119องค์กร เสนอ "นายกฯ" เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กเป็น2พันฝ่าโควิด
119 องค์กรเสนอ " นายก" ปกป้องดูแลเด็กเล็กในสถานการณ์โควิด-19 ผ่านนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า จากเดิม 600 บาทเป็น 2,000บาทต่อเดือน ระยะเวลา 12 เดือน ครอบคลุมเด็ก 3.538 ล้านคน ใช้งบฯ 84,924.88 ล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของ GDPเท่านั้น
คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า 119 องค์กร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ข้อเสนอ ปกป้องดูแลเด็กเล็กในสถานการณ์วิกฤติโควิด-๑๙ ด้วยนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๒เห็นชอบโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด อายุ ๐-๖ ปี เดือนละ ๖๐๐บาท แก่เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือเสี่ยง ต่อความยากจน โดยมีการลงทะเบียนและมีการคัดกรอง รายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี แม้จะมีข้อดีกว่าเดิมจากที่จำกัดรายได้เฉลี่ยครอบครัวไม่เกิน ๓๖,๐๐๐ บาทต่อปี แต่องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็ก ผู้หญิง ขบวนแรงงานทั้งในและนอกระบบ และสถาบันวิชาการ ได้มีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ยืนยันข้อเสนอที่มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ “ขอให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า อย่างน้อย ๐-๖ ปีเดือนละ ๖๐๐ บาท”
เหตุผลที่ชัดเจนในการสนับสนุนนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า คือ
-มีผลการวิจัยทั่วโลกยอมรับว่า เด็กเล็ก ๐-๖ ปีเป็นช่วงวัยที่เป็นการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่คุ้มค่าที่สุด สำคัญที่สุดในช่วงชีวิตการสร้างคุณภาพชีวิตและ ศักยภาพมนุษย์ที่แข็งแกร่งในอนาคต เป็นการสร้างต้นทุนต่อความฉลาดทางสติปัญญา IQ และความฉลาดทางอารมณ์/จิตใจ EQ ซึ่งจะส่งผลต่อเด็กในวัยเรียน การประกอบอาชีพในอนาคต และการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว
-ผลการศึกษาวิจัย เรื่องประเมินผลกระทบและประเมินการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประเทศไทย (UNICEF) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) มอบให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสถาบันวิจัยนโยบายทางเศรษฐกิจ (Economic and Policy Research Institute : EPRI)
จากประเทศแอฟริกาใต้ออกแบบและดำเนินการโดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาสรุปว่า การให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิด เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เด็กแรกเกิดที่ได้รับเงินรวมทั้งเด็กเล็กอื่นในครัวเรือนมีผลลัพธ์ทางโภชนาการดีกว่าเด็กที่มาจาก ครัวเรือนซึ่งไม่ได้รับเงินที่มีฐานะใกล้เคียงกัน ครัวเรือนที่ได้รับเงินมีการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา ๖ เดือน ครอบครัวที่ได้รับเงินเข้าถึงการบริการสุขภาพและสังคมมากกว่า ฯลฯ
ประเด็นที่สำคัญ ในงานวิจัยพบว่า มีอัตราการตกหล่นของกลุ่มเป้าหมายยากจน ร้อยละ ๓๐ นั่น คือ เด็กแรกเกิดยากจนประมาณร้อยละ ๓๐ ยังไม่ได้รับเงิน ซึ่งทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่รัฐบาลคิดว่าจะดูแลเด็กเล็กที่ยากจนและส่งผลให้เด็กเล็กจำนวนมากไม่ได้รับการปกป้องดูแล ซึ่งจากการศึกษาทั่วโลกพบว่า การจะแก้ไขลดอัตราการตกหล่นของคนจนเป็นเรื่องยาก หากไม่ทำให้เป็นนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า
สังคมไทยพัฒนาการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้ามายาวนาน โดยเฉพาะการเรียนฟรีอย่างน้อย ๑๒ ปี สวัสดิการคนพิการ สวัสดิการผู้สูงอายุ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล แต่กลับมีนโยบายและการเลือกปฏิบัติเจาะจงเด็กยากจนด้วยระบบคัดกรองที่มีเด็กยากจนตกหล่นและเข้าไม่ถึงจำนวนมาก
สถานการณ์โควิด-๑๙ ยิ่งจำเป็นต้องมีนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า
สถานการณ์โควิด-๑๙ ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจสังคมต่อทุกคนหลากหลายอาชีพทั้งในเมืองและชนบทเป็นวงกว้าง รวมทั้งมีผลกระทบที่รุนแรงครอบครัวของเด็กเล็กและเด็กเกิดใหม่ เช่นการมีรายได้ลดลงอย่างมาก ผู้ปกครองไม่สามารถทำงานแบบปกติได้. ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก ศูนย์เลี้ยงเด็กและโรงเรียนก็ปิด. ค่าใช้จ่ายเด็กเล็กในบ้านเพิ่มขึ้น และมีผลให้ไปทำงานไม่ได้. หรือต้องหาคนมาช่วยเลี้ยงดู
นอกจากนี้อัตราการตกหล่นครอบครัวยากจนตามเกณฑ์เดิมก็อาจสูงขึ้นจากปัญหาและอุปสรรคในการลงทะเบียนเด็กเล็กรายใหม่ เนื่องจากมีขั้นตอนที่ต้องมีผู้รับรองรายได้ ต้องกรอกแบบฟอร์ม ต้องตรวจสอบ ซึ่งทำได้ยากขึ้นในสถานการณ์ที่ต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคมเช่นปัจจุบัน ผลกระทบอีกประการหนึ่งคือการเกิดคนจนใหม่จำนวนมากกว่าเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด ครอบครัวที่เคยมีรายได้สูงกว่าเกณฑ์ในภาวะปกติและไม่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด แต่ผลกระทบจากโควิด-๑๙ ได้ทำให้ครอบครัวเหล่านี้จำนวนมากกลายเป็นครอบครัวยากจน ในขณะที่ยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือในส่วนนี้
การให้ความช่วยเหลือเด็กเล็ก ๐-๖ ปี ให้เป็นแบบถ้วนหน้า จะทำให้ความช่วยเหลือไปถึงเด็กเล็กอย่างทันที เพียงพอ และครอบคลุม. ลดความจำเป็นด้านเอกสารและการตรวจสอบ แม้งบประมาณที่ใช้จะสูงกว่าการให้เงินอุดหนุนแบบเฉพาะเจาะจงแต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนด้านอื่น ๆ ของประเทศ และอัตราเด็กเกิดที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ การใช้งบประมาณในอนาคตก็มีแนวโน้มที่ลดลง ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรเห็นเป็นภาระ หากแต่เป็นการใช้งบประมาณลงทุนที่คุ้มค่า
“การให้สวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ ๐-๖ ปี แบบถ้วนหน้า” จึงเป็นสวัสดิการพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเด็กทุกคน โดยไม่ต้องแบ่งแยก “ยากดี-มีจน” แต่ให้เด็กเล็กทุกคนได้รับการดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียม สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ในมาตรา ๕๔ วรรคสองระบุไว้ว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา...เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย” และมาตรา ๔๘ “สิทธิของมารดาในช่วงระหว่าง ก่อน และหลังคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือตามที่กฎหมายบัญญัติ” ทั้งยังยืนยันว่า ประเทศไทยเคารพต่อข้อผูกพันที่มีต่อกติการะหว่างประเทศที่เป็นภาคี อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า เด็กทุกคนมีสิทธิเข้าถึงระบบความคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสม รวมทั้งพันธะสัญญาสากลขององค์การสหประชาชาติ เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ที่มีนัยสำคัญถึง “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้าและองค์กรเครือข่าย ตามรายชื่อในท้ายจดหมายนี้ ขอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นชอบต่อการที่ประเทศไทยจะมีนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า. เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานตลอดจนป้องกันที่จะไม่ทิ้งเด็กให้ตกหล่นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
และในวาระเฉพาะหน้า เสนอเพิ่มเงินอุดหนุนจาก ๖๐๐ บาทต่อเดือน เป็น ๒,๐๐๐บาทต่อเดือน จนกว่าการระบาดจะบรรเทาลงเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าให้เงินเด็ก ๐-๖ ปี แบบถ้วนหน้าจากเด็ก ๓.๕๓๘ ล้านคนรายละ ๒,๐๐๐ บาท ๑๒ เดือน ใช้งบประมาณ ๘๔,๙๒๔.๘๘ ล้านบาท คิดเป็น ๐.๕% ของ GDPเท่านั้น
แนวทางนี้นอกจากจะแก้ปัญหาช่องว่างเรื่องเด็กตกหล่นแล้ว ยังสามารถทำให้สวัสดิการไปถึงเด็กได้ทันที พอเพียง ครอบคลุม ช่วยให้มีฐานข้อมูลเด็กทุกคนในระยะยาว ลดการทำงานคัดกรองของภาครัฐที่เป็นภาระทั้งงบประมาณ กำลังคน เกิดระบบประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ จำนวนเงิน ๒,๐๐๐ บาทคำนวณจาก ๓๐% ของค่าจ้างแรงงานนอกระบบเฉลี่ยและการศึกษา minimum income standard โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่ารายจ่ายสำหรับเลี้ยงดูเด็กเล็กคือ ๓,๑๘๒ บาทต่อเดือน และถ้าพ่อแม่ต้องไปทำงาน จะมีค่าใช้จ่ายฝากเลี้ยงอีกเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๖,๑๘๒ บาท
รายชื่อคณะทำงานและองค์กรเครือข่ายร่วมสนับสนุนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า
๑. วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
๒. คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓. โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔. มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ฯ
๕. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)
๖. คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน(กป.อพช.)
๗. มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
๘. มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
๙. สหทัยมูลนิธิ
๑๐. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
๑๑. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove)
๑๒. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ(HomeNet)
๑๓. เครือข่ายสลัม ๔ ภาค
๑๔. เครือข่ายพลังผู้สูงวัย
๑๕. สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา
๑๖. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)
๑๗. กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
๑๘. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
๑๙. ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ
๒๐. สมาคมสตรีคนพิการ
๒๑. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เชียงใหม่
๒๒. มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
๒๓. สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้
๒๔. สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา
๒๕. สถาบันธรรมชาติพัฒนา
๒๖. สถาบันวิจัยนิเวศน์วัฒนธรรมท้องถิ่น
๒๗. มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน จังหวัดสุรินทร์
๒๘. มูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
๒๙. มูลนิธิพิทักษ์สิทธิสตรีและเด็ก
๓๐. มูลนิธิเพื่อนหญิง
๓๑. มูลนิธิผู้หญิง
๓๒. มูลนิธิขวัญชุมชน
๓๓. มูลนิธิส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาชุมชน
๓๔. มูลนิธิพร้อมใจพัฒนา
๓๕. มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
๓๖. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๓๗. มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
๓๘. มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
๓๙. มูลนิธิก้าวหน้า
๔๐. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
๔๑. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
๔๒. สมาคมครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
๔๓. สมาคมจิตอาสาสร้างสุข
๔๔. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
๔๕. สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ประเทศไทย
๔๖. สมาคมวัฒนธรรมความพิการเชียงใหม่
๔๗. สมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ
๔๘. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดสุรินทร์
๔๙. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
๕๐. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท.โทรคมนาคม
๕๑. สหภาพแรงงานอาหารและบริการประเทศไทย
๕๒. สหภาพผู้ปรุงอาหารและให้บริการ
๕๓. สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ ประเทศไทย
๕๔. สมาพันธ์ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งประเทศไทย
๕๕. สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิค ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย
๕๖. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม
๕๗. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย
๕๘. สมาพันธ์แรงงานเดนโซ่ ประเทศไทย
๕๙. สมาพันธ์แรงงานอีซูซุ ประเทศไทย
๖๐. เครือข่ายผู้ติดเชื้อจังหวัดขอนแก่น
๖๑. เครือข่ายผู้สูงอายุ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
๖๒. เครือข่ายคนพิการ จังหวัดขอนแก่น
๖๓. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดขอนแก่น
๖๔. เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต จังหวัดขอนแก่น
๖๕. เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคอีสาน
๖๖. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
๖๗. เครือข่ายชุมชนชนเมือง จังหวัดขอนแก่น
๖๘. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดขอนแก่น
๖๙. เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
๗๐. เครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน
๗๑. เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคอีสาน
๗๒. เครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง
๗๓. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
๗๔. เครือข่ายแรงงาน สตรี TEAM
๗๕. เครือข่ายผู้หญิงในระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว
๗๖. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ กรุงเทพมหานคร (กทม.)
๗๗. เครือข่ายองค์กรสตรี ๑๔ จังหวัดภาคใต้
๗๘. เครือข่ายภาคประชาชนชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ
๗๙. เครือข่ายสวัสดิการชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญ
๘๐. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพประเทศไทย ๑๓ องค์กร
๘๑. เครือข่ายเยาวชนและครอบครัวสร้างสรรค์
๘๒. เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)
๘๓. เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดสุรินทร์
๘๔. เครือข่ายแม่วัยใส อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
๘๕. เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
๘๖. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา จังหวัดระยอง
๘๗. กลุ่มการเมืองหลังบ้าน
๘๘. กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่
๘๙. กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์องค์กรเภสัชกรรม
๙๐. กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
๙๑. กลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้นหญ้าบ้านดู่จังหวัดสุรินทร์
๙๒. กลุ่มรุ่งอรุณ จังหวัดลำปาง
๙๓. ขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
๙๔. คริสตจักรพลังแห่งความเชื่อจังหวัดสุรินทร์
๙๕. โครงการปฏิรูปการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดลำพูน
๙๖. โครงการเพื่อผู้สูงอายุ – forOldy
๙๗. ชมรมผู้ติดเชื้อเพื่อนรักเขาสมิง
๙๘. ศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ๔ ภูมิภาค
๙๙. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการช่วยเหลือเด็กกำพร้า จังหวัดปัตตานี
๑๐๐. หน่วยรับเรื่องราวร้องเรียนที่เป็นอิสระ50(5) จังหวัดสุรินทร์
๑๐๑. Rainbow Dream Group เชียงใหม่
๑๐๒. สมัชชาคนจน
๑๐๓. สถานรับเลี้ยงเด็กพระคุณ จังหวัดสุรินทร์
๑๐๔. สโมสรนักศึกษานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
๑๐๕. องค์กรคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
๑๐๖. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
๑๐๗. เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม WeFair
๑๐๘. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
๑๐๙. กลุ่มอนุรักษ์ผายาผาจันได จังหวัดหนองบัวลำภู
๑๑๐. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
๑๑๑. มูลนิธิเพื่อนหญิง
๑๑๒. มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า
๑๑๓. สมาคมพราว(มหาชัย)
๑๑๔. เครือข่ายเพื่อนหญิงนนทบุรี
๑๑๕. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.)
๑๑๖. เครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม
๑๑๗. มูลนิธิไทอาทร
๑๑๘. มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์
๑๑๙. องค์กรต้นกล้า(เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว) จังหวัดมุกดาหาร