"วิษณุ"กั๊กประกาศเคอร์ฟิวโควิด 24 ชั่วโมง
วิษณุ ไขข้อกำหนด หลังประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยัน ยังไม่ปิดประเทศ เนื่องจากยังให้คนไทยสามารถเดินทางกลับประเทศได้ รวมไปถึงไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามออกนอกเคหะสถาน ลั่นนายกรัฐมนตรี สั่งเจ้าหน้าที่ ห้ามหย่อนยาน บังคับใช้กฎหมายเฉียบขาด และประชาชน มีเสรีภาพ ติชม
25 มีนาคม 2563 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึง กรณีมีการเผยแพร่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร เพื่อจัดการกับปัญหาและสถานการณ์โรคโควิด-19 การประกาศครั้งนี้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ 2548 ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่และเรื่องแปลก
อ่านข่าว "แถลงการณ์นายกฯ"งัดพรก.ฉุกเฉิน สู้โควิด-19-อย่าเชื่อข่าวลือโควิด
แต่ที่ผ่านมาเป็นเหตุจากความไม่สงบแต่ครั้งนี้เป็นการต่อสู้กับโรคระบาดร้ายแรงเป็นครั้งแรก แต่สามารถทำได้เพราะนิยามของคำว่าสถานการณ์ฉุกเฉินในกฎหมายรวมไปถึงภัยสาธารณะ นั่นคือโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่เฉพาะเพียงการสู้รบเท่านั้น ตามกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะต้องกระทำผ่านมติคณะรัฐมนตรีซึ่ง คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวานที่ผ่านมา และให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในประกาศ และเผยแพร่ในวันนี้ แต่จะมีผลจริงในวันพรุ่งนี้ 26 มีนาคม 2563 หรือเที่ยงคืนวันนี้เป็นต้นไป ซึ่งการประกาศครั้งนี้คณะรัฐมนตรีกำหนดช่วงเวลา เดือนเศษ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 แล้วจึงประเมินสถานการณ์ประเมินต่ออายุเป็นคราวไปครั้งละไม่เกิน 3 เดือน
การประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักร เนื่องจากมีการแพร่ระบาดทุกพื้นที่ในประเทศ เนื่องจากมีสนามบินและจุดผ่อนปรนผ่านแดนเป็นจำนวนมากจึงจำเป็นต้องปิดล้อมสถานการณ์เอาไว้ด้วยการประกาศสถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วอยู่ การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่เหมือนสถานการณ์ปกติ
โดยเหตุที่เว้นระยะ 2 วันก่อนประกาศใช้จริง ไม่ใช่ว่าเหมือนไม่จริงจัง เป็นการเตรียมการหลังมีมติจะมีผลทันทีเลยไม่ได้จึงจะต้องมีการให้ประชาชนได้เข้าใจและเจ้าหน้าที่ต้องรับรู้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ เมื่อละเมิดหรือกระทำผิดจะมีผลกระทบจริง จึงถือเป็นการเตือนให้รู้ล่วงหน้า ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกฎหมายได้กำหนดเบื้องต้นไว้ว่าสามารถจะโอนอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายใดก็ได้มาเป็นของนายกรัฐมนตรีซึ่ง
ขณะนี้นายกได้รับข้อเสนอจากกระทรวงต่าง ๆ และจะมีการออกคำสั่งให้โอนอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามพระราชบัญญัติ 40 ฉบับในเบื้องต้นมาเป็นของนายกรัฐมนตรีซึ่งการโอนในที่นี้เป็นการโอนอำนาจการสั่งการเสมือนนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้ากระทรวง แต่รัฐมนตรียังคงเป็นเจ้ากระทรวงเหมือนเดิม ไม่ได้หมายความว่าเป็นการปลดรัฐมนตรี หรือให้พ้นจากตำแหน่ง หรือไม่ให้รับผิดชอบแต่ยังคงต้องรับผิดชอบเหมือนเดิม ซึ่งการโอนอำนาจมีการเขียนท้ายคำสั่งว่าในขณะที่นายกรัฐมนตรียังไม่เข้าสู่อำนาจและสั่งการเป็นอย่างอื่นรัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่อย่างเดิมก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งเจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งเดิมทุกประการเพียงแต่นายกรัฐมนตรีจะเข้าไปสู่อำนาจนี้เมื่อใดก็ได้
คำสั่งฉบับแรกจึงมีเนื้อหาการโอนถ่ายอำนาจ 40 ฉบับเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการส่วนคำศัพท์ฉบับที่ 2 ที่จะออกตามมาคือคำสั่งที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้รักษาสถานการณ์ โดยกฎหมายกำหนดว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้อำนวยการสถานการณ์ทั่วประเทศแต่ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีได้ตั้งให้รองนายกรัฐมนตรีทุกคนเป็นผู้ช่วยในการรักษาสถานะการเรียงลำดับในการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ทั่วประเทศ
แต่ความสำคัญจะอยู่ที่ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบด้านต่าง ๆ ในอดีตจะมีหัวหน้าผู้รับผิดชอบเพียงผู้เดียว เนื่องจากมีเพียงด้านเดียวและมีการจำกัดพื้นที่ แต่ครั้งนี้เป็นทั่วราชอาณาจักรจึงมีการแยกหัวหน้าผู้รับผิดชอบ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในด้านการปกครองเกี่ยวกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมสินค้ามีให้ขาดแคลน หรือขาดตลาด หรือขึ้นราคา หรือปลอมแปลง ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โซเชียลออนไลน์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รับผิดชอบในส่วนความมั่นคงดูแลทหารตำรวจเจ้าหน้าที่กอรมนนอกจากนั้นยังมีหัวหน้าผู้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับด้านการประสานงาน ประกอบด้วยเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสานงาน
ทั้งนี้ยังได้อธิบายอีกว่า การไม่ตั้งรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบนั้น ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กำหนดให้ต้องมีหัวหน้าผู้รับผิดชอบโดยแต่งตั้งจากข้าราชการประจำซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ส่วนรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงยังคงต้องรับผิดชอบดูแล ซึ่งเป็นในส่วนนโยบาย
ส่วนการตั้งศูนย์อำนวยการฉุกเฉิน โดยกระดับมาจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 และเขียนให้เกิดความคล่องตัว โดยหากมีสถานการณ์เร่งด่วนนายกรัฐมนตรีสามารถออกคำสั่งได้โดยไม่ต้องเรียกประชุม โดยให้ถือเป็นมติของที่ประชุม รวมไปถึงสามารถตั้งที่ปรึกษาได้ ซึ่งภายในศูนย์นี้จะมีการตั้งศูนย์ย่อยภายในอีก 6 ศูนย์ โดยมี สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการส่วนข้อกำหนดต่างๆ จะมีผลกระทบกับวิถีชีวิต มี 17 ข้อ ซึ่งต้องลงราชกิจจานุเบกษาและจะเผยแพร่ต่อไป โดยให้สื่อมวลชนไปสกัดมาให้สื่อมวลชนทราบ
โดยข้อกำหนด ดังกล่าวจะกำหนดพฤติกรรมไว้ 3 ประเภท คือ "ห้ามทำ" จะเป็นการห้ามประชาชนเช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา 35 เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวสาธารณะ หรือศาสนสถาน รวมไปถึงห้ามเดินทางเข้าในราชอาณาจักรโดยยานพาหนะใดทุกจุดทุกด่าน ยกเว้น ผู้มีสัญชาติไทย เพียงแต่ต้องมีเอกสารสำคัญใบรับรองทางการแพทย์ แต่หากจะหาใบแทนอื่น ให้ติดต่อสถานฑูต
นอกจากนั้นยังยกเว้นบุคคลในคณะฑูตโดยแจ้งกระทรวงการต่างประเทศของไทย และต้องมีใบรับรองแพทย์ และผู้ขนส่งสินค้า แต่เมื่อส่งสินเสร็จต้องออกไปโดยเร็ว และผู้ที่มากับยานพาหนะ อย่างนักบิน สจ๊วด แอร์ และบุคคลที่ได้การยกเวินจากนายกรัฐมนตรีตามเงื่อนไขระยะเวลา นอกจากนั้นยังมีการประกาศห้ามชุมนุม ต้องมีการเว้นระยะห่าง การชุมนุมจะเป็นสาเหตง่ายที่สุดในการแพร่ระบาดของโรค เว้นแต่ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันให้ถูกต้องตามหลักการแพทย์ ห้ามเผยแพร่ข่าวเท็จ ทำให้เกิดการตื่นตระหนก
"ให้ทำ" ไม่ใช่เป็นบังคับประชาชน แต่เป็นการบังคับส่วนราชการ เช่นให้หน่วยงานเตรียมบุคลากร เตรียมยา โรงพยาบาลสนาม สถานที่ หรือเช่าโรงแรม พักรักษาหรือกักกันผู้ป่วย รวมไปถึงการใช้อาคารเอกชนเป็นโรงพยาบาลสนาม ซึ่งปัจจุบันมีการเตรียมการไปแล้วบางส่วน
และ"ควรทำ" ซึ่งเป็นคำแนะนำ ไม่ได้ถึงขั้นบังคับประชาชน แต่ในคำสั่งฉ.1 เป็นคำว่า "ควร" แต่คำสั่งที่ 2 และ 3 จะเป็นการยกระดับเป็นคำสั่งทันที เช่น ประชาชนควรอยู่บ้าน ซึ่งยังมีการแนะนำ บุคคล 3 กลุ่มต่อไปนี้ที่มีความเสี่ยงสูงมากอยู่บ้านหรือเว้นแต่ทำธุรกรรมด้านนอกที่จำเป็น ประกอบด้วย บุคคลสูงอายุเกินกว่า 70 ปีขึ้นไป /2 บุคคลที่มีอายุใดก็ตามแต่เป็นโรคประจำตัวบางอย่างตามระบุ เช่น โรคเบาหวานความดัน ทางเดินหายใจ โรคปอด /และเด็กอายุตั้งแต่ 0 ถึง 5 ปี แต่ควรอีกชนิดคือการเดินทางไปต่างจังหวัด พบว่ามาตรการนี้มีการใช้ในหลายประเทศ แต่เรื่องการเดินทางข้ามจังหวัดอย่างเป็นมาตรการควรตามประกาศฉบับที่ 1 แม้จะสามารถเดินทางได้ แต่เป็นกรณีที่มีมาตรการเข้าไปเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความยากลำบากในการเดินทาง โดยฝ่ายความมั่นคงจะจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร หรือ กอ.รมน. อาสาสมัคร ตั้งจุดสกัด หรือ ด่าน โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัด โดยกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติหาทางติดแอพพลิเคชั่นติดตามตัวแต่ผู้โดยสารทั้งหมด
ทั้งนี้นายวิษณุ ยืนยัน ว่าคำสั่งที่ 2 และ 3 จะมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆตามสถานการณ์ พร้อมกับยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ปิดประเทศเนื่องจากเปิดให้คนไทยสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศได้ รวมไปถึงขณะนี้ยังไม่ปิดเมืองสามารถเดินข้ามเขตจังหวัดได้ แต่มีความยุ่งยากลำบากในการเดินทางเนื่องจากไม่สนับสนุนให้มีการเดินทางจึงใช้มาตรการที่ยุ่งยากลำบากในการเดินทางและเสียเวลา และยังไม่มีการประกาศปิดบ้านเป็นเพียงกึ่งเท่านั้น ข้าราชการ พนักงานสามารถทำงานได้ตามปกติ
ส่วนคำสั่งที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เปิด และอย่าปิด เช่น โรงงาน ธนาคาร ร้านอาหาร โดยเป็นการซื้อกลับ ห้างสรรพสินค้า เปิดเฉพาะอาหาร ยา สินค้าในชีวิตประจำวัน การขนส่งสินค้า ซื้อขายได้ตามปกติแต่ห้ามกักตุนสินค้า สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ร้านขายยา คลินิก สถาบันหลักทรัพย์
"โดยยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกนอกเคหสถาน ยังสามารถออกจากบ้านได้ตามปกติ เป็นเพียงคำเตือนในระดับที่ 1 แม้ประกาศเคอร์ฟิวจะไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากโรคโควิด -19 แพร่ระบาดตลอดเวลา หากประกาศจะต้องประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง แต่จะมีข้อยกเว้นระบุไว้ ส่วนจะประกาศหรือไม่จะมีการประเมินสถานการณ์รายวัน โดยใช้ข้อมูลทางการแพทย์"
ส่วนความกักวลเกี่ยวกับภาวะความมั่นคง ปล้น จี้ ชิงทรัพย์ นั้น ได้ตั้ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยโดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากอัดทำให้อาชญากรรมเพิ่มขึ้นต้องมีการเข้มข้นตรวจตาเพิ่มกว่าเดิม พร้อมขอให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายด้วยความมั่นใจ กฎหมายปกติต้องไม่หย่อนยาน ดำเนินคดีเฉียบขาดทุกประเภท
ทั้งนี้ พระราชกำหนดนี้ยังไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้านต่างๆรวมถึงการเมืองได้ตามปกติ สามารถติชมรัฐบาลได้ตามอย่างที่เคยทำ