ข่าว

ศาลฎีกานักการเมือง พิพากษา  จำคุก"วัฒนา" -"เสี่ยเปี๋ยง" คดีบ้านเอื้ออาทร คนละ 50 ปี

ศาลฎีกานักการเมือง พิพากษา จำคุก"วัฒนา" -"เสี่ยเปี๋ยง" คดีบ้านเอื้ออาทร คนละ 50 ปี

24 ก.ย. 2563

ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษา จำคุก"วัฒนา เมืองสุข" อดีต รมว.พัฒนาสังคมฯและเสี่ยเปี๋ยง "คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร" คนละ 50 ปี พร้อมกับสั่งริบทรัพย์สิน"วัฒนา" และเสี่ยเปี๋ยง คนละกว่า 1,323ล้านบาท ตามความผิด ม.148- จำคุก"อริสมันต์" 4 ปี ริบทรัพย์ 40 ล้าน

วันที่ 24 ก.ย. 63 เวลา 11.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำพิพากษา คดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ยุค"รัฐบาลทักษิณ 2 "สมาชิกพรรคเพื่อไทย กับพวกรวม 14 คน ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์ตามป.อาญาม.148 กับเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ม.157 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ


 

 โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายวัฒนาในฐานะรัฐมนตรีพม.มีหน้าที่กำกับดูแลรับผิดชอบกิจการการเคหะ มีอำนาจสั่งการให้การเคหะชี้แจง หรือยับยับในการดำเนินการตามมติ ครม.หรือนโยบายรัฐบาล และนายวัฒนาได้สั่งการให้กำหนดแนวทางการจัดทำบ้านเอื้ออาทร โดยให้ผู้ประกอบการที่ยื่นโครงการแล้วยังไม่ได้รับการอนุมัติจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของการเคหะตามหลักเกณฑ์ ดังนั้นจึงฟังไม่ขึ้นว่าไม่มีอำนาจหน้าที่
  และ
นายวัฒนา ให้ความสนใจในการติดตามกำกับดูแลโครงการ ดังนั้นน่าจะรับรู้ รู้เห็นเป็นใจในการเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ และการที่นายวัฒนาปล่อยให้จำเลยที่ 4 คือ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง นักธุรกิจค้าข้าวรายใหญ่ แสดงตนเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีนั้น พฤติการณ์ดังกล่ามีเจตนาเป็นการเอื้ออำนวยให้ เสี่ยเปี๋ยง กับพวก แสงงหาผลประโยชน์โดยอ้างชื่อของนายวัฒนา ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และพฤติการณ์ของนายวัฒนา เป็นการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการการนำเงินมาให้ล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียกรับเงินและเพิ่มจำนวนเงินเพื่อให้ได้รับการอนุมัติหน่วยก่อสร้างด้วย แม้ทางการเงินจะไม่มีความเชื่อมโยงหรือจะได้รับเงินหรือไม่ก็ตาม ไม่ใช่สาระสำคัญ 
ทั้งนี้ ศาลมีมติเสียงข้างมากว่าการกระทำมีลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำในการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการแต่ละราย พิพากษาจำคุก ‘วัฒนา เมืองสุข’ อดีต รมว.พม. คดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร 99ปี แต่ให้คงจำคุกสูงสุด50ปี สั่งริบทรัพย์สินกว่า 1,323ล้านบาท ตามความผิด ม.148 
 ส่วนความผิดตาม ม.157เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที้โดยมิชอบ ศาลเห็นว่าพยานโจทย์ยัมีความเห็นที่แตกต่างกันในข้อดีและข้อเสียของก่ีใช้อำนาจแทรกแซง ทำให้รับฟังไม่ได้ว่ามีการแทรกแซงเกิดขึ้นจึงยกฟ้องในข้อหานี้

ส่วนจำเลยที่ 4 คือ นายอภิชาติ  จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง นักธุรกิจค้าข้าวรายใหญ่ ศาลพิพากษาจำคุก66ปี คงจำคุกสูงสุด50ปี ริบทรัพย์รวมจำนวนเดียวกับนายวัฒนา 1,323ล้านบาท โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า" เสี่ยเปี๋ยง" เป็นตัวกลางในการรีดเงินจากผู้ประกอบการรายใหญ่ และการกระทำความผิดมีลักษณะเป็นกระบวนการ 
ส่วนจำเลยที่ 5 คือ น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง ลูกน้องคนสนิทเสี่ยเปี๋ยง มีพฤติการณ์ร่วมกันกระทำความผิดกับเสี่ยงเปี๋ยง เพื่อเรียกรับเงิน ลงโทษจำคุก 20ปี ริบทรัพย์ 763ล้านบาท

 รวมถึงจำเลยที่ 6 คือ น.ส.กรองทอง วงศ์แก้ว พนักงาน บจก.เพรซิเดนท์อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด มีส่วนสำคัญในการทำให้การเรียกรับเงินสำเร็จลุล่วงโดยอ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลักดันโครงการ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นรวมถึงการติดตามทวงถามรับเช็คเช่นเดียวกับจำเลยที่ 5 ลงโทษจำคุก44ปี ริบทรัพย์รวมจำนวนเดียวกับนายวัฒนาคือ 1323ล้านบาท
 ส่วนจำเลยที่ 7 คือ น.ส.รุ่งเรือง ขุนปัญญา พนักงาน บจก.เพรซิเดนท์ฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับเงินจากผู้ประกอบการ ร่วมกระทำความผิดกับเสี่ยเปี๋ยง ลงโทษจำคุก 32ปี ริบทรัพย์ 1056ล้านบาท
  ขณะที่จำเลยที่ 8 คือ บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด โดยนายปกรณ์ อัศวีนารักษ์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ถือเป็นนิติบุคคล เมื่อเสี่ยงเปี๋ยง เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการและเมื่อได้เงินมานำไปให้กับนางสาวกริงทอ และนางสาวรุ่งเรือง และนำเงินไปเข้าบริษัท จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิด ลงโทษปรับ 275,000บาท
  จำเลยที่ 10 คือ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง หรือกี้ร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย, เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดเช่นกัน ลงโทษจำคุก 4ปี ริบทรัพย์ 40ล้านบาท
   โดยทั้งหมดจะต้องชำระทรัพย์สินคืนภายใน30วัน หากเกินกว่ากำหนดจะต้องชำระดอกเบี้ย7.5%ต่อปีจนกว่าจะจชำระหมด

  ส่วนจำเลยที่ 2 คือ นายมานะ วงศ์พิวัฒน์ อดีตบอร์ด กคช. และอดีตประธานอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการระหว่างวันที่ 9 ก.ย. 2548-19 ก.ย. 2549, จำเลยที่ 3 คือนายพรพรหม วงศ์พิวัฒน์ อดีต ผอ.ฝ่ายการเงิน บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจก่อสร้างที่พักอาศัย, ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยตรง
  ส่วนจำเลยที่ 9 คือ บริษัท ซิลเวอร์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ไทย เฉน หยู อินเตอร์เนชั่นแนลคอนสตรัคชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด) โดยนางพิมพ์วรา รัชต์ธนโรจน์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน และจำเลยที่ 11-14 คือ บริษัท พาสทิญ่าไทย จำกัด, บริษัท นามแฟทท์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย, บริษัท พรินซิพเทค ไทย จำกัด ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง และ น.ส.สุภาวิดา คงสุข กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน บริษัท ไทยเฉนหยูฯ   เป็นผู้ถูกกระทำข่มขืนใจ หรือถูกจูงใจ ไม่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตาม ม.148 มติเสียงข้างมากพิพากษายกฟ้อง

 นอกจากนี้ศาลยังสั่งให้ออกหมายจับ นางสาวกรองทอง จำเลยที่6 /นางสาวรุ่งเรืองจำเลยที่ 7 และนายอริสมันต์ จำเลยที่ 10 เนื่องจากไม่มาฟังคำพิพากษาและไม่มีทนายมาเป็นตัวแทน

อย่างไรก็ตามแม้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษา  คู่ความยังสามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 60 ให้สิทธิคู่ความยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วันนับแต่วันมีคำพิพากษา

  ทั้งนี้นายวัฒนาและพวก อยู่ระหว่างการยื่นประกันตัว เพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์