ข่าว

วช.ผนึก ม.หัวเฉียวสัมมนาความสัมพันธ์ทูตไทย - จีน ปันประสบการณ์และสานความร่วมมืออนาคต 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผนึกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดสัมมนาออนไลน์"ความสัมพันธ์ทูตไทย – จีน 45 ปี แบ่งปันประสบการณ์และสานความร่วมมือในอนาคต" ตั้งเป้าหมายสู่การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองประเทศ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผนึกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดสัมมนาออนไลน์”ความสัมพันธ์ทูตไทย – จีน 45 ปี แบ่งปันประสบการณ์และสานความร่วมมือในอนาคต” ตั้งเป้าหมายสู่การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองประเทศ สนับสนุนการทำวิจัยในประเด็นที่คล้ายคลึงหรือเชื่อมโยงกันและนำองค์ความรู้ไปจัดทำยุทธศาสตร์หรือนโยบายต่อไป 
เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.63 เวลา 09.00 น. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นเจ้าภาพฝ่ายไทยจัดการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 9 ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความสัมพันธ์การทูตไทย – จีน 45 ปี : การแบ่งปันประสบการณ์และความร่วมมือในอนาคต” (45th Year of Thai – Chinese Diplomatic Relation : Sharing Experiences and Future Coorperation) ร่วมกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Huaqiao University : HQU) ระหว่างวันที่ 8 - 9 ธันวาคม 2563 ณ ชลพฤกษ์รีสอร์ท อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยมี นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และรศ.ดร.โภคิณ พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย – จีน กล่าวต้อนรับ และเปิดงานโดย นายสมปอง สงวนบรรพ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และศาสตราจารย์เจิ้ง หลู (Zeng Lu) รองประธานมหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวเปิดงาน      
 

                        วช.ผนึก ม.หัวเฉียวสัมมนาความสัมพันธ์ทูตไทย - จีน ปันประสบการณ์และสานความร่วมมืออนาคต 

                                                      สมปอง สงวนบรรพ์ ที่ปรึกษากระทรวงอว.

นายสมปอง สงวนบรรพ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานว่าการสัมมนาครั้งนี้นอกจากเพื่อให้มีความต่อเนื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ยาวนานต่อไปแล้ว ยังเป็นการทบทวนสิ่งที่ได้ร่วมมือกันมาและมองความร่วมมือกันต่อไปในอนาคตอีกด้วย 
 “ที่ผ่านมาการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน มีมาอย่างต่อเนื่องและรอบด้าน อย่างก่อนหน้าโควิด-19 ไม่เคยคิดหรอกว่าวันหนึ่งเราจะมาร่วมพัฒนาพัฒนาด้านสาธารณสุข คราวนี้ก็จะเด่นชัดมากขึ้น”
  ส่วนความร่วมมือในอนาคตนั้น นายสมปองระบุว่าคงต้องให้มีการขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งนักวิจัยในบ้านเรายังมีน้อย เมื่อเทียบกับนักวิจัยของจีน ซึ่งศ(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญและถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล
 “จีนคิดจะทำ เขาคิดระดับโลก ขณะที่ไทยคิดระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ส่วนวิธีการทำงาน จีนทำงานอย่างรวดเร็ว ขณะที่ของเรามีระบบราชการเป็นหลัก เป็นฐานของการพัฒนาประเทศ ระบบราชการยิ่งใหญ่ทำให้ช้า ที่ผ่านมา 45 ปีมีการปรับตัวเข้าหากัน อาจช้าบ้างแต่พื้นฐานความพันธ์เป็นร้อยเป็นพันปีก็จะช่วยได้”

                       วช.ผนึก ม.หัวเฉียวสัมมนาความสัมพันธ์ทูตไทย - จีน ปันประสบการณ์และสานความร่วมมืออนาคต 

                                              โภคิน พลกุล    นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
 

 รศ.ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย – จีน กล่าวว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญความสัมพันธ์ไทย-จีนเป็นพิเศษต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน  แต่ที่เป็นทางการ เพิ่งเริ่มต้นมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาแค่ 45 ปี  แม้ไม่นานนักแต่เอื้อประโยชน์สุขแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศ  
 “จีนเป็นประเทศใหญ่มีประชากรมากแต่มีความชัดเจนในเรื่องยุทธศาสตร์เรื่องแก้ปัญหาความจนแต่ไทยเป็นประเทศเล็กมีประชากรน้อยมีแผนยุทธศาสตร์เรื่องการแก้ปัญหาความจน ความเหลื่อมล้ำ แต่มันขึ้นๆลง  เช่น ความไม่ต่อเนื่องนโยบาย ความมุ่งมั่นของผู้นำประเทศ ความมุ่งมั่นของเจ้าหน้าที่ ลงไปดูแลค้นหาปัญหาและนำไปแก้ไขในเชิงภาพใหญ่และภาพย่อย จุดปัญหาของไทยคือไม่ต่อเนื่อง ความชัดเจนไม่เหมือนจีน ยังมีความผูกขาดของคนกลุ่มทุนใหญ่และทำให้การแบ่งปันทรัพยากร รายได้ กระจุกตัวไม่กระจาย และนับวันยิ่งหนักขึ้นเรื่อย ถ้าไม่แก้อนาคตจะมีปัญหามาก”นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย – จีนกล่าว 

         วช.ผนึก ม.หัวเฉียวสัมมนาความสัมพันธ์ทูตไทย - จีน ปันประสบการณ์และสานความร่วมมืออนาคต 
พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กล่าวว่า การสัมมนายุทธศาสตร์ไทย – จีน ที่จัดขึ้นครั้งนี้มีเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2555 เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการไทยและจีนได้พบปะและแลกเปลี่ยนผลงานวิชาการระหว่างกัน โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ  ซึ่งแต่ละปีมีการกำหนดหัวข้อหลักและรูปแบบการสัมมนาที่มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยในประเด็นสำคัญหรือประเด็นที่คาดการณ์ในอนาคต  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นไทย – จีน

       วช.ผนึก ม.หัวเฉียวสัมมนาความสัมพันธ์ทูตไทย - จีน ปันประสบการณ์และสานความร่วมมืออนาคต 
 สำหรับปีนี้ (พ.ศ.2563) ได้จัดสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ทำให้นักวิจัยฝ่ายจีนไม่สามารถเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ได้ โดยภายในการสัมมนาครั้งนี้ยังมีปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์จวง กั๋วถู (Zhuang Guotu) ประธานสมาคมจีนเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายสมปอง สงวนบรรพ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในหัวข้อเรื่อง “ความสัมพันธ์การทูตไทย – จีน 45 ปี : การแบ่งปันประสบการณ์และความร่วมมือในอนาคต” 
 นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการในหัวข้อต่าง ๆ เช่น มิติวัฒนธรรมกับความสัมพันธ์ในอนาคต การเรียนรู้จากจีนในด้านการขจัดความยากจน การพัฒนาอย่างยั่งยืน รูปแบบการพัฒนาของจีน ผลกระทบของสงครามการค้า (US vs China) : ไทย – จีน จะร่วมกันพัฒนาอย่างไร และพัฒนาการโครงการริเริ่มแถบและเส้นทาง ผ่านชาวจีนโพ้นทะเล

  โปรลาซาด้า

    วช.ผนึก ม.หัวเฉียวสัมมนาความสัมพันธ์ทูตไทย - จีน ปันประสบการณ์และสานความร่วมมืออนาคต 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