ข่าว

นิด้าโพลเผยผลสำรวจ ร้อยละ 52.67 ชี้ไม่ควรมีการลงโทษ ส.ส. โหวตสวนมติพรรค

นิด้าโพลเผยผลสำรวจ ร้อยละ 52.67 ชี้ไม่ควรมีการลงโทษ ส.ส. โหวตสวนมติพรรค

28 ก.พ. 2564

นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ลงโทษผู้โหวตสวนมติพรรคอย่างไรดี ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.67 ชี้ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในการแสดงความคิดเห็น

ศูนย์สํารวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสํารวจของประชาชน เรื่อง "ลงโทษผู้โหวตสวนมติพรรคอย่างไรดี" ทําการสํารวจระหวางวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จํานวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลงโทษ ส.ส. ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรค (เช่น โหวตสวนทาง งดออกเสียง ไม่ปรากฏการลงคะแนน เป็นต้น)

 

การสํารวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมันที่ร้อยละ 97.0

จากการสํารวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงโทษ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.67 ระบุว่า ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลในการเเสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่จําเป็นต้องตามมติของพรรคเสมอไป

รองลงมา ร้อยละ 45.80 ระบุว่า ควรมีการลงโทษ เพราะไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง ส.ส. มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนต้องออกเสียงหรือทําตามมติพรรค

และ ร้อยละ 1.53 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

เมื่อถามถึงรูปแบบการลงโทษจากผู้ที่ระบุว่าควรมีการลงโทษ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.34 ระบุว่า ไม่ส่งลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้า

รองลงมา ร้อยละ 26.00 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทํากิจกรรมทางการเมืองร่วมกับพรรคหรือรัฐบาลอีกต่อไป

ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ปลดออกจากทุกตําแหน่งในพรรคและรัฐบาล

ร้อยละ 16.33 ระบุว่า ไล่ออกจากพรรค

ร้อยละ 4.67 ระบุว่า บีบให้ลาออกจากพรรค

และ ร้อยละ 1.33 ระบุอื่นๆ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน

นิด้าโพลเผยผลสำรวจ ร้อยละ 52.67 ชี้ไม่ควรมีการลงโทษ ส.ส. โหวตสวนมติพรรค

 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงโทษ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ที่โหวตไม่เป็นไปตามมติพรรคฝ่ายค้าน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.82 ระบุว่า ไม่ควรมีการลงโทษ เพราะต้องเคารพความคิดเห็นของแต่ละบุคคล สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน สามารถมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้

รองลงมา ร้อยละ 43.82 ระบุว่า ควรมีการลงโทษ เพราะเป็นการไม่ปฏิบัติตามมติพรรคและไม่ยุติธรรมต่อพรรคที่ตนเองสังกัด เปรียบเสมือนเป็นงูเห่าของพรรค

และ ร้อยละ 2.36 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

เมื่อถามถึงรูปแบบการลงโทษจากผู้ที่ระบุว่าควรมีการลงโทษ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.45 ระบุว่า ไม่ส่งลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรค ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

รองลงมา ร้อยละ 27.70 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทํากิจกรรมทางการเมืองร่วมกับพรรคอีกต่อไป

ร้อยละ 17.07 ระบุว่า ไล่ออกจากพรรค

ร้อยละ 15.85 ระบุว่า ปลดออกจากทุกตําแหน่งในพรรค

ร้อยละ 4.53 ระบุว่า บีบให้ลาออกจากพรรค

และ ร้อยละ 1.40 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.24 ระบุว่า ควรมีการปรับ ครม. เพียงแค่บางตําแหน่ง

รองลงมา ร้อยละ 33.66 ระบุว่า ควรมีการปรับ ครม. ครั้งใหญ่

ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ไม่ควรมีการปรับ ครม.

และ ร้อยละ 5.42 ระบุว่า เฉยๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

นิด้าโพลเผยผลสำรวจ ร้อยละ 52.67 ชี้ไม่ควรมีการลงโทษ ส.ส. โหวตสวนมติพรรค

 

ดูฉบับเต็มคลิก nidapoll

 

#ช้อปเลยลาซาด้าคลิก

 

นิด้าโพลเผยผลสำรวจ ร้อยละ 52.67 ชี้ไม่ควรมีการลงโทษ ส.ส. โหวตสวนมติพรรค