ส.ส. เมืองคอน ยื่นญัตติด่วน พิจารณาศึกษาสร้างสะพานเกาะสมุย
ส.ส. เมืองคอน ยื่นญัตติด่วนให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาสร้างสะพานเกาะสมุย
จากกรณีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563ในการ มี เป็นประธานประชุม เปิดให้สมาชิกหารือปัญหาความเดือดร้อน โดยนายสายัณห์ ยุติธรรม ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้เสนอนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 เพื่อหารือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่าได้รับการร้องเรียนเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนที่จะไปท่องเที่ยวเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานีไม่สามารถเดินทางไปเกาะสมุยได้ เพราะมีรถจำนวนมาก มีท่าเรือเพียง 2 แห่ง ทำให้รถติดจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถไปท่องเที่ยวได้ตามที่ต้องการ จึงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องสร้าง สะพานจากอ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ไปอ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เพราะในอดีต มีอดีตนายกฯอย่างน้อย 2ท่าน คือ นายพจน์ สารสิน เป็นนายกฯไม่กี่วันก็สร้างสะพาน “สารสิน” จากพังงาไปภูกเก็ต และอดีตนายกฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็สร้างสะพาน “ติณสูลานนท์” และวันนี้ตนมีกราฟฟิกที่จะสร้างสะพานอย่างสวยงามไปเกาะสมุย โดยสะพานที่จะสร้างใหม่นี้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม โดยใช้ชื่อสะพาน “จันทร์โอชา” ตามที่เป็นข่าวครึกโครม กว้างขวางไปแล้วนั้น
(26 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ารัฐบาล โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะไม่เห็นด้วยและออกมาเบรกการเสนอโครงการการสร้างสะพานข้ามระหว่าง อ.ขนอม จ.นครศรีธรมราช ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี ดังกล่าว แต่ในส่วน ของผู้ประกอบการและนักธุรกิจทุกแขนงอย่างต่างให้คามสนใจกว้างขวาง โดยมองว่าการไม่เห็นด้วยก็คงเป็นเฉพาะชื่อสะพานที่นายสายัณห์ ยุติธรรม เสนอให้ใช้ชื่อ “สะพานจันทร์โอชา”เท่านั้น แต่ในส่วนโครงการสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี กับ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ทุกคนทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยจนแทบไม่มีผู้ใดคัดค้าน ในขณะที่กลุ่มนักการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ จ.สุราษฏร์ธานี ก็มีการรวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องการก่อสร้างสะพานดังกล่าว อย่างไรก็ตามมีบางกลุ่มเสนอโครงการสร้างสะพานเปลี่ยนจากเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี-ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เป็นเกาะสมุย-ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี แทน โดยมีการแคมเปญรณรงค์ ร่วมลงชื่อ ต้องการสะพานข้ามเกาะสมุย-ดอนสัก ทางโลกออนไลน์เว็ปไชด์ https://www.change.org ล่าสุดมีผู้เข้าไปร่วมลงชื่อแล้ว 541 คน ในขณะที่นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2563 นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักการเมือง และ ส.ส.จากพรรค พปชร. และ ปชป.ในภาคใต้เตรียมเคลื่อนไหวรณรงค์ก่อสร้างสะพานข้ามไปยังเกาะสมุยเช่นกัน
โดยเมื่อเวลา 11.00 น.วันเดียวกันนี้หลังจาก รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่สำรวจการขุดลอกคลองป่ามะพร้าว หมู่ 8 ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เปิดเผยในเรื่องโครงการสรางสะพานเกาะสมุย-ขนอมว่าเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 ตนและนายสายัณห์ ยุติธรรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ ได้ทำหนังสือเสนอเสนอญัตติด่วนถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการสร้างสะพาน เกาะสมุยถึงอำเภอขนอมในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ (The new Thailand Southern Economic) โดยมีเหตุผลและข้อมูลสนับสุนจากข้อมูลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุราษฎร์ธานี พบว่าในปี 2560 ระบุว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 6 ของประเทศ และเป็นอันดับ 3 ของภาคใต้รองจากจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ โดยฉพาะในปี 2561 เกาะสมุยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา จำนวน 2,651500 คน คิดเป็นร้อยละ 43 ของจำนวนนักองเที่ยวในจังหวัดทำรายได้ จำนวน 64,726 .88 ล้านบาท คิดเป็นรายได้ร้อยละ 63 ของรายได้การท่องเที่ยวรวมของจังหวัด เป็นชาวต่างประเทศร้อยละ 60 ชาวไทยร้อยละ 40 โดยปัจจุบันเส้นทางการเดินทางมายังกาะสมุย สามารถเดินทางได้ ๒ เส้นทางคือ ทางสายการบิน และทางเรือ โดยสารเรือเฟอรี่ ซึ่งเป็นปัญหาหลักอยู่ในขณะนี้ทีมจากปัญหาความยุ่งยากในการจองคิวโดยสาร การใช้เวลา ในการเดินทางที่นาน ค่าโดยสารราคาแพง อีกทั้งข้อจำกัดในปริมาณจำนวนการโดยสารของแต่ละเที่ยว ซึ่งถ้ามีกรณีฉุกเฉินจะไม่สามารถเดินทางไต้ในทันทีดังนั้น หากมีกาสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุยถึงอำเภอขนอมจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
“ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจภาคไต้ อีกทั้งสามารถปัญหาข้อจำกัดในการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติที่จะมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ในทางด้นการแพทย์การมีสะพานจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน กรณีมีผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถส่งไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีหรือโรงพยาบาลอื่น ๆได้อย่างวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันการส่งต่อผู้ป่วยจะส่งผ่านเรือเฟอร์รี่เป็นหลัก ในเวลากลางวัน แต่หากมีผู้ป่วยฉุกเฉินฉุนที่ต้องส่งต่อในเวลากลางคืนหรือไนช่วงมรสุมคลื่นลมทะเลมีกำลังแรงจะมีความยากลำบากมาทำให้เกิดวามลำชำและเสียงต่อความพิการและเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชน”
ดังนั้น จึงขอเสนอญัตติด่วนตังกล่าวมาเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่อง การสร้างสะพานเกาะสมุยถึงอำเกอขนอมในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้(The new Thailand Southe Economic) ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 49 และข้อ 50 ส่วนเหตุผลและรายละเอียดจะได้ชี้แจงในที่ประชุมสภาฯต่อไป หากโครงการก่อสร้างสะพานเกาะสมุย-ขนอม เกิดขึ้นจริงไม่เฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น แต่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงจะได้รับผลดีไปด้วย และจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในภาพรวมของภาคใต้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละนับแสนล้านบาทอย่างแน่นอน
รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ กล่าอีกว่า ส่วนที่มีนักการเมืองพรรคไหน นักธุรกิจพื้นที่ไหนกลุ่มไหนที่ออกมารณรงค์ในเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีเพราะมีเป้าหมายเดียวกัน และหลังจากการได้ก่อสร้างสะพานแล้วจะได้ประโยชน์กับนักการเมืองพรรคไหน นักธุรกิจกลุ่มไหนไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เพราะประโยชนหลักคือเกิดประโยชน์กับประชาชนทั้งหมด รวมทั้งชื่อสะพานที่ ส.ส.สายัณห์ ยุติธรรม เสนอชื่อ “จันทร์โอชา”จนมีผู้หลักผู้ใหญ่และคนทั่วไปบางส่วนไม่เห็นด้วยนั้นก็ไม่ใช่เนื้อหาสาระที่สำคัญเพราะหลังสร้างเสร็จจะใช้ชื่ออะไรนั้นมันเป็นระเบียบทางราชการที่กำหนดเอาไว้แล้วก็คงเป็นไปตามนั้น
“โดยในวันพรุ่งนี้ ( 27 ม.ค. ) เวลา 10.00 น. รศ.ดร.รงค์. บุญสวยขวัญ และนายสายัณห์ ยุติธรรม. สอง ส.ส.พรรคพลังประชารัฐจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมคณะจะร่วมกับนายอำเภอขนอมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจเบื้องต้นในโครงการสะพานขนอม- เกาะสมุย เพื่อนำข้อมูลไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฏรต่อไป
ในขณะที่ นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความได้ใช้เวทีวุฒิสภาปรึกษาหารือก่อนวาระการประชุมวุฒิสภา ในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2563 เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในประเด็นการสร้างสะพานข้ามไปเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยได้กล่าวถึงปัจจัยเอื้อที่สนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้และจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า ประเด็นที่เอื้ออำนวยการก่อสร้างดังนี้
1)ระยะทางสั้นที่สุด 16-18 กิโลเมตร เส้นสะพานอำเภอขนอมสู่เกาะสมุยถึงเกาะพงัน 2)ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอ่าวไทยเกาะสมุยกับเกาะพงันเชื่อมโยงการท่องเที่ยวแผ่นดินใหญ่ ช่วงเดือน เมษายน-กันยายน ของทุก ๆปี การท่องเที่ยวชุมชน ความเชื่อ ศาสนาวัฒนธรรม คือ การท่องเที่ยวทางด้านนิเวศน์ เกษตรวัฒนธรรมนครศรีธรรมราช 3) สนับสนุนให้ต้นทุนการท่องเที่ยวค่าใช้จ่ายลดลง การขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคจากแผ่นดินใหญ่จากตลาดหัวอิฐนครศรีธรรมราช ขึ้นสะพานขนอม สู่เกาะสมุยถึงเกาะพะงัน ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 4)การเข้าออก ขึ้นลงเกาะของนักท่องเที่ยวและผู้อยู่อาศัยบนเกาะได้เชื่อมโยงแผ่นดินใหญ่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 5) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยและเกาะพงัน ฝั่งอ่าวไทยเป็นการท่องเที่ยวรองรับหลังสิ้นฤดูกาลการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน ภาคใต้เที่ยวได้ตลอดทั้งปี เกาะสมุยและพะงันส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
นายสวัสดิ์ ได้ระบุอีกว่า การลงทุนศึกษาและออกแบบก่อสร้างสะพาน 1.รัฐบาลต้องลงทุนศึกษาและออกแบบ เข้ากระบวนการมีส่วนร่วมความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและสอบถามความคิดเห็นของชุมชนเกาะสมุยและเกาะพะงันให้เกิดความเห็นร่วมกัน 2.เชิญชวนนักลงทุนภาคเอกชนร่วมหรือสัมปทานการออกแบบและก่อสร้างโดยเงินทุนเอกชน (ออกแบบและการก่อสร้างทางด่วน) โดยรัฐไม่ต้องออกเงินสักบาทเดียว ทั้งนี้ ขอเสนอต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา สั่งให้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงคมนาคม ทั้ง 2 กระทรวง ลงตรวจพื้นที่ตั้งงบประมาณศึกษาต่อไป.
ขอบคุณภาพ/คลิป ส.ส.สายัณห์ ยุติธรรม/ศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช
ยุทธนะ เตมะศิริ /นครศรีธรรมราช/รายงาน