ข่าว

ไบโอไทย ซัด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตัดต่อทำลายความน่าเชื่อถือ

ไบโอไทย ซัด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตัดต่อทำลายความน่าเชื่อถือ

28 ก.พ. 2563

ไบโอไทยแนะนำประชาชนอย่าแชร์โพสต์ของศูนย์ข่าวเฟกนิวส์ กระทรวงดิจิทัล เรื่อง "ข่าวปลอม อย่าแชร์ : บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง" เนื่องจากปิดบังข้อมูลและตัดต่อภาพต้นทางไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

 

              28 กุมภาพันธ์ 2563  BIOTHAI โพสต์ภาพข้อความ ศูนย์ข่าวเฟกนิวส์ กระทรวงดิจิทัล นำภาพและข้อมูลไบโอไทยไปใช้ "อย่างไม่เหมาะสม" ชี้ ตัดต่อข่าวปลอมรวมอินโฟกราฟิกของไบโอไทย ทำลายความน่าเชื่อถืออินโฟกราฟิกต้นทาง เจตนาปิดบังข้อมูลอ้างอิง แนะนำประชาชนอย่าแชร์

อ่านข่าว - เฟซบุ๊กพร้อมจำกัดมองเห็นลบข่าวปลอมไวรัสโคโรน่า

 

 

 

              ไบโอไทยแนะนำประชาชนอย่าแชร์โพสต์ของศูนย์ข่าวเฟกนิวส์ กระทรวงดิจิทัลเรื่อง "ข่าวปลอม อย่าแชร์ : บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์เสี่ยงเป็นมะเร็ง" เนื่องจากโพสต์และอินโฟกราฟิกดังกล่าว ปิดบังข้อมูลและตัดต่อภาพประกอบอินโฟกราฟิกต้นทางของไบโอไทยไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

              โพสต์ของศูนย์ข่าวเฟกนิวส์ นำภาพประกอบซึ่งดัดแปลงอินโฟกราฟิกของไบโอไทยไปวางคู่กับเนื้อหาข้อความซึ่งระบุว่าเป็น "ข่าวปลอม" ซึ่งไม่ได้เขียนขึ้นโดยโบโอไทยแต่อย่างใด ทั้งนี้ โดยเบลอโลโก้และเบลอเอกสารอ้างอิงในอินโฟกราฟิกไบโอไทย ซึ่งเราเห็นว่า

              1. การนำอินโฟกราฟิกของไบโอไทยไปใช้ประกอบ "ข่าวปลอม" ตามการวินิจฉัยของศูนย์เฟกนิวส์ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของอินโฟกราฟิกต้นฉบับ และส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่ออินโฟกราฟิกอื่นๆ ของไบโอไทย

 

 

 

ไบโอไทย ซัด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตัดต่อทำลายความน่าเชื่อถือ

 

 

 

ไบโอไทย ซัด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตัดต่อทำลายความน่าเชื่อถือ

 

 

 

              ในโพสต์ต้นทางของไบโอไทยกล่าวถึง "ปัญหาสารพิษกำจัดศัตรูพืช" ตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์ แต่ในโพสต์ของศูนย์เฟกนิวส์กลับกล่าวถึง "ปัญหาปุ๋ยเคมี" ตกค้าง และบอกว่าไม่ได้ทำให้ก่อมะเร็ง

              หากศูนย์เฟกนิวส์จะตอบโต้ "ข่าวปลอม" ในประเด็นดังกล่าว ก็ไม่สมควรนำเอาอินโฟกราฟิกของไบโอไทยไปประกอบ เพราะเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน

 

 

 

              2. โพสต์ของศูนย์เฟกนิวส์นอกเหนือจากเบลอโลโก้ของไบโอไทย (ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าทำไมถึงทำ) แต่กลับไปเบลอเอกสารอ้างอิงงานศึกษาวิจัยในต่างประเทศ 2 รายงาน ซึ่งใช้ประกอบการจัดทำอินโฟกราฟิกดังกล่าว (อันนี้ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าทำไปทำไม?) หรือการกระทำดังกล่าว ส่อเจตนาว่าการกระทำของศูนย์เฟกนิวส์ ต้องการปิดบังข้อมูลของประชาชนเพื่อศึกษาข้อมูลเพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับประเด็นสารพิษกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์หรือไม่อย่างไร ?

              3. หากเจตนาของศูนย์เฟกนิวส์มีเจตนาต้องการให้ข้อมูลความรู้และข้อมูลที่ครบถ้วนต่อประชาชน นอกเหนือจากการไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปุ๋ยเคมีตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์แล้ว ศูนย์ฯ นี้ ควรให้ข้อมูลแก่ประชาชนว่าปัญหาใหญ่ของผักไฮโดรโปนิกส์คือการพบว่าพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐานจริง และยังไม่เห็นหน่วยงานใดของรัฐออกมาแสดงความรับผิดชอบว่าจะแก้ปัญหานี้ และปัจจุบันระดับการตกค้างที่ไทยแพนพบว่าสูงกว่าการตกค้างกว่าผักทั่วไปนั้นได้ลดลงมากน้อยหรือไม่อย่างไร ? เป็นต้น

 

 

 

ไบโอไทย ซัด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตัดต่อทำลายความน่าเชื่อถือ

 

 

 

              เราขอเรียกร้องให้ศูนย์เฟกนิวส์ กระทรวงดิจิทัล ลบโพสต์หรือแก้ไขภาพประกอบโพสต์ซึ่งนำอินโฟกราฟิกของไบโอไทยไปใช้อย่างไม่เหมาะสมโดยด่วน โดยระหว่างนี้ประชาชนไม่ควรแชร์โพสต์ดังกล่าว

              หากต้องการทราบข้อมูลและรายละเอียดของโพสต์และอินโฟกราฟิกต้นทางของไบโอไทยโปรดดูได้ที่ลิงก์ https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873/1856723124366200/

              หากต้องการทราบปัญหาสารพิษกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์ของไทยแพน โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Thai-PAN ได้ที่ https://www.facebook.com/ThaiPesticideAlertNetwork/photos/a.275024029266462.47360.260995884002610/1385713131530874/

              โพสต์ต้นทางของศูนย์เฟกนิวส์ กระทรวงดิจิทัล https://www.facebook.com/AntiFakeNewsCenter/photos/a.113638500070332/185899439510904/