               ระบุจากการวิเคราะห์ของ  SCiRA  พบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ มักเกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำและไม่มีทางระบายน้ำเพียงพอ หากปริมาณน้ำฝนเกิน 60 มิลลิเมตร/ชั่วโมง จุดเสี่ยงน้ำท่วมจะมีมากกว่า 56 จุด

 

               จึงควรประยุกต์แนวคิดกักเก็บน้ำใต้ดิน “แก้มลิงใต้ดิน BKK” โมเดลแก้ปัญหาจุดเสี่ยงน้ำท่วม มาใช้ในการบริหารจัดการระบบระบายน้ำร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม  นั้น 

 

ออกแบบจำลองคณิตศาสตร์-แผนที่เสี่ยงภัย แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม


อ่านข่าว เตรียมแก้มลิง 13 ทุ่ง รับน้ำกว่า 2 พันล้านลบ.ม.

 

               ที่ผ่านมา กทม. ได้พัฒนาระบบตรวจวัดและระบบบริหารจัดการน้ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน สำนักการระบายน้ำ กทม. จัดให้มีระบบตรวจวัดค่าระดับน้ำในบริเวณสถานีสูบน้ำหลักแล้วกว่า 250 สถานี 


อ่านข่าว สทนช.เร่งทำแผนจัดการน้ำโครงการแก้มลิง แก้ท่วมซ้ำซาก

 

              ขณะเดียวกันได้พัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับแสดงผลข้อมูลระดับน้ำแบบเรียลไทม์ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม (Flood hazard map) เพื่อใช้วิเคราะห์ ออกแบบแผนการบริหารจัดการน้ำและระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

 

ออกแบบจำลองคณิตศาสตร์-แผนที่เสี่ยงภัย แก้จุดเสี่ยงน้ำท่วม

 

อ่านข่าว เตรียมแผนระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพ รองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

              นอกจากนั้นได้ดำเนินมาตรการแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เช่น โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม (Pipe Jacking) และโครงการก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน (วอเตอร์แบงก์) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในจุดเสี่ยง เป็นต้น