หมอเชี่ยวชาญโรคระบบหายใจทดสอบแล้ว หน้ากากอนามัยใส่เกิน 2 ชม.ได้แน่นอน
08 เม.ย. 2563
หมอเชี่ยวชาญโรคระบบหายใจทดสอบแล้ว หน้ากากอนามัยใส่เกิน 2 ชม.ได้แน่นอน
จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูล เรื่องการสวมใส่หน้ากากอนามัยแล้วจะทำให้เลือดเป็นกรด และทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมา จนหลายคนมีความกังวล และแชร์ข้อมูลนี้กันไปจำนวนมาก หลังจากมีสำนักข่าวบางสำนักได้นำเสนอข้อมูลเรื่องนี้ไปก่อนหน้านี้
ล่าสุด เพื่อความชัดเจนของเรื่องนี้ หมอผู้เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ
กลุ่มงานกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Jiraruj Praise ระบุว่า...
กลุ่มงานกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Jiraruj Praise ระบุว่า...
#หน้ากากอนามัยใส่เกิน2ชม.ได้
ปลอดภัย ไม่ต้องถอดพัก...!!!
.
ผมได้ทำการทดสอบกับตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย และปิดด้วยเทปเพื่อป้องกันการเล็ดลอดของละอองฝอย เสมือนเวลาทำงานจริง ตามภาพ 3 ชม.ต่อเนื่อง
.
เริ่มต้นผมได้วัดความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดด้วยเครื่องวัดปลายนิ้ว และ"#เจาะเลือดตนเอง" (capillary blood gas) เพื่อตรวจค่าความเป็นกรดเป็นด่างของเลือด(pH) และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด(PCO2)ก่อนใส่หน้ากาก เปรียบเทียบ กับหลังใส่หน้ากาก 3 ชั่วโมง
.
ผลที่ออกมาคือ ความเข้มข้นของออกซิเจนจากปลายนิ้ว ไม่เปลี่ยนแปลงคือ 98%
.
ค่าความเป็นกรดด่างของเลือด มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ไม่มีนัยยะสำคัญ ไม่มีภาวะกรดคั่งในเลือด
.
ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยยะสำคัญ และไม่เกินกว่าค่าปกติ และไม่มีผลต่อระบบไหลเวียน ไม่มีผลต่อการทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่นปวดศีรษะ
.
หากใส่หน้ากากแบบประชาชนทั่วไป ไม่ได้มีการปิดเทป แบบผมในภาพ ยิ่งไม่ควรมีการคั่งของก๊าซใดๆทั้งนั้น และน่าจะปลอดภัยยิ่งกว่า การใส่แบบผมอีก
.
การถอดหน้ากากเข้าๆออกๆ เพื่อพักหรือเพื่ออะไรก็ตาม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่หน้างาน สุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดการปนเปื้อน ของมือที่สัมผัสหน้ากาก และสัมผัสใบหน้า
.
ส่วนหน้ากากชนิด n95 ผมยังไม่ได้ทำการทดลอง แต่โดยทั่วไป เราไม่ได้แนะนำให้ประชาชนทั่วไปใส่อยู่แล้ว คู่มือการใช้งานของหน้ากากก็ไม่แนะนำให้ใส่เป็นเวลานานๆ แพทย์พยาบาลเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หากต้องใส่ n95 นาน เช่นต้องเกินกว่าครึ่งชั่วโมง เราก็จะหลบไปใช้ ชุดป้องกันที่มีอากาศหมุนเวียน หรือมีอากาศป้อนเข้ามาในชุด( PAPR)
.
ดังนั้นหน้ากากอนามัย ใส่ยาวๆได้เลยครับ ปลอดภัย แม้จะใส่แบบในภาพก็ตาม
.
แต่หากเปียกหรือปนเปื้อน ควรเปลี่ยนนะครับ
.
การทดลองนี้ทำในผู้มีสุขภาพปกตินะครับ ผู้มีโรคประจำตัว โรคปอดเรื้องรัง โรคหัวใจ เด็กเล็ก ไม่สามารถอ้างอิงได้นะครับ
หน้ากากที่ทดลองเป็นหน้ากากอนามัยมาตรฐาน
ที่ใช้ในรพ.นะครับ ไม่รวมหน้ากากผ้า และชนิดอื่นๆ
.
หากผู้เชี่ยวชาญท่านใดทำการทดลองแล้วได้ผลเป็นอย่างอื่น สามารถแสดงความเห็นได้เลยนะครับ
ปลอดภัย ไม่ต้องถอดพัก...!!!
.
ผมได้ทำการทดสอบกับตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย และปิดด้วยเทปเพื่อป้องกันการเล็ดลอดของละอองฝอย เสมือนเวลาทำงานจริง ตามภาพ 3 ชม.ต่อเนื่อง
.
เริ่มต้นผมได้วัดความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดด้วยเครื่องวัดปลายนิ้ว และ"#เจาะเลือดตนเอง" (capillary blood gas) เพื่อตรวจค่าความเป็นกรดเป็นด่างของเลือด(pH) และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด(PCO2)ก่อนใส่หน้ากาก เปรียบเทียบ กับหลังใส่หน้ากาก 3 ชั่วโมง
.
ผลที่ออกมาคือ ความเข้มข้นของออกซิเจนจากปลายนิ้ว ไม่เปลี่ยนแปลงคือ 98%
.
ค่าความเป็นกรดด่างของเลือด มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ไม่มีนัยยะสำคัญ ไม่มีภาวะกรดคั่งในเลือด
.
ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยยะสำคัญ และไม่เกินกว่าค่าปกติ และไม่มีผลต่อระบบไหลเวียน ไม่มีผลต่อการทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่นปวดศีรษะ
.
หากใส่หน้ากากแบบประชาชนทั่วไป ไม่ได้มีการปิดเทป แบบผมในภาพ ยิ่งไม่ควรมีการคั่งของก๊าซใดๆทั้งนั้น และน่าจะปลอดภัยยิ่งกว่า การใส่แบบผมอีก
.
การถอดหน้ากากเข้าๆออกๆ เพื่อพักหรือเพื่ออะไรก็ตาม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่หน้างาน สุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดการปนเปื้อน ของมือที่สัมผัสหน้ากาก และสัมผัสใบหน้า
.
ส่วนหน้ากากชนิด n95 ผมยังไม่ได้ทำการทดลอง แต่โดยทั่วไป เราไม่ได้แนะนำให้ประชาชนทั่วไปใส่อยู่แล้ว คู่มือการใช้งานของหน้ากากก็ไม่แนะนำให้ใส่เป็นเวลานานๆ แพทย์พยาบาลเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หากต้องใส่ n95 นาน เช่นต้องเกินกว่าครึ่งชั่วโมง เราก็จะหลบไปใช้ ชุดป้องกันที่มีอากาศหมุนเวียน หรือมีอากาศป้อนเข้ามาในชุด( PAPR)
.
ดังนั้นหน้ากากอนามัย ใส่ยาวๆได้เลยครับ ปลอดภัย แม้จะใส่แบบในภาพก็ตาม
.
แต่หากเปียกหรือปนเปื้อน ควรเปลี่ยนนะครับ
.
การทดลองนี้ทำในผู้มีสุขภาพปกตินะครับ ผู้มีโรคประจำตัว โรคปอดเรื้องรัง โรคหัวใจ เด็กเล็ก ไม่สามารถอ้างอิงได้นะครับ
หน้ากากที่ทดลองเป็นหน้ากากอนามัยมาตรฐาน
ที่ใช้ในรพ.นะครับ ไม่รวมหน้ากากผ้า และชนิดอื่นๆ
.
หากผู้เชี่ยวชาญท่านใดทำการทดลองแล้วได้ผลเป็นอย่างอื่น สามารถแสดงความเห็นได้เลยนะครับ