ข่าว

"เถ้าแก่น้อย" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

"เถ้าแก่น้อย" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

26 ก.ย. 2563

ถอดรหัสความปังปุริเย่ 'เถ้าแก่น้อย' ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 

“ถ้าสาหร่ายต้องเถ้าแก่น้อย” สโลแกนแบรนด์ ที่ใครหลายคนต้องเคยได้ยิน แต่ปัจจุบันแบรนด์เถ้าแก่น้อยเป็นแบรนด์ที่ขยายธุรกิจและขยายกลุ่มสินค้าไปไกลมากว่าสาหร่าย จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ ต๊อบ ผู้กุมบังเหียนแบรนด์เถ้าแก่น้อย ตั้งแต่ก่อตั้งสู่การเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับทั้งจากคนไทยและชาวต่างชาติ ในฐานะอาณาจักร “เถ้าแก่น้อย” จนปัจจุบันขึ้นสู่การเป็น Brand Love ของใครหลายคน ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องรสชาติที่มีความอร่อยถูกปาก แต่เถ้าแก่น้อยยังเป็น  role model ในการทำธุรกิจให้กับหลายแบรนด์ และใครหลายคน แถมยังขยายตลาดไปแล้วกว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดย คุณต๊อบ อิทธิพัทธ์ เคยพูดไว้เสมอว่า “ถึงเราจะไม่ใช่แบรนด์แรกที่เข้ามาในตลาด แต่เราต้องเป็นแบรนด์แรกที่เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคให้ได้” วันนี้เราจะมาถอดรหัสความปังปุริเย่! ของ ‘เถ้าแก่น้อย’ จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่การเป็นสุดยอดผู้นำแบรนด์ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา    ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 

\"เถ้าแก่น้อย\" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 


ภาพจำของแบรนด์ เท่ากับ Brand Character 
แน่นอนว่าการสร้าง Brand Character เป็นไม้แรกของการสื่อสาร ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสถึงตัวตนของสินค้าโดยไม่ต้องอธิบาย ตราสินค้าของเถ้าแก่น้อย ได้ใช้การวาดคาแรคเตอร์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะหลักๆอยู่  3 จุด คือ

1.ใบหน้าเด็กยิ้มแย้ม ที่บ่งบอกถึงความสดใสร่าเริง สุขภาพดี และมีความเป็นมิตร

2.ชุดสีแดงสื่อถึงสัญลักษณ์ของความโชคดี

3.อิริยาบถ ในท่าคำนับ แสดงถึงความนับถือ อ่อนน้อม ขอบคุณต่อผู้พบเห็น สิ่งนี้กลายเป็นภาพจำของแบรนด์ และสร้าง First Impression ตั้งแต่แรก

 

 

\"เถ้าแก่น้อย\" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 


เมื่อผู้บริโภคมีพฤติกรรมและความต้องการที่ต่างกัน 
สู่การต่อยอดแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

จากจุดเริ่มต้นแบรนด์เถ้าแก่น้อย มุ่งออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นขนมขบเคี้ยวจัดอยู่ในประเภทสาหร่าย พร้อมออกสโลแกน “ถ้าสาหร่ายต้องเถ้าแก่น้อย” เป็นการวางแผนที่ต้องการให้คำว่า “เถ้าแก่น้อย” กลายเป็น Generic Name แทนคำว่า “สาหร่าย” และเพื่อเป็นการต่อยอดสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนให้กับแบรนด์ เถ้าแก่น้อยจึงเลือกใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจ โดยการทำ Line Extension  และ Brand Extension ภายใต้ภายใต้ Umbrella Brand เถ้าแก่น้อย

 

 

\"เถ้าแก่น้อย\" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 


•Line Extension เถ้าแก่น้อยได้มีการขยายสายผลิตภัณฑ์สาหร่าย โดยการออก Sub-Brand เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคมีความหลากหลาย มีไลฟ์สไตล์ ความชอบ และพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกันไป เช่น แบรนด์ตราเถ้าแก่น้อย(Taokaenoi) สาหร่ายทอดสำหรับผู้บริโภคที่ชื่นชอบรูปแบบการกินแบบดั้งเดิม แบรนด์เถ้าแก่น้อย บิ๊กโรลและฟิงเกอร์โรล (Taokaenoi Big Roll & Finger Roll) สาหร่ายย่างม้วนโรล สำหรับผู้บริโภคชอบทานกรอบ ไม่เลอะมือ เพิ่มความสนุกในการทาน และเถ้าแก่น้อยยังได้ขยายฐานลูกค้า สำหรับคนรักสุขภาพด้วย แบรนด์เถ้าแก่น้อย กู้ดเดย์ (Taokaenoi Good Day) ผ่านสโลแกน “โซเดียมต่ำ ทุกคำอร่อย” เป็นต้น โดยแต่ละ Sub-Brand ยังได้พัฒนาสินค้ารสชาติใหม่ๆ ให้ติดตามอยู่สม่ำเสมอ

 

\"เถ้าแก่น้อย\" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 


•Brand Extension เถ้าแก่น้อยยังได้มีการขยายแบรนด์ด้วยการข้ามผ่านผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่สาหร่าย หรือจัดอยู่ในประเภท Non-Seaweed เช่น แบรนด์เถ้าแก่น้อย ทินเทน และ ทินเทนโรล (Taokaenoi TinTen & TinTen Roll) ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึก (Cuttlefish) แบรนด์เถ้าแก่น้อย โคบุค (Taokaenoi Kobuk) และ แบรนด์เถ้าแก่น้อย คอร์นวอร์ (Taokaenoi Corn War) ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดอบกรอบ นอกจากนี้เถ้าแก่น้อยยังใช้แบรนด์เถ้าแก่น้อยขยายไปยังกลุ่มสินค้าอีกมากมาย เช่น นมอัดเม็ด ผลไม้อบแห้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และเป็นการสร้างการจดจำให้กับแบรนด์

 

 

\"เถ้าแก่น้อย\" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 


ดันแบรนด์เถ้าแก่น้อยเป็น Brand Love สู่โกอินเตอร์
หนึ่งในกลยุทธ์ ของเถ้าแก่น้อย ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง คือการเลือกใช้กลยุทธ์ Idol Marketing ได้สำเร็จเป็นเบอร์ต้นๆ ของประเทศไทย การเลือกใช้เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียง ทำให้แบรนด์เถ้าแก่น้อย ขึ้นแท่น Top Trend  ทรนด์ทวิตเตอร์ อันดับหนึ่งทั้งในไทยและขึ้นเทรนโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น การร่วมงานพรีเซ็นเตอร์ กับศิลปินเกาหลีและศิลปินไทย เช่น เซฮุน สมาชิกวง EXO, F4, GOT7, 2PM, SBFIVE เป็นต้น รวมถึงกาสนับสนุนงานกิจกรรมศิลปิน อย่าง BlackPink, Nu’Est, Kang Daniel เป็นต้น นอกจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ และตอกย้ำความ โกอินเตอร์ให้กับแบรนด์แล้ว เถ้าแก่น้อยยังไม่ลืมที่จะนำ LOGO หรือ Mascot มา Endorse ร่วมกับศิลปิน เพื่อเป็นกาตอกย้ำแบรนด์และสร้าง Customer Engagement ที่ดีระหว่างลูกค้า ศิลปินและแบรนด์เถ้าแก่น้อยอีกด้วย

 

\"เถ้าแก่น้อย\" ขึ้นแท่นสุดยอดแบรนด์ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าแบรนด์มูลค่านับหมื่นล้าน

 


เมื่อแบรนด์สตรอง ถึงโอกาสขยายธุรกิจสู่ระดับสากล
จากความแข็งแกร่งของแบรนด์เถ้าแก่น้อย ยังได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจ จากกลุ่มนักลงทุนในการร่วมลงทุน จากประเทศต่างๆ รวมถึงได้รับการยอมรับในการ Co-Brand กับแบรนด์ดังระดับสากล เพื่อต่อยอดการพัฒนาสินค้าใหม่ การขยายกลุ่มลูกค้าและการช่องทางจำหน่ายในไทยและต่างประเทศ เช่น Taokaenoi x Pringles, Taokaenoi x Glico รวมถึงการนำแบรนด์คาแร็กเตอร์เถ้าแก่น้อย ร่วมกับ คาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงระดับสากล เช่น  Taokaenoi x HelloKitty, Taokaenoi x Onepiece เป็นต้น

 

เมื่อแบรนด์คือสินทรัพย์ของบริษัท การปกป้องแบรนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
จากแผนกลยุทธ์ ในการสร้างรากฐานแบรนด์ที่มั่นคง สู่ความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ปั้นจน ตราสินค้าเถ้าแก่น้อย เป็นแบรนด์สินค้าไทยคุณภาพเป็นที่ยอมรับและรู้จักในระดับสากล เครื่องหมายการค้าจึงเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสำคัญของทางบริษัท เพื่อเป็นการปกป้องเครื่องหมายการค้าเถ้าแก่น้อย ทางบริษัทเถ้าแก่น้อยได้มีการผลักดันให้มีการจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ครอบคลุมในหลายประเทศทั่วโลกทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน พร้อมมีทีม เถ้าแก่น้อยและตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง คอยติดตาม เฝ้าระวังการถูกละเมิดสิทธิ์เครื่องหมายทางการค้าทั้งในไทยและต่างประเทศ  จึงทำให้เถ้าแก่น้อยได้ขึ้นเป็นสุดยอดแบรนด์การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา จนได้รับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจดีเด่น ด้านการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (IP Champion) ประจำปี 2563 สาขาเครื่องหมายการค้า จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์