นายกฯ แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบสถานการณ์ฉุกเฉิน
ประกาศสำนักนายกฯ แต่งตั้ง นายกฯ ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้า ผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน มอบ รองนายกฯ ช่วยปฏิบัติงานของนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง
จ่อออกข้อกำหนด 3 พฤติกรรม ห้ามเข้าไทยทุกเส้นทาง
แนะ "นายกฯ" สู้ โควิด-19 ถอดบทเรียน "ถ้ำหลวง"
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคุม ผศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคหก และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พนักงานเจ้าหน้าที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ ๒ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยผู้กำกับการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีเรียง ตามลำดับการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีไว้แล้ว และให้ปฏิบัติภารกิจตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๓ (๑)ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(๒)ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมสินค้า
(๔) ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศ
๕) ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารโทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์
(๖) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง
(๗) ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกฐมนตรีเป็นผู้ประสานงานทั่วไป
ข้อ ๔ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามข้อ ๓ มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนตการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในส่วนที่รับผิดขอบ และให้มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 ในส่วนที่รับผิดชอบ
(๒) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายในกรณีมีปัญหาคาบเกี่ยวกับความรับผิดชอบของแต่ละส่วนหรือปัญหาในการปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ประสานงานทั่วไปหารือกันเองหรือ
รายงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
ข้อ ๕ ให้ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตลอดจนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดดังกล่าว และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายที่โอนมาเป็นหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะสั่งเป็นอย่างอื่น
การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนด
ข้อ ๖ ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรีขึ้นไป หรือข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พศ.๒๕๖๓
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี