ข่าว

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

09 ม.ค. 2563

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

 

 

        วันที่ 9 มกราคม  2563 ที่ โรงเรียนศรีธรรมวิทยา อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร นายแพทย์ทวีศิลป์  วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10  เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “ค้นพบให้ไว ใส่ใจดูแล แก้ไขจุดพร่อง น้องไอคิวเกินร้อย” ตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลภาวะบกพร่องด้านสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียน

โดยมี นพ.วสันต์ กริ่มวิรัตน์กุล  รองประธาน คปสอ.เมืองยโสธร เป็นผู้กล่าวรายงาน

โดยกิจกรรมรณรงค์ “ค้นพบให้ไว ใส่ใจดูแล แก้ไขจุดพร่อง น้องไอคิวเกินร้อย”สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองยโสธร ได้ดำเนินการจัดขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเฝ้าระวังปัญหาสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กวัยเรียนให้มีความต่อเนื่องและเชื่อมต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างผู้ปกครอง ครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในพื้นที่จังหวัดยโสธร จำนวน 14,200 คน  กิจกรรมประกอบด้วยในห้วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2562 ดำเนินการ 1.การอบรมบุคลากรสาธารณสุขและครู ในการคัดกรองและตรวจวินิจฉัยจิตเวชเด็ก 4 กลุ่มโรค 2.ประเมินคัดกรองเด็ก 4 กลุ่ม โดยครู 3.ประเมินคัดกรองเด็ก 4 กลุ่มโรค โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เนื่องจากระบบบริการปกติขาดทีมสหวิชาชีพสนับสนุนการให้บริการ เด็กนักเรียนต้องเดินทางไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร ต้องรอคิวยาวต่อคน 4-5 เดือน ทำให้เด็กบางส่วนหายไปจากระบบ เพื่อให้เด็กนักเรียนเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วจึงได้จัดกิจกรรมณรงค์ ค้นพบให้ไว ใส่ใจดูแล แก้ไขจุดพร่อง น้องไอคิวเกินร้อย ขึ้น กิจกรรมประกอบด้วยให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้ปกครองในการร่วมกันดูแลรักษาเด็กใน 4 โรค ได้แก่ ปัญหาสติปัญญาบกพร่อง โรคออทิสติก โรคสมาธิสั้น และความบกพร่องในการเรียนรู้ กิจกรรมสันทนาการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการให้บริการตรวจวินิจฉัย 4 กลุ่มโรค โดยแพทย์ พยาบาลในนักเรียนจำนวน 136 คน

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

 

 

นายแพทย์ทวิศิลป์  วิษณุโยธิน กล่าวว่า จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญาพบว่าระดับสติปัญญาที่ดีเป็นปัจจัยส่งเสริมทางเศรษฐกิจทั้งในภาพรวมและระดับบุคคล ประเทศที่มีระดับสติปัญญาเฉลี่ยสูงจะมีคุณภาพชีวิตของประชากรที่ดีกว่า การสำรวจระดับสติปัญญาหรือไอคิวเด็กนักเรียนไทยของกรมสุขภาพจิตในปี 2559 พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับไอคิวเท่ากับ 98.6 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางต่ำและเขตสุขภาพที่ 10 มีระดับไอคิวเท่ากับ 90.88 ส่วนจังหวัดยโสธรมีระดับไอคิวเท่ากับ 91.93 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระดับประเทศ

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

รณรงค์แก้ไขจุดพร่องน้องไอคิวเกินร้อย

ภาพ/ข่าว  สมัย  คำแก้ว ผู้สื่อข่าวยโสธรรายงาน