"วิชา"เผย คดีบอส "คนในกระบวน ยธ.-ขรก.ระดับชาติ" สมคบคิดช่วยผู้กระทำผิด
"วิชา มหาคุณ" ถอดบทเรียน "คดีบอส อยู่วิทยา" กับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เผย "คนในกระบวน ยธ.-ขรก.ระดับชาติ" สมคบคิดช่วยผู้ทำผิด
วันที่ 23 กันยายน มหาวิทยาลัยรังสิตจัดงานเสวนาถอดบทเรียนเกี่ยวกับคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ขับรถชน ดต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ถึงแก่ความตาย ซึ่งมีศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นองค์ปาฐก
โดยอาจารย์วิชา มองว่า คดีนี้มีปัญหาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ชั้นตำรวจ ทนายความและพนักงานอัยการ ซึ่งผลของการตรวจสอบของคณะทำงานได้ส่งให้นายกรัฐมนตรีและสำนักงานป.ป.ท. เพื่อเป็นตัวกลางในการส่งมอบให้ 5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปตรวจสอบต่อและในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เป็นผู้ติดตามความคืบหน้าทุก ๆ 7 วันด้วย
การถอดบทเรียนกระบวนการยุติธรรมกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เปิดเผยว่า วันนี้ได้นำบทเรียนจากคดีการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต มาถอดบทเรียน เนื่องจากพบว่าคดีนี้กระบวนการยุติธรรมมีปัญหา นั่นคือปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” ในความยุติธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
อาจารย์วิชา ยังบอกอีกว่า เมื่อได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ตรวจสอบคดีนี้ ก็พบว่า ”ตัวบุคคล” มีปัญหา เริ่มตั้งแต่ทนายความ การทำงานในกระบวนการยุติธรรม ต้องใช้คนที่มีจิตใจสูงกว่าปกติ ไม่มีมโนสำนึก ไม่เสียสละ ไม่อุทิศตน ไม่สามารถทำงานในกระบวนการยุติธรรมได้ เนื่องจากจะต้องพบกับปัญหาคอร์รัปชั่น
"คดีนายวรยุทธ พบว่าบุคคลในกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ อัยการ ทนายความล้วนแต่รู้เห็นเป็นใจ สมคบคิดกันเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิด ประกอบกับนายวรยุทธ ไม่ยอมเผชิญหน้ากับความจริง โดยไม่ยอมขึ้นศาล พยายามตัดตอนให้จบแค่พนักงานอัยการเท่านั้น เพราะคิดว่าความยุติธรรมซื้อได้ และคดีนี้ยังมีความทุจริตที่เกิดจากจุดที่อ่อนแอที่สุด
นั่นคือ “ตำรวจ” เห็นได้จากระบบอุปถัมป์ภายในองค์กร การเข้ามาทำงานในหน้านี้ไม่ได้มาจากความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง แต่มาจากซื้อตำแหน่ง จึงทำให้เกิดความเกรงใจกันและนำไปสู่ความเสื่อมในองค์กร "
นอกจากนี้อาจารย์วิชา ยังพบว่าคดีนี้ยังมี “ความล่าช้า” นั่นคือความ “ไม่ยุติธรรม” / คดีบอสเกิดขึ้นมาแล้ว 8 ปี แต่ยังไม่สามารถนำตัวมาส่งฟ้องได้ อยู่ที่ตำรวจ 1 เดือน ร้องขอ
ความเป็นธรรม 14 ครั้ง รวมเวลาทั้งหมดเกือบ 8 ปี จึงทำให้เกิดการแทรกแซงภายนอกและเกิดการทุจริตเกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา ส่วนหนึ่งคือกระบวนการในการสืบสวนสอบ
สวนต้องถูกเปิดเผยทั้งในด้านดีและด้านร้าย เพื่อเป็นประโยชน์ทางคดีอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม แต่ในคดีนายวรยุทธ ไม่เคยถูกเปิดเผยจนกระทั่งสำนักงานข่าว CNN
รายงานว่าคดีนี้สั่งไม่ฟ้อง
อาจารย์วิชา ยังมองถึงเรื่องการใช้ดุลยพินิจของพนักงานอัยการที่ต้องอยู่บนรากฐาน และอยู่ในในกรอบของความสมเหตุสมผลไม่ว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ก็ตาม
ปัญหาการมอบอำนาจตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่พบว่าเป็นปัญหาทุกเรื่องรวมถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างกรณีนี้เกิดขึ้นกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่มอบอำนาจขาด
ให้กับผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวมถึงอัยการสูงสุดที่มอบอำนาจขาดให้กับรองอัยการสูงสุด จึงทำให้เปิดช่องให้รองอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องหลังจากมีการร้องขอความ
เป็นธรรมถึง 14 ครั้ง
นอกจากนี้ยังพบว่ามีข้าราชการระดับชาติสมคบคิดรู้เห็นเป็นใจกัน นั่นคือหน่วยงานระดับ สนช. อาจารย์วิชา จึงอยากให้มีการแก้ไขทั้งระบบ โดยเริ่มจากคนที่ต้องมีคุณภาพมากขึ้น
ระบบให้มีความละเอียดรอบคอบ ให้มีการถ่วงดุลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อาจารย์วิชา ยังทิ้งท้ายว่า หลักประมวลกฎหมายอาญาในประเทศไทย ถือว่าดีและไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ที่มีปัญหาคือบุคคลที่ใช้กฎหมายที่ขาดความรู้ ขาดศีลธรรม
หลังจากการเสวนา อาจารย์วิชา ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยเปิดเผยความคืบหน้าการตรวจสอบคดีนายวรยุทธ ว่าขณะนี้นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้ ซึ่งล่าสุดเอกสารการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมออยู่ที่สำนักงาน ป.ป.ท. ที่อยู่ระหว่างการส่งไปให้ประธานคณะกรรมการ
อัยการให้ดำเนินการตรวจสอบการทำหน้าที่ของอัยการที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ นอกจากนี้ยังประสานเลขาธิการ ป.ป.ท.ให้ส่งเอกสารทั้งหมดไปให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ
สำนักงาน ป.ป.ช. ที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ และกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ดำเนินการตรวจสอบบุคคลที่ไม่ใช้เจ้าหน้าที่รัฐอย่างเช่น นักวิชาการที่มาคำนวณความเร็วรถ
ยนต์ของนายวรยุทธในวันเกิดเหตุ
นอกจากนี้อาจารย์วิชา ยังเสนอให้กลไกรัฐสภาผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับการปฏิรูปตำรวจ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าพนักงานสอบสวนและวงการตำรวจ
ถูกแทรกแซงมากที่สุด โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาที่สามารถแทรกแซงพนักงานสอบสวนได้ โดยเสนอให้พนักงานสอบสวนต้องขึ้นตรงกับหน่วยงานเฉพาะหรือขึ้นตรงกับผู้บัญชาการ
สอบสวน