ข่าว

งานวิจัยโมเดลแพร่เชื้อ โควิด-19 ชี้มาตรการรักษาระยะห่างได้ผลในจีน

งานวิจัยโมเดลแพร่เชื้อ โควิด-19 ชี้มาตรการรักษาระยะห่างได้ผลในจีน

01 พ.ค. 2563

การรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่เข้มงวดสามารถจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ได้

 

               วอชิงตัน, 30 เมษายน 2563 (ซินหัว) - วารสารไซเอนซ์ (Science) ฉบับวันพุธ (29 เม.ย.) ตีพิมพ์รายงานที่ระบุว่าโมเดลการส่งต่อเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ใหม่ ซึ่งอ้างอิงข้อมูลสำรวจการติดต่อในประชาชนเกือบ 1,200 คน ในเมืองอู่ฮั่นและนครเซี่ยงไฮ้ของจีน แสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่เข้มงวดสามารถจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ได้

อ่านข่าว - อิหร่านจ่อโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในภูมิภาค หากความมั่นคงของชาติถูกคุกคาม

 

 

 

               ผลการวิจัยพบว่าการติดต่อระหว่างบุคคลของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ลดลง 7 - 9 เท่าโดยเฉลี่ยต่อวัน จาก 14 คนและ 20 คนต่อวันในอู่ฮั่นและเซี่ยงไฮ้ตามลำดับ ลดเหลือ 2 คนต่อวันในพื้นที่ทั้งสองแห่งช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์

               ข้อมูลสำรวจเผยว่าร้อยละ 78 - 94 ของการติดต่อเหล่านี้เกิดขึ้นที่บ้านและเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัวหรือผู้อยู่อาศัยในบ้านเดียวกันช่วงรักษาระยะห่างทางสังคม

               จางจวนจวน หัวหน้าทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ใช้ข้อมูลสำรวจผู้ติดต่อ พร้อมข้อมูลการติดตามผู้ติดต่อที่เก็บรวบรวมในละแวกมณฑลหูหนานมาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่

               ผลของแบบจำลองชี้ว่ามาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมและการลดจำนวนการติดต่อระหว่างบุคคลในแต่ละวัน ส่งผลให้อัตราการส่งต่อเชื้อลดลงต่ำกว่าระดับการแพร่ระบาดในอู่ฮั่นและเซี่ยงไฮ้

 

 

 

               การศึกษายังพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ร้อยละ 40 เช่นเดียวกับผู้สูงอายุวัยมากกว่า 64 ปี

               นอกจากนี้ การศึกษายังชี้ว่าแม้การปิดโรงเรียนต่างๆ จะไม่สามารถขัดขวางการส่งต่อเชื้อได้เอง แต่สามารถลดอัตราการติดเชื้อสูงสุดได้ร้อยละ 40 - 60 และชะลอการแพร่ระบาดของโรคได้

 

 

 

--------------------

ที่มา : xinhuathai.com