ข่าว

พบถุงซีสต์พยาธิตืดสุนัขเต็มช่องเยื่อหุ้มหัวใจหนุ่ม 25 ปี จากการคลุกคลีสัตว์ติดเชื้อ

พบถุงซีสต์พยาธิตืดสุนัขเต็มช่องเยื่อหุ้มหัวใจหนุ่ม 25 ปี จากการคลุกคลีสัตว์ติดเชื้อ

18 มิ.ย. 2563

พบถุงซีสต์พยาธิตืดสุนัขเต็มช่องเยื่อหุ้มหัวใจหนุ่ม 25 ปี จากการสัมผัสสัตว์มีพยาธิ โดยเพจ PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โพสต์เคสอุทาหรณ์เตือนสำหรับคนรักสัตว์

อุทาหรณ์สำหรับคนเลี้ยงสุนัข โดยเพจ PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โพสต์เคสกรณีหนุ่มวัย 25 ปี ที่มีอาการใจลำบากนานกว่า 6 เดือน ซึ่งผลการตรวจร่างกายพบว่า มีภาวะหัวใจเต้นเบามาก ส่วนการทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจพบเป็นปกติ

 

นอกจากนี้ ผลการเอ็กซเรย์ทรวงอกพบหัวใจโตผิดปกติ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจทางหน้าอกและการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร พบซิสต์จำนวนมาก มีลักษณะเหมือนรังผึ้ง ทำให้ห้องหัวใจไม่สามารถมองเห็นได้ในการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งการตรวจหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พบถุงซีสต์ขนาดใหญ่และซีสต์เล็กๆ จำนวนมากอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ

 

โดยขนาดซีสต์วัดได้ประมาณ 10 × 11 × 12 ซม. ผ่าออกมามีซีสต์เล็กๆ จำนวนมากกว่า 200 ซีสต์ คุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจโตจากถุงซีสต์ตัวอ่อนพยาธิตืดสุนัข หรือ intrapericardial echinococcosis

 

ทั้งนี้ โรคพยาธิไฮดาติด เกิดจากพยาธิตืด Echinococcuss พบรายงานในหลายพื้นที่ทั่วโลก ผู้ติดเชื้อนี้ราวๆ 1 ล้านคน เสียชีวิตของผู้ป่วยประมาณ 1,200 ราย อุบัติการณ์ของโรคเริ่มลดน้อยลงในปัจจุบัน

 

- สาเหตุของการติดเชื้อนั้น เกิดจากการกินอาหารหรือ น้ำที่มีไข่ของพยาธิปะปนอยู่ หรือการอยู่ใกล้หรือสัมผัส คลุกคลีกับสุนัขที่ติดเชื้อ

 

- อาการ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เริ่มแรกจะไม่แสดงอาการและอาจไม่มีอาการนานร่วมปี อาการที่เกิดขึ้นมักขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของถุงซิสต์ เช่น ตับ ผู้ป่วยมักมีการปวดท้อง น้ำหนักลด และตัวเหลือง การติดเชื้อที่ปอด อาจมีอาการปวดที่บริเวณหน้าอก หายใจถี่ และการไอ

 

- การรักษา โดยการผ่าเอาถุงซิสต์ออกแล้วตามด้วยการให้ยา อาทิ อัลเบนดาโซล 

 

- การป้องกัน รักษาสุนัข แกะ โดยให้ยาถ่ายพยาธิเป็นประจำ รักษาสุขวิทยาส่วนบุคลเมื่อคลุกคลีกับสุนัข รับประทานผัก อาหาร น้ำที่สะอาด

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณเพจ PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี