ข่าว

ทางรอด"ภัยแล้ง"กับพืชน้ำน้อย

ทางรอด"ภัยแล้ง"กับพืชน้ำน้อย

22 ก.พ. 2563

ทางรอด"ภัยแล้ง"กับศรแดงพืชน้ำน้อย เก็บเกี่ยวไว สร้างรายได้เร็ว เฟ้นหาสุดยอดเกษตรกรพืชน้ำน้อย

 

22 กุมภาพันธ์ 2563 นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไปบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง กล่าวว่า วิกฤตภัยแล้ง หรือที่เราเรียกว่า เอลณีโญ โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นทุก ๆ 5 ปี ถ้าพวกเราจำกันได้ปี 2559 จะเป็นปีที่แล้งหนักมาก และในปี 2563 นี้วิกฤตภัยแล้งก็จะเวียนมาครบอีกรอบ

 

 

โดยในปีนี้ค่อนข้างที่จะรุนแรงมากสาเหตุเพราะปริมาณฝนที่ตกปี 2562 น้อยกว่าปกติ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมน้อย
ปี 2563 ฝนตกล่าช้ากว่าปกติ 1 - 2 เดือน คือ จะเริ่มช่วง มิ.ย. - ก.ค. 2563 (ปกติแต่ละปีฝนจะเริ่มตก กลาง พ.ค.- ต.ค.) ปี 2563 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศา ฯ หรือราว 40 กว่าองศา ฯ ทำให้แหล่งน้ำต่าง ๆ เหือดแห้ง

 

บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ตระหนักเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งนี้ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวนา รองลงมาคือปลูกพืชไร่ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะว่าเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก ปริมาณ 1,100 ลบ.ม.ต่อไร่ต่อรอบการปลูก ใช้ระยะเวลาการปลูก 100-120 วัน  จึงเป็นที่มาโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้ง”

 

 

ทางรอด\"ภัยแล้ง\"กับพืชน้ำน้อย

 

 

รวมทั้งริเริ่มทำโครงการ“ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้ง” ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรที่ไม่สามารถปลูกข้าวหรือพืชไร่ได้ ให้หันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น โดยเรามีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างข้าวกับพืชน้ำน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณน้ำที่ใช้ อายุเก็บเกี่ยวที่สั้นกว่า ยกตัวอย่างเช่น 
    

ปลูกข้าว 1 ไร่ใช้ปริมาณน้ำถึง 1,100 ลบ.ม. แต่ถ้าปลูกพืชน้ำน้อย เช่น แตงกวา ข้าวโพด จะใช้ปริมาณน้ำแค่ 300 - 600 ลบ.ม. และข้าวต้องใช้เวลาถึง 3-4 เดือนถึงเก็บเกี่ยวได้ แต่พืชน้ำน้อยใช้ระยะเวลา 1-2 เดือนเท่านั้น
ทั้งนี้ขอแนะ 7 พืชใช้น้ำน้อยดังนี้

 

 

ทางรอด\"ภัยแล้ง\"กับพืชน้ำน้อย

 

โชว์ 3 สายพันธุ์ทนแล้ง


มีการพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้งเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของเกษตรกรได้และปัญหาภัยแล้ง 3 สายพันธุ์ได้แก่ ข้าวโพดข้าวเหนียว พันธุ์สวีทไวโอเล็ท และ ข้าวโพดหวาน พันธุ์จัมโบ้สวีท เคลือบเมล็ดด้วยสารเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้มีรากฝอยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นหาอาหาร หาน้ำได้ดีกว่าพันธุ์การค้าอื่น ๆ 

 

พริกขี้หนู พันธุ์เพชรมงกุฎ เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาให้มีความทนแล้งโดยเฉพาะ ผลผลิตได้คุณภาพดีแม้อยู่ในสภาพอากาศแล้งปลูกแล้วขายที่ไหน ศรแดงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา
 

 

ทางรอด\"ภัยแล้ง\"กับพืชน้ำน้อย

 

อย่างไรก็ตามสำหรับ“ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้ง” โครงการที่ 1 เมื่อปี 2559 ใช้ชื่อโครงการว่า “ ศรแดงพืชน้ำน้อย จากร้อยสู่ล้าน “ ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีมากจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง เดิมที่เกษตรกรไม่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี เราก็นำเสนอทางเลือกให้กับเกษตรกรโดยมอบองค์ความรู้การปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย ผ่านชุดกล่องเมล็ดพันธุ์ และมีเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ทั่วประเทศ

 

 

สำหรับปี 2563 เป็นโครงการที่ 2 และเห็นว่าให้คำแนะนำเรื่องเมล็ดพันธุ์และการปลูกพืชอย่างเดียวคงไม่พอ สิ่งที่สำคัญสำหรับพืชน้ำน้อยคือเรื่องการเทคโนโลยีการใช้น้ำ วิธีการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่ น ระบบน้ำหยด สปริงเกอร์ เราใส่องค์ความรู้นี้เพิ่มเติมเข้าไปให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยให้ผลผลิตมีคุณภาพมากที่สุด

 

 

ทางรอด\"ภัยแล้ง\"กับพืชน้ำน้อย

 

เฟ้นหาสุดยอดเกษตรกรพืชน้ำน้อย

 

นอกจากนี้ศรแดงยังมีโครงการเฟ้นหาสุดยอดเกษตรกรพืชน้ำน้อย เพื่อให้เกษตรกรนำองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับพืชน้ำน้อยที่เรามอบให้ไปใช้จริง ๆ โดยจัดประกวดภาคละ 1 จุด ภาคเหนือ : ที่จังหวัดเชียงราย อำเภอพญาเม็งราย
ภาคอีสาน : ที่จังหวัดนครราชสีมา ภาคใต้ตอนบน : ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และภาคกลาง ที่จังหวัดนครสวรรค์ 


สำหรับหลักเกณฑ์การประกวด ต้องเป็นเกษตรกรที่ทำนา หรือปลูกพืชไร่อยู่ เจ้าหน้าที่ภาคสนามจะทำการคัดเลือกเกษตรกรขึ้นมาจำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่ภาคสนามให้ความรู้การปลูกพืชน้ำน้อยคือ ระบบน้ำหยด การคลุมแปลง การปลูกพืชน้ำน้อย ผ่านแปลงตัวอย่าง

 

 

ทางรอด\"ภัยแล้ง\"กับพืชน้ำน้อย

 

 

เกษตรกรต้องนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับแปลงของตนเอง โดยต้องใช้ 1.ระบบน้ำหยด 2.การคลุมแปลง 3.การปลูกพืชน้ำน้อยไปใช้ โดยมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามเป็นพี่เลี้ยง โดยค่าใช้จ่ายด้านระบบน้ำหยด การคลุมแปลง เมล็ดพันธุ์ บริษัทฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้เกณฑ์การพิจารณาจะดูว่าเกษตรกร พิจารณาดูว่าเกษตรกรได้นำสิ่งที่ให้ไป ไปใช้ประโยชน์เต็มที่หรือไม่ ปริมาณผลผลิตที่ได้ ความสวยงามตรงความต้องการของตลาดหรือไม่