เหยื่อแก๊งหลอกขายรถ ร้องสื่อ หลังอดีตนายก อบต.ตกเป็นเหยื่อ
เหยื่อแก๊งหลอกขายรถ ร้องสื่อ หลังอดีตนายก อบต.ตกเป็นเหยื่อ
นายสมนึก หวันสมัน อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคชาติพัฒนา เขต 3 จ.ยะลา เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีได้รับหนังสือจากสำนักอัยการศาลแขวงนครศรีธรรมราช เรื่องขอให้ไปรายงานตัวกรณีตกเป็นผู้ต้องหาในคดียักยอกทรัพย์ ตามรายงานการสอบสวนคดีอาญาเลขที่ 106/2560 ซึ่งทางสำนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ส่งหนังสือถึงนายสมนึก หวันสมัน ให้ไปรายงานตัวครั้งแรกในวันที่ 16 ธ.ค. 2562 และครั้งที่ 2 ให้ไปรายงานตัวในวันที่ 6 ม.ค. 2563
นายสมนึก หวันสมัน กล่าวว่า เรื่องนี้ตนได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งศูนย์ดำรงธรรมและล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 ได้เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมและช่วยเหลือจากสำนักงานคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจังหวัดยะลา เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการในกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนจนถึงอัยการไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมกับตน และก่อนหน้านี้ตนได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สภ.เบตง จ.ยะลา เพื่อให้ดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวน รวมทั้งผู้ที่แจ้งความกล่าวหาตนและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ตนพร้อมนางสาวไอรินย์ คงจันทร์ พร้อมพร้อมบุคคลที่อ้างว่าเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งหนึ่ง ได้เดินทางไปทำธุระเรื่องที่ดิน จ.เพรรณ์ ระหว่างทางนางสาวไอรินย์ ได้ขอไห้ตนช่วยซื้อซื้อรถยนต์โตโยต้า เฟอร์จูนเนอร์ ทะเบียน 5 กร 50จ2 กรุงเทพมหานดร เนื่องจากไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดได้ทัน และให้ตนไปรับรถคันดังกล่าวจากนายบอส ซึ่งเป็นน้องชายของ น.ส. ไอริณย์ หลังจากเสร็จธุระเรื่องที่ดินที่ จ.เพชรบูรณ์ ตนจึงแวะรับรถที่นาบอส ที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2560 ซึ่งตนได้ไผ่อนชำระค่ารถให้ไป 47,500 บาท และนางสาวไอรินย์ บอกว่าจะส่งสัญญาซื้อขายมาให้และจะเปลี่ยนป้ายให้ด้วย แต่หลังจากนั้น นางสาวไอรินย์ ก็ไม่ยอมส่งเอกสารรถและสัญญาซื้อขายมาให้ และยังให้คนโทรมาข่มขู่ขอรถคันดังกลาวคืน ซึ่งตนพร้อมจะคืนรถให้แต่ขอเงินที่ตนจ่ายค่าผ่อนชำระงวดรถจำนวน 47,500 บาทคืน น.ส. ไอริณย์ ก็ไม่ยอมคืนเงินให้ และการส่งข้อความเท็จทางกลุ่มไลน์ทำให้ตนได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียเกียรติยศและชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในที่สุดเพื่อตัดความรำคาญตนได้ตัดสินใจส่งรถคืนให้นางสาวไอรินย์ คงจันทร์แล้ว โดยนัดส่งมอบรถกันที่ จ.สุราษฏร์ธานี ซึ่งตนได้ว่าจ้าง นายฮีลีมิ กามาจิ จำนวน 10,000 บาท ในวันที่ 30 ต.ค. 2560 ซึ่งตนได้ติดต่อสอบถามนางสาวไอรินย์และนายฮีลีมิ กามาจิ ก็ได้รับการยืนยันว่าได้มีการส่งมอบรถให้กันเรียบร้อยแล้ว
นายสมนึก กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นกวา 1 ปี ตนได้รับหมายเรียกให้มาพบพนักงานสอบสวน สภ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อนำตัวส่งอัยการในวันที่ 5 ก.พ. 2561 เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2560 นางสาวไอรินย์ คงจันทร์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับตนในข้อหายักยอกทรัพย์รถยนต์ โดยอ้างว่ายังไม่ได้รับรถคันดังกล่าว ตนจึงรีบเดินทางมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช และเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาแต่ปรากฏว่าไม่สามารถติดต่อพนักงานสอบสวนได้ ตนจึงเข้าพบกับนายตำรวจระดับ รอง ผกก.แจ้งเรื่องให้ทราบ รอง ผกก.และเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามช่วยประสานงานติดต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีแต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงฝากเรื่องพร้อมเบอร์โทรศัพท์และสถานที่ติดต่อตนกับ รอง ผกก.ก่อนเดินทางกลับไปและเรื่องก็เงียบหายไม่ได้รับการประสานงานติดต่อกับพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีอีกเลย
จนต่อมาเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2562 เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก จ.นครศรีธรรมราช ร่วมกับตำรวจสภ.เบตง จ.ยะลา นำหมายจับเข้าจับกุมตนที่ อ.เบตง จ.ยะลา โดยที่ตนไม่ทรามาก่อนว่าถูกออกหมายจับมานานนับปีแล้ว ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2561 ซึ่งตนได้ลงสมัคร ส.ส.พรรคชาติพัฒนา เขต 3 จ.ยะลา และเดินทางขึ้นลงระหว่าง จ.ยะลากับกรุงเทพมหานคร 4-5 ครั้ง และผ่านด่านตรวจตำรวจในจังหวัดชายแดนภาคนับครั้งไม่ถ้วนก็ไม่ได้ถูกจับกุมทั้ง ๆ ที่มีหมายจับกุมตนอยู่แล้ว ตนไม่เข้าใจและสงสัยว่าทำไม่พนักงานสอบสวนจึงไม่ออกหมายเรียกมาที่บ้านซึ่งตนอาศัยอยู่ไม่ได้หลบหนีไปไหน จู่ ๆ ก็มีการนำหมายจับมาจับกุมตน อย่างไรก็ตามเมื่อชุดจับกุมควบคุมตนส่งทางพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี โดยตนรับทราบข้อกล่าวหาและให้การปฏิเสธพร้อมยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เข้าข่ายคดียักยอกทรัพย์ แต่อาจจะเข้าข่ายเรื่องผิดสัญญาซื้อขายเท่านั้น ซึ่งในความจริงตนก็ไม่ได้ผิดสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด เพราะตนน่าจะเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ ตนถูกควบคุมตัวเข้าห้องขัง 1 คืนจนรุ่งเช้าจึงมีพรรคพวกมายื่นประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์ 500,000 บาท และเรื่องก็เงียบหายไป จนตนคิดว่างอัยการคงสั่งไม่ฟ้องและเรื่องคงยุติไปแล้ว แต่อยู่ ๆ ทางสำนักงานอัยการศาลแขวงกลับส่งหนังสือให้ตนไปพบเพื่อฟังคำสั่งของพนักงานอัยการครั้งแรกในวันที่ 16 ธ.ค. 2562 แต่ตนไม่ได้ไปตามหมายเรียกทางสำนักงานอัยการศาลแขวงจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงมีหนังสือเรียกตัวครั้งที่ 2 ให้ไปพบเพื่อฟังคำสั่งอัยการในวันที่ 6 ม.ค. 2563
“ตนพยายามสืบสวนเก็บข้อมูลด้วยตนเองมาตลอด พบว่าเรื่องนี้ทางกลุ่มของ น.ส. ไอริณย์ เป็นแก๊งมิจฉาชีพมีผู้ร่วมขบวนการกว่า 20 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย โดยหากินและทำกันเป็นขบวนการตนจึงแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวนและผู้ที่ร่วมขบวนการทั้งหมด โดยเฉพาะพนักงานสอบสวนที่รับแจ้งความและทำสำนวนพร้อมเสนอศาลออกหมายจับโดยมิชอบ เพราะไม่ได้สอบสวนตนและพยานฝ่ายตนใด ๆ ไม่มีตรวจสอบพยานและหลักฐานให้แน่ชัดก่อนเสนอขอหมายจับทำ และก่อนหน้านี้มีคนอ้างพนักงานอัยการท่านหนึ่งส่งข้อความไลน์มาถึงตนขอเงิน 100,000 บาทเพื่อสั่งไม่ฟ้องยุติคดี แต่ตนไม่ยอมจ่ายให้และเรื่องก็เงียบหายไปโดยตนคิดว่าทางอัยการคงมีคำสั่งไม่ฟ้องและยุติคดีไปแล้ว เพราะคดีนี้พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา หากผู้ต้องหารับสารภาพจะต้องส่งสำนวนและผู้ถูกกล่าวหาให้อัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 48 ชม. แต่ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธจะผลัดฟ้องได้ 5 ครั้ง ๆ ละ 6 วัน รวมไม่เกิน 30 วัน คดีนี้ตนในฐานะผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธอัยการจึงต้องส่งฟ้องไม่เกิน 30 วัน หากส่งฟ้องไม่ทันตามกำหนดถือว่าคดีขาดอายุความและต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่”
อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา กล่าวอีกว่า หากพิจารณาตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นจะเห็นว่าตนน่าจะอยู่ในฐานะผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวง ต้มตุ๋น แต่เนื่องจากตนต้องการตัดความรำคาญและยากให้เรื่องมันจบ ๆ แม้จะต้องเสียเงินฟรี ๆ ทั้งค่าผ่อนชำระค่างวดรถและค่าจ้างให้คนนำรถไปคืนรวม 57,000 บาท แต่หลังรับรถคืนในวันที่ 30 ต.ค. 2560 น.ส.ไอรินย์ กลับเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับตนในข้อหาฉ้อโกง ซึ่งตนมาทราบภายหลังว่าหลังจากรับรถคืนและแจ้งความดำเนินคดีกับตนแล้ว น.ส.ไอรินย์ ได้ขายรถคันดังกล่าว ส่วนรถคันดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นของ น.ส.ไอรินย์ โดยเจ้าของที่แท้จริงเป็นชาวนครศรีธรรมราชอีกคนหนึ่ง และเจ้าของรถได้มอบอำนาจให้ น.ส.ไอรินย์ เป็นผู้มาแจ้งความกับพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับตน
“อย่างไรก็ตามทางสำนักงานอัยการศาลแขวงนครศรีธรรมราช อาจจะบกพร่องหรือผิดพลาดในการตรวจสอบและออกเอกสารเรียกตัวตนไปรายงานตัวและฟังคำสั่งอัยการและยังระบุว่า “ก่อนหน้านี้ทางพนักงานสอบสวนได้นัดวันให้ตนไปฟังคำสั่งของพนักงานอัยการศาลแขวงนครศรีธรรมราช และปล่อยตัวไปโดยไม่มีการประกันตัว”นั้นท่านอัยการเข้าใจผิดหรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วตนใช้หลักทรัพย์ประกันตัว 5 แสนบาท จึงอยากจะกราบเรียนข้อเท็จจริงให้ท่านอัยการทราบด้วย”นายสมนึก กล่าวในที่สุด.
ภาพ/สมนึก หวันสมัน
ข่าว ยุทธนะ เตมะศิริ นครศรีธรรมราช