ข่าว

  "จุรินทร์" โอด ปชป.ดันสุดทางแล้ว ปมแก้ รธน.  มุ่งเดินหน้าแก้รายมาตรา ยังไม่มีทบทวนร่วมรัฐบาล

"จุรินทร์" โอด ปชป.ดันสุดทางแล้ว ปมแก้ รธน. มุ่งเดินหน้าแก้รายมาตรา ยังไม่มีทบทวนร่วมรัฐบาล

18 มี.ค. 2564

หัวหน้าพรรคประชาธิตย์"จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" โอด ปชป.ดันสุดทางแล้ว ปมแก้ รธน. มุ่งเดินหน้าแก้รายมาตรา ยังไม่มีทบทวนร่วมรัฐบาล เหตุต้องปฏิบัติตามข้อบังคับพรรค ชี้อำนาจยุบสภาเป็นของนายกฯ

18 มี.ค.64 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำหน้าที่สุดพลังความสามารถและสุดทางแล้ว ที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมเสนอทางออกที่ขัดแย้งกับสองฝ่ายซึ่งเห็นไม่ตรงกันกับคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคก็ตัดสินใจเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการโหวตลงมติ เห็นชอบแต่เสียงไม่พอ และยืนยันจุดเดิมต