"Alternative State Quarantine" กักตัวแบบมีทางเลือก
"Alternative State Quarantine" กักตัวแบบมีทางเลือก
21 พ.ค. 63 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 แถลงตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อโควิด จำนวน 3 ราย ภาพรวมประเทศมีผู้ป่วยสะสม 3,037 ราย รักษาหายแล้ว 2,897 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 84 ราย เสียชีวิตสะสม 56 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลมีนโยบายดำเนินการให้ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยจะต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วันในพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ โดยแบ่งเป็น รัฐจัดให้ในส่วนกลาง(State Quarantine) และท้องถิ่นจัดให้(Local Quarantine) และล่าสุดมีสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine) สำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศและมีกำลังทรัพย์ที่จะเสียค่าใช้จ่ายเอง ในการเข้าพักกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งจะเป็นโรงแรมจับมือกับโรงพยาบาลในการเปิดสถานที่รองรับคนกลุ่มนี้ โดยมีภาคส่วนของกระทรวงสาธารณสุขเข้าไปตรวจสอบและดูในเรื่องของระบบ เมื่อครบ 14 วันจะมีบุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจสอบและออกใบรับรอง
“จากการที่มีการทดลองทำมาระยะหนึ่งพบว่ามีคนนิยมใช้จำนวนมาก จึงจะมีการขยายแนวทางนี้พัฒนาต่อไป ในกรณีที่สิ้นสุดการบังคับใช้พรก.ฉุกเฉิน และมีคนเดินทางเข้ามาประเทศไทย โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในต่างประเทศยังพุ่งขึ้น ก็จะให้ผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีทางเลือกในการเข้าพักเพื่อกักตัวโดยจ่ายเงินเอง เพราะภาครัฐจะอุ้มค่าใช้จ่ายในการกักตัวของคนที่เข้ามาในประเทศอย่างเดียวไม่ไหว โดยภาพที่จะเกิดขึ้นคือ ถ้าจะเดินทางเข้ามาก็สามารถเลือกไปกักตัวที่โรงแรมที่ต้องการได้โดยจ่ายเงินเอง แต่โรงแรมนั้นจะต้องผ่านการเกณฑ์ประเมินการเป็น Alternative State Quarantineของกระทรวงสาธารณสุขก่อน”นพ.ทวีศิลป์กล่าว
อย่างไรก็ตาม กระบวนการเข้ารับการกักตัวใน Alternative State Quarantine จะดำเนินการมาตั้งแต่ต้นทาง โดยกระทรวงต่างประเทศ แจ้ง Alternative State Quarantine ให้ชาวไทยและชาวต่างชาติทราบที่ประเทศต้นทาง ให้มีการลงทะเบียนความต้องการที่ประเทศต้นทางและระบุสถานที่พักในแบบแสดงความจำนง ร่วมกับได้รับคำตอบรับจากสถานที่พักในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย เมื่อถึงปลายทาง แจ้งใบแสดงความจำนง Alternative State Quarantine ที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมืองหรืออู่ตะเภา หลังจากนั้นการนำส่งผู้เข้าพักจากสนามบินถึงโรงแรมดำเนินการโดยโรงแรมที่ได้รับอนุญาต รวมถึง การทดสอบโควิด-19และการให้บริการทางการแพทย์เป็นการดำเนินการของโรงแรมและโรงพยาบาลคู่สัญญาปฏิบัติการร่วม
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์แนวทางการดำเนินการพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐทางเลือก 14 วัน สำหรับเป็นที่กักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อเป็น Alternative State Qoarantine ข้อกำหนดสถานที่จะเข้าร่วม มีดังนี้
1. โรงแรมต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมาย รวมถึงกรณีดัดแปลง
2. สถานที่ที่รัฐกำหนด
กลุ่มเป้าหมายผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และไม่มีอาการที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคโควิด-19 (Patient under investigation)
ลักษณะของที่พัก
1. เป็นห้องส่วนตัว
2. มีห้องน้ำส่วนตัว
3. มีผู้จัดหาอาหารและของใช้จำเป็นให้ได้ ไม่ต้องออกไปจัดหาด้วยตนเอง
ข้อปฏิบัติของผู้เข้าพัก
1. อยู่ในห้องส่วนตัว หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พัก (Social Distancing)
2. ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
3. แยกสิ่งของส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ชาม ข้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
4. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ถ้าเตรียมอาหารในโรงแรมบริเวณที่มีผู้อื่นอยู่ควรให้ผู้อื่นจัดหามาให้แล้วแยกรับประทานคนเดียว
5. ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าชนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกถ้าทำได้ชักผ้ตัวยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 60-90 องศาเซลเซียส
6. แยกถุงขยะของตนต่างหาก
ขั้นตอนการได้รับการรับรองโดยรัฐ
1. โรงแรมสมัครเข้าร่วมและประเมินตนเองตามเกณฑ์แนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกลาโหมกำหนด
2. ประเมินความพร้อม ร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกลาโหม
3. โรงแรมจำเป็นต้องจัดรูปแบบบริการตามกำหนดที่ชัดเจน นำเสนอต่อคณะกรรมการร่วมกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกลาโหม
4. ประกาศ โรงแรมได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ Alternative State Quarantine ในเว็บของกระทรวงสาธารณสุข (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) และกระทรวงกลาโหม
กระบวนการตัดสินใจ
1. ต้นทาง : โดย กระทรวงต่างประเทศแจ้ง Altemative State Quarantine ให้ชาวไทยและชาวต่างชาติทราบ ณ.ประเทศต้นทาง ให้มีการลงทะเบียนความต้องการที่ประเทศต้นทางและระบุสถานที่พัก Alternative State Quarantine ในแบบแสดงความจำนง ร่วมกับได้รับคำตอบรับจากสถานที่พัก Alternative State Quarantine เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
2 ปลายทาง: แจ้งใบแสดงความจำนง Alemative State Quarantine ณ. EOC สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา) หลังจากนั้นการนำส่งผู้เข้าพักจากสนามบินถึงโรงแรม Alternative State Quarantine คำเนินการ โดยโรงแรมที่ได้รับอนุญาต รวมถึงการทดสอบเชื้อโควิด-19 และการให้บริการทางการแพทย์ เป็นการดำเนินการของโรงแรมและโรงพยาบาลคู่สัญญาปฏิบัติการร่วม (Cooperate Hospital)
ลักษณะของ Alternative State Quarantine ต้องมีองค์ประกอบหลัก 6 หมวด ดังนี้หมวด
หมวด 1. โครงสร้างอาคารวิศวกรรมความปลอดภัยและระบบสื่อสารสารสนเทศ
1.1) โครงสร้างสมบูรณ์ ไม่แตกร้าว มีสภาพอาคารพร้อมใช้งาน
1.2) ระบบความปลอดภัยในอาคารพร้อมใช้งาน เช่น ระบบดับเพลิง ทางหนีไฟ
1.3) ห้องพักผู้ป่วยต้องเป็นห้องปรับอากาศแยกส่วนหรือไม่เป็นระบบท่อส่งลมเย็นร่วม
1.5) ท่อระบายน้ำทิ้ง และสุขาภิบาลต้องไม่รั่วซึม
1.6) ระบบโทรศัพท์สื่อสาร และ CCV
1.7) ระบบสื่อสารทางกลทางการแพทย์ Telemedicine เพื่อการบันทึกอุณหภูมิร่างกายและสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์
1.8) ห้องปฏิบัติการสื่อสารระหว่างโรงแรมและรัฐหมวด
หมวด 2. บุคลากร (ต้องได้รับการอบรมก่อนปฏิบัติงาน)
2.1) เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนผู้ป่วย/เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์
