ข่าว

เทียบมาตรการ 5 ประเทศเยียวยาคนขาดรายได้จาก โควิด-19

เทียบมาตรการ 5 ประเทศเยียวยาคนขาดรายได้จาก โควิด-19

26 มี.ค. 2563

เปิดมาตรการเยียวยาทั่วโลกกรณีขาดรายได้จากการระบาดของไวรัสโรคโควิด-19

 

              จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ที่เริ่มต้นจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนจนลุกลามไปในหลายประเทศทั่วโลกมียอดรวมผู้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 (ณ เวลา 09.00 น. วันที่ 26 มีนาคม 2563) แล้ว 468,523 ราย ผู้เสียชีวิตรวม 21,192 ราย

อ่านข่าว - หมอธีระวัฒน์ เผย โควิด-19 ระบาดรอบ 2 ที่จีน - คาดรุนแรงกว่าเดิม

 

 

 

              ขณะที่หลายประเทศได้ประกาศ “ล็อกดาวน์” หรือ “ปิดเมือง” ในฐานะมาตรการสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโรคโควิด-19 รวมถึงประเทศไทยที่ได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อสู้กับโรคติดต่ออันตรายนี้ รวมถึงได้ออกมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในประเทศกรณีขาดรายได้

              โดย ประเทศออสเตรเลีย มีมาตรการดังนี้

              1. แจกเงินผู้มีรายได้น้อย , ผู้ประกันตนผ่านประกันสังคม , คนเกษียณ ครั้งละ 750 ดอลลาร์ออสเตรเลีย 2 ครั้ง

              2. เพิ่มสวัสดิการให้คนตกงาน , คนมีลูก , เกษตรกร 550 ดอลลาร์ออสเตรเลีย / 15 วัน ตลอด 6 เดือน

              3. ถอนกองทุนเกษียณมาใช้ก่อนได้ไม่ต้องเสียภาษี 20,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

              4. อุดหนุนค่าแรงธุรกิจ - องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เท่าที่เคยหักภาษี ณ ที่จ่าย

              5. ค้ำประกันให้ธุรกิจขนาดเล็ก 50% กู้ยืมได้สูงสุด 250,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

              (อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 26 มีนาคม 2563 : 1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย = 20.0 บาท)

 

 

 

              ด้าน ประเทศอังกฤษ ออกมาตรการ ดังนี้

              1. กรณีพักงาน - โดนปิดจาก COVID-19 รัฐจ่ายเงินเดือนแทนนายจ้าง 80%

              2. ชดเชยรายได้ให้คนที่ชั่วโมงทํางานน้อยลง สูงสุด145 ปอนด์/เดือน

              3. ให้รายได้คนที่ต้องกักตัว 14 วัน หรือป่วยเป็น COVID-19 ลูกจ้างได้ สัปดาห์ละ 94.25 ปอนด์ ตลอด 28 สัปดาห์ ผู้ประกอบอาชีพอิสระได้ 1,000 ปอนด์/ปี

              4. ช่วยค่าที่อยู่อาศัย 30% ของค่าเช่า

              5. พักการจ่ายหนี้จํานอง โดยต้องเสียค่าเสียประโยชน์ให้ผู้รับจํานอง

              6. ปล่อยเงินกู้ให้ภาคธุรกิจดอกเบี้ย 0% วงเงินสูงสุด 5 ล้านปอนด์ กําหนดชําระ 12 เดือน

              (อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 26 มีนาคม 2563 : 1 ปอนด์ = 39.1 บาท)

              ประเทศนิวซีแลนด์ ออกมาตรการ ดังนี้

              1. ชดเชยค่าแรงงานให้ลูกจ้างผู้ขาดรายได้จากการกักตัว 14 วัน คนหยุดงานดูแลญาติที่ป่วย COVID-19 585 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ ตลอด 12 สัปดาห์

              2. เพิ่มเงินอุดหนุนครอบครัวผู้มีรายได้ต่ำ และผู้รับสวัสดิการสังคม 25 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์

              3. ปรับเงื่อนไขการเสียภาษีธุรกิจเพื่อเพิ่มกระแสเงินสดให้ผู้ประกอบการ

              (อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 26 มีนาคม 2563 : 1 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ = 19.4 บาท)

 

 

 

              ประเทศสิงคโปร์ ออกมาตรการ ดังนี้

              1. ชาวสิงคโปร์อายุ 21 ปีขึ้นไปทุกคนได้เงินอุดหนุน 100 - 300 ดอลลาร์สิงคโปร์

              2. คนที่มีลูกอายุต่ำกว่า 21 ปีจะได้เงินเพิ่มอีก 100 ดอลลาร์สิงคโปร์

              3. ช่วยค่าน้ำ - ค่าไฟ

              4. อายุมากกว่า 50 ปีได้เบี้ยเพิ่ม 100 ดอลลาร์สิงคโปร์

              5. ผู้มีรายได้น้อยได้เงินอุดหนุน - คูปองซื้ออาหารเพิ่ม 100 ดอลลาร์สิงคโปร์

              (อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 26 มีนาคม 2563 : 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 22.9 บาท)

              ด้าน ประเทศไทย ออก 7 มาตรการเยียวยา ดังนี้

              1. สนับสนุนรายได้

              1.1 แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระนอกระบบ ประกันสังคม 5,000 บาท/เดือน ตลอด 3 เดือน เป้าหมาย 3 ล้านคน

              1.2 แรงงานในระบบประกันสังคม ว่างงานได้รับ 50% ของค่าจ้าง

              นายจ้างสั่งหยุดงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน รัฐสั่งหยุดงาน รับเงินไม่เกิน 90 วัน

 

 

 

              2. ลดค่าไฟฟ้า - ประปา 3% ทุกบ้าน โดยขยายเวลาชําระค่าน้ำ - ไฟฟ้า และคืนเงินประกันการใช้น้ำ - ไฟฟ้า

              3. ฝึกอบรมเพิ่มทักษะอาชีพ

              4. สินเชื่อ - รับจํานําดอกเบี้ยต่ำ

              4.1 สินเชื่อพิเศษดอกเบี้ย 0.35% ต้องมีหลักประกัน รายละ 50,000 บาท ระยะเวลากู้ 3 ปี

              4.2 สินเชื่อฉุกเฉินดอกเบี้ย 0.1% ไม่ต้องมีหลักประกัน รายละ 10,000 บาท ระยะเวลากู้ 2 ปี 6 เดือน

              4.3 สํานักงานธนานุเคราะห์รับจํานําดอกเบี้ยไม่เกิน 0.125% ระยะเวลา 2 ปี

              5. มาตรการภาษี

              5.1 ยืดระยะเวลาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - นิติบุคคล

              5.2 เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพเป็น 25,000 บาท

              5.3 แพทย์ไม่ต้องนําค่าเสี่ยงภัยมาคิดภาษี

              5.4 ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการน้ำมัน

              5.5 เลื่อนการยื่นแบบภาษีและชําระภาษีทุกประเภท - สถานบริการ

 

 

 

              6. ให้สินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย ดอกเบี้ย 3% ใน 2 ปีแรก ไม่เกิน 3 ล้านบาท และ 7. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต้องเสียภาษี - ค่าธรรมเนียม