ข่าว

สธ.แถลงโต้"ส.ส.วิโรจน์ ก้าวไกล"กางเอกสารบริษัทแอตราเซเนก้าเลือกไทย เป็น 1 ใน 60 บริษัททั่วโลกร่วมผลิต

สธ.แถลงโต้"ส.ส.วิโรจน์ ก้าวไกล"กางเอกสารบริษัทแอตราเซเนก้าเลือกไทย เป็น 1 ใน 60 บริษัททั่วโลกร่วมผลิต

17 ก.พ. 2564

สธ.แถลงโต้"วิโรจน์ ลักขณาอดิศร" ส.ส.ก้าวไกล กางเอกสารบริษัทแอตราเซเนก้าเลือกไทย เป็น 1 ใน 60 บริษัททั่วโลกร่วมผลิต ยันวัคซีนจากบริษัทแอตราเซเนก้ามีความเท่าเทียมกับวัคซีนยี่ห้ออื่น และไทยไม่จำเป็นต้องมีวัคซีนจากหลายบริษัท

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.2564 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าวชี้แจงกรณีวัคซีน หลังจากที่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.ก้าวไกล อภิปราย

โดยปลัดสธ. กล่าวยืนยันว่า ประเทศไทย เตรียมวัคซีนให้ครอบคลุม และได้สั่งจองไว้ถึง 63 ล้านโดส ที่จะฉีดให้ครบทั่วประเทศภายในปีนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิโรจน์'ซัดแหลก'ประยุทธ์- อนุทิน'บริหารแผนวัคซีนโควิดพลาด ล่าช้า เอาประชาชนไปกระจุกเสี่ยงจากวัคซีนแหล่งเดียว

ขณะที่ ผอ.สถาบันวัคซีน นำเอกสาร ซึ่งเป็นจดหมายจากบริษัทแอตราเซเนก้า ที่ประเมินความสามารถการผลิตวัคซีน และเลือกไทยเป็นหนึ่งใน 60 บริษัททั่วโลกร่วมผลิต พร้อมยืนยันได้ว่าวัคซีนจากบริษัทแอตราเซเนก้ามีความเท่าเทียมกับวัคซีนยี่ห้ออื่น และยืนยันได้ว่า ประเทศไทยมีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก และเราไม่จำเป็นต้องมีวัคซีนจากหลายบริษัท แต่ขอให้มีมากพอกับจำนวนคนในประเทศ โดย ผอ.สถาบันวัคซีน ระบุถึงเรื่องความเสี่ยงที่ต้องฉีดให้กับบุคคลสูงอายุว่ายึดตามหลักขององค์การอนามัยโลก ที่มีผลวิจัยยืนยันว่า วัคซีนแอตราเซเนก้าเหมาะกับผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งไทยยึดผลการวิจัยของหน่วยงานที่เป็นกลาง ที่ได้รับการยอมรับในสากลเท่านั้น

ด้านอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ภาพรวมการฉีควัคซีนให้แผนระยะที่ 2-3 ปรับรวมทำให้เร็วขึ้นได้ ระยะแรก วัคซีนเชื้อตายจากประเทศจีน จะมาภายในเดือนกุมภาพันธ์ และจะฉีดให้กับประชาชนในประเทศไทยทันที โดยกลุ่มแรกที่ฉีด จะเป็นพื้นที่เสี่ยง คือ สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล อาชีพเสี่ยง เช่น บุคคลากรทางการแพทย์ การวางแผนการฉีดวัคซีนให้บริการเจ็ดเดือนสาม 63,000,000 โด๊ส ซึ่งจะทำการฉีคในโรงพยาบาล 1,000 แห่ง แต่แห่งละฉีด 500 โด๊ส เป็นเวลา 20 วันต่อเดือน เฉลี่ยต่อเดือน 10 ล้านโด๊ส

พร้อมยืนยันประเทศไทย ยังควบคุมโรคได้ดี และการแพร่เชื้อของโรคต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ แต่ก็ยังคงต้องการวัคซีน เพื่อให้เกิดการคุ้มกัน