2.2) เจ้าหน้าที่ส่งอาหาร
2.3) เจ้าหน้าที่ทำความสะอาด
2.4) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
2.5) เจ้าหน้าที่เก็บขยะ
2.6) ช่างไฟฟ้า
2.7) ช่างประปา
2.8) Covid-19-Manager
2.9) เจ้าหน้าที่ของภาครัฐและเจ้าหน้าที่ทางโรงแรม ต้องได้รับการคัดกรองก่อนเข้าปฏิบัติงานและสวมชุดป้องกัน รวมถึงทำความสะอาดร่างกายหลังปฏิบัติงาน ดังนี้
2.9.1) ตรวจวัดไข้
2.9.2) สวมหน้ากากอนามั้ย Surgical Mask
2.9.3) สวม Face Shield
2.94) สวมชุดป้องกัน (เฉพาะบุคคลที่มีความเสี่ยง)
2.9.5) การทำความสะอาดรองเท้าก่อน/หลังปฏิบัติงาน
2.9.6) การทำความสะอาดร่างกายภายก่อน/หลังปฏิบัติงาน
หมวด 3. วัสดุ อุปกรณ์สำนักงาน และอื่นๆ
ก. วัสดุ อุปกรณ์ประจำสำนักงาน (สำหรับเจ้าหน้าที่)
(1) คอมพิวเตอร์ หรือ Notebook
(2) เครื่องสแกนเอกสาร/ปริ้นเตอร์
(3) โทรศัพท์สำนักงาน
(4) สมุดทะเบียนผู้เข้าพัก
ข. วัสดุ อุปกรณ์ประจำห้องพัก
(1) ไฟฉาย
(2) ถุงขยะติดเชื้อ
(3) กระดาษชำระ
(4) Free W-Fi ทุกห้องผู้เข้าพัก
(5) รถเข็นขนย้ายสิ่งของผู้เข้าพัก
(6) กาต้มน้ำร้อน
(7) ผ้าเช็ดตัว และผ้าเช็ดผม
(8) ชุดผ้าปูที่นอน
(9) น้ำดื่ม
(10) อุปกรณ์เครื่องเขียน/สมุดบันทึก
(11) หน้ากาก Surgical Mask
(12) รองเท้าภายในและนอกห้องพัก
(13) รองเท้าใส่ภายในห้อง (Slippers)
(14) จัดทำคู่มือแนวการปฏิบัติของผู้เข้าพักในโรงแรม
หมวด 4. ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
ก. เวชภัณฑ์สำหรับเจ้าหน้าที่
(1) แอลกอฮอล์เจล แบบขวดปั้ม/แบบพกพา
(2) หมวกคลุมผม
(3) ชุดป้องกัน (PPE) เช่น Goพn กันน้ำ
(4) Face shield
(4) ถุงมือยางทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง
(5) รองเท้าบูท
(6) ถุงแดงใส่ขยะติดเชื้อ
ข. เวชภัณฑ์ประจำห้องพัก
(1) แอลกอฮอล์เจล แบบขวดปั้ม
(2) ปรอทวัดไข้ (Digital)
ค. ยาและเครื่องมือแพทย์
(1) ยาสามัญประจำบ้าน
(2) อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องตัน
(3) เครื่องวัดความดัน
หมวด 5. การจัดการสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรกับชุมชน
5.1) มีระบบการจัดการขยะติดเชื้อ
5.2) มีระบบการบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน
5.3) มีแนวทางสร้างความเข้าใจและการยอมรับจากชุมชนโดยรอบ
หมวด 6. โรงพยาบาลคู่สัญญาปฏิบัติการร่วมและความสะดวกสบายเพิ่มเติม
6.1) โรงพยาบาลคู่สัญญาปฏิบัติการร่วม (Cooperate Hospital) เอกสารบันทึกข้อตกลงระหว่างสถานประกอบการธุรกิจโรงแรมกับโรงพยาบาล
6.2) บริการทำความสะอาดห้องพักทุกวัน
6.3) สามารถเลือกเมนูอาหารตามต้องการ (Menu room service)
6.4) บริการภาชนะชุดอุปกรณ์สำหรับใส่อหาร และมีกระบวนการทำความสะอาดที่มีมาตรฐานด้วยความร้อน
6.5) บริการระบบการซักรีดฆ่าเชื้อด้วยความร้อนตามมาตรฐาน
6.6) สร้างความหลากหลายในการเข้าถึงความบันเทิง
6.7) สามารถออกจากห้องพักมาใช้พื้นที่ที่โรงแรมกำหนดโดยเว้นระยะห่าง ภายหลังจากการทดสอบเชื้อว่าเป็นผลลบ
ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุว่า มีโรงแรมที่ผ่านการตรวจประเมินสถานที่กักตัวทางเลือก(Alternative State Quarantine) โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกลาโหมแล้ว จำนวน 4 แห่ง
1. Movenpick wellness BDMS Resort Hotel จำนวน 100 ห้อง
2. Qiu Hotel สุขุมวิท จำนวน 79 ห้อง
3. The Idle residence จำนวน 64 ห้อง
4. Grand Richmond Hotel จำนวน 60 ห้อง รวม 303 ห้อง