
"ดร.สุวินัย" แนะปชช.สวดคาถาชินบัญชร เพื่อเสริมสร้างเกราะป้องกันภัย
ท่ามกลางวิกฤตโควิด สำหรับชาวพุทธแล้ว จะมีคาถาไหนเหมาะสมที่สุดเท่ากับคาถาชินบัญชร
วันที่ 24 เม.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เฟซบุ๊ก ของ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความ คาถาชินบัญชรเพื่อกายศักดิ์สิทธิ์ / สุวินัย ภรณวลัย
ท่ามกลางวิกฤตโควิด สำหรับชาวพุทธแล้ว จะมีคาถาไหนเหมาะสมที่สุดเท่ากับคาถาชินบัญชร
ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่าบัญชร ซึ่งแปลว่า กรงหรือเกราะ
ชินบัญชร จึงหมายถึง เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้าประดุจแผงเหล็กหรือเกาะเพชรที่แข็งแกร่ง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตราย และศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้
คาถาชินบัญชรนี้มีเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่มีอายุยาวนานหลายร้อยปีเป็นอย่างต่ำ มีต้นกำเนิดมาจากลังกา แต่โด่งดังเป็นที่แพร่หลายในเมืองไทยเพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังนำมาเผยแพร่
คาถาชินบัญชรเป็นคาถาที่มีอานุภาพมาก เพราะเป็นคาถาที่อัญเชิญพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆอันเป็นเลิศให้ลงมาสถิตในทุกส่วนของร่างกายผู้สวด
รวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวผู้สวดภาวนาเพื่อให้ห่างไกลจากอันตรายทั้งปวง เสริมความเป็นสิริมงคล มีเมตตามหานิยม มีพลังพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ และมีคุณานุภาพตามแต่ผู้สวดภาวนาจะตั้งจิตปรารถนา
สมเด็จโตเคยกล่าวไว้ว่า "พระคาถาชินบัญชรนี้ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลานเพื่อปกป้องคุ้มครองภัย คือ กำจัดมารภายในหรือความกลัวเมื่อภาวนามากๆแช้ว เชือดโยมก็จะบริสุทธิ์เข้าถึงรสพระธรรมได้ง่าย เข้าถึงศีลได้ง่าย
แม้จะอยู่ในองค์ภาวนาก็ดี สาธยาย มนต์ก็ดี ย่อมกำจัดสิ่งที่เป็นอวิชชาหรืออัปมงคลทั้งหลาย
ดังนั้น ผู้ใดจะสวดก็ดี ภาวนาในใจก็ดี ย่อมเป็นมงคล ย่อมเกิดสมาธิ ย่อมเกิดญาณ ย่อมเกิดบารมี ..."
คาถาชินบัญชรเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์คาถาเดียวที่ตัวผมใช้ในการปลุกเสกทุกสิ่ง ทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ตัวผมผูกพันกับคาถาชินบัญชรมาเนิ่นนานแล้วบนเส้นทางฝึกจิตของผม
เมื่อ 25 ปีก่อน ตอนที่ตัวผมเริ่มหันเหเข้าสู่เส้นทางจิตวิญญาณอย่างเต็มตัว ผมเริ่มฝึกคาถาชินบัญชรเพื่อใช้ปลุกศักยภาพภายในตัวผม
ต่อมา ภายหลังจากที่ผมได้นั่งสมาธิต่อหน้าพระจักษุธาตุ และช่วยสร้างมหาเจดีย์ให้พระจักษุธาตุ พระอาจารย์ประจักษ์ซึ่งเป็นพระอริยะที่ดูแลพระจักษุธาตุ ได้เมตตามอบพระธาตุของพระอรหันต์เจ้าทุกพระองค์ที่ปรากฏนามในคาถาชินบัญชรให้ผมนำไปปฏิบัติบูชาผ่านคาถาชินบัญชร
หลังจากนั้นไม่นานสหายธรรมของผมในชมรมมังกรธรรมได้มอบสมเด็จโตปิดทองที่แกะจากต้นตะเคียนทองให้ผมบูชาที่เรือนมังกรซ่อน
หลังจากที่ผมช่วยท่านอาจารย์ในดงสร้างอาศรมเทพมังกรที่จังหวัดชัยภูมิ คาถาชินบัญชรเป็นคาถาที่ผมใช้ในการอัญเชิญแก้วเสด็จมาในดอกบัวที่อยู่ในบาตร รวมทั้งใช้ในพิธีกลืนแก้วและกลืนพระธาตุทอง
ปัจจุบัน ผมสวดคาถาชินบัญชรเพื่ออาบน้ำมนต์สลายกรรม และขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่มีผลกรรมสืบเนื่องกับตัวผมมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน
ผมไม่เคยลังเลสงสัยเลยแมัแต่น้อยว่า คาถาชินบัญชรเป็นคาถาเพื่อกายศักดิ์สิทธิ์ของคนกายสิทธิ์
ขอให้เราพิจราณาคำแปลคร่าวๆของคาถาชินบัญชรกัน
(1) ผู้สวดอัญเชิญพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์มาประทับอยู่เหนือเศียร
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่บนศีรษะ
พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์อยู่ที่อก
(2) พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลาน์อยู่เบื้องซ้าย
พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่ที่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
พระโสภิตะอยู่ทุกเส้นขนตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
พระกุมาระกัสสะปะอยู่ที่ปาก
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะและพระสีวลี จงปรากฏเป็นกระแตะจุณเติมที่หน้าผาก
พระอสีติมหาเถระและเหล่าแปดสิบพระสาวกให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
(3) พระสูตรสำคัญๆอยู่เบื้องหน้า เบื้องขวา เบื้องซ้าย เบื้องหลัง รวมทั้งเบื้องบนดุจหลังคาอยู่บนอากาศ
(4) ผู้สวดอธิษฐานจิตภาวนาขอให้พลังแห่งพุทธคุณ คุ้มครองผู้สวดดุจกำแพงเจ็ดชั้น โรคภัยทั้งหลายจงพินาศ ชนะอันตรายและศัตรูทั้งปวงด้วยพุทธานุภาพตลอดกาลนานเทอญ
พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม
ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท
- ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
- ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
- สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
- หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
- ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
- เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
- กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
- ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
- เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
- ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
- ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
- ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
- อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
- ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
- อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.