ข่าว

"เพื่อไทย"สอนมวย "บิ๊กตู่" หากจะกระตุ้นท่องเที่ยว ต้องสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวก่อนออกมาตรการ

"เพื่อไทย"สอนมวย "บิ๊กตู่" หากจะกระตุ้นท่องเที่ยว ต้องสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวก่อนออกมาตรการ

25 ต.ค. 2563

"เพื่อไทย"สอนมวย "บิ๊กตู่" หากจะกระตุ้นท่องเที่ยว ต้องสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวก่อนออกมาตรการ ชี้ มาตรการรัฐล้มเหลว แนะ ต้องช่วยผู้ประกอบการให้เท่าเทียม  

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563 นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส. เชียงใหม่ ที่ปรึกษากมธ. การท่องเที่ยว คณะทำงานทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย  กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยว จะดีกว่าในช่วงตอนที่มี covid-19 แต่ก็ไม่ได้ฟื้นขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญมากนัก เช่นอัตราการเข้าพักโรงแรมทั้งประเทศ มีไม่ถึง 4 จังหวัด ที่อัตราการเข้าพักเกิน 50% ซึ่งเป็นข้อมูลจาก SCB Economic Intelligence Center (SCBEIC) 

อีกข้อมูลที่น่าสนใจ คือ มีจำนวนเม็ดเงินมหาศาล ที่เตรียมพร้อมที่จะใช้ในประเทศ ได้แก่ คนไทยที่ไปเที่ยวต่างประเทศ จำนวน 10 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่คนไทยที่ไม่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศนี้ คิดเป็นเม็ดเงินนี้เป็นเม็ดเงินมหาศาล ที่ทางรัฐต้องเตรียมตัวรองรับเม็ดเงินเหล่านี้ ซึ่งคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 3.9 แสนล้านบาท ที่เม็ดเงินเหล่านี้ยังคงจะกระจายอยู่ในประเทศไทย 

ตราบใดที่สถานการณ์ของ covid-19 ยังไม่ดีขึ้น และการเดินทางระหว่างประเทศยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ เช่น ไปเที่ยวประเทศต่าง ๆ นอกประเทศไทยได้โดยที่ยังไม่มีการกักตัว
จากการสำรวจผ่านเว็บ แอปเปิ้ลโมบิลิตี้ที่เป็นรายงานการใช้แอปเปิ้ลแมฟในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2563 ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เชียงใหม่, ภูเก็ต, กระบี่, พังงา, สุราษฏร์ธานี 

ซึ่งพบว่า อัตราการใช้งานแผนที่ จะใช้งานเยอะ ในช่วงวันหยุดยาว ในช่วง กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ก็ต้องจับตามองยอดการใช้งานแผนที่ต่อไป ว่าจะเกิดการใช้งานเยอะ ๆ เหมือนในช่วงหยุดยาวเมื่อสามเดือนที่ผ่านมาหรือไม่ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ได้ดีกว่า ถ้ายอดการใช้งานน้อยลง นั่นหมายถึงการท่องเที่ยวน้อยลง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ประชาชนเก็บเงินทริปหยุดยาวในตุลาคมไว้ เพื่อไปใช้จ่ายในหยุดยาวสิ้นปีนี้ หรือไม่ก็การกระตุ้นจากรัฐบาลที่ผู้จะเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ต้องดำเนินการผ่านมือถือเพียงช่องทางเดียวกันนั้นอาจไม่ได้ผล 

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่สำรวจกับประชากร ที่ข้อมูลออกมาว่า “กรุงเทพโพลล์” เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของภาครัฐ” เก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,226 คน ทั้งนี้เมื่อถามถึง มาตรการช่วยเหลือกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของรัฐที่คาดว่าจะได้ใช้ในช่วงเที่ยวปลายปีพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 70.5 ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการใดเลย และเมื่อถามว่า “มาตรการช่ วยเหลือของภาครัฐบางมาตรการ ต้องใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง ท่านพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้ในการใช้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 พร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้ ขณะที่ร้อยละ 49.5 ไม่พร้อมที่จะปรับตัวโดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่ายุ่งยาก สะดวกใช้เงินสดมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 77.9

อีกหนึ่งสิ่งที่ทางรัฐต้องเตรียมความพร้อมโดยเร่งด่วนนั่นคือ การใช้เทคโนโลยีในการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว ที่ได้จากงานสำรวจ หรือ จากพฤติกรรมการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว เช่น พฤติกรรมนักท่องเที่ยว คาดหวัง จะมาเที่ยวสิ่งที่เป็นธรรมชาติ นั่นเพราะช่วง covid-19 ทุกคนต้องอยู่บ้าน ที่มีสภาพแวดล้อมเดียวเป็นเวลาแรมเดือน ดังนั้น หากมีโอกาสท่องเที่ยว ก็จะเลือกท่องเที่ยวที่ป่าเขา ธรรมชาติ เป็นหลัก หรือแม้กระทั่ง สถานที่ท่องเที่ยว ที่มีการให้บริการการชม การโชว์ หรือทำกิจกรรมร่วมกับสัตว์ ซึ่งข้อมูลนี้ สอดคล้องกับข้อมูลจากผู้ให้บริการสืบค้นหาการท่องเที่ยว เช่นกลุ่มงานค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยว ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกของกูเกิ้ลกล่าวว่าสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้รับความนิยมมากขึ้น จากการสำรวจในกูเกิ้ลคอนซูมเมอร์เซอเวย์เนื่องจากนักท่องเที่ยวต้องการเดินเที่ยวชมธรรมชาติ หรือ เดินป่าระยะไกลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวไทยค้นหา ได้แก่สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ สอดคล้องกับบุ๊คกิ้งดอทคอมเช่นเดียวกัน ที่ผลสำรวจออกมาว่า นักท่องเที่ยว ต้องการท่องเที่ยวธรรมชาติมากขึ้น และเกิดคำศัพท์การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน แบบทำไป เที่ยวไป หรือ Workation เกิดขึ้น นั่นคือ คนที่มีความพร้อม เริ่มไม่ เวริ์คฟอมโฮม (ทำงานจากที่บ้าน) แต่จะ ทำงานไปในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติแทน

ดังนั้น รัฐต้องทราบถึงความต้องการของนักท่องเที่ยวผ่านการค้นหาและวิจัย ว่าเม็ดเงินใหญ่ ๆ จะลงไปตรงไหน และ เทรนด์การท่องเที่ยวตอนนี้จะไปอยู่ที่จะใด และจุดใดที่เม็ดเงินจะขาดหายไป เช่น แทบจะไม่มีการค้นหาแหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองเลย
รัฐต้องกระตุ้น จูงใจ ให้มีการท่องเที่ยวแบบกระจายรายได้ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวมากขึ้น ในสองประเด็นหลัก

1) ประเด็นความเหลื่อมล้ำโรงแรมนอกตัวเมือง โรงแรมในตัวมือง การออกมาตรการจูงใจ ให้คนจองโรงแรม ในเขตเมือง ในอัตราส่วนเท่ากับเที่ยวในโรงแรมนอกเมือง เช่น เที่ยวโรงแรมเขตนอกเมือง 2 วัน เที่ยวโรงแรมในเขตเมือง 2 วัน หรือออกเป็นเพคเกจโปรโมชั่นจองโรงแรมตามในลิส (โรงแรมในตัวเมือง + โรงแรมนอกตัวเมือง) ตามความเหมาะสมในแต่ละจังหวัด แล้วได้รับส่วนลดเพิ่มเติม เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นในเขตตัวเมือง มิเช่นนั้น ตัวเมืองของแต่ละจังหวัดในประเทศไทย จะเป็นได้แค่ทางผ่านในวันสุดท้าย ก่อนที่จะไปสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องในตอนเย็น หรือ ตอนกลางคืน ซึ่งจะไม่ทำให้เม็ดเงินเข้ามาสู่โรงแรมในตัวเมืองเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลายข่าวที่ผ่านมา 

2) ประเด็นความเหลื่อมล้ำ โรงแรม 1-2 ดาว ที่แทบไม่มีคนเข้าพักเลย เพราะโรงแรม 3-5 ดาว ลดราคาเยอะมาก ซึ่งทางรัฐก็ควรจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อจูงให้ให้คนเข้ามาพักโรงแรม 1-2 ดาวเพื่อกระจายรายได้เช่นเดียวกันโดยที่ไม่กระทบโรงแรม 3-5 ดาวด้วย เช่นการออกโปรโมชั่นการจองโรงแรมแบบควบรวมในทริป เช่นจองพักทั้งโรงแรม 3-5 ดาว และ โรงแรม 1-2 ดาว ในทริปนั้น ก็จะได้รับส่วนลดเพิ่ม เป็นต้น

ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลได้ศึกษาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงมาตรการ อีกทั้งอยากให้รัฐบาลเตรียมรับมือกับคนที่ตกงานจากธุรกิจท่องเที่ยวที่ซบเซาที่จะมีจำนวนเป็นล้านคน ที่อาจจะไม่พอใจรัฐบาล และไปร่วมการชุมนุมกันมากขึ้นได้

ดีลราคา 11 บาท รับคูปองส่วนลด11% ส่งฟรีทั่วไทย ช้อปเลย..

\"เพื่อไทย\"สอนมวย \"บิ๊กตู่\" หากจะกระตุ้นท่องเที่ยว ต้องสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวก่อนออกมาตรการ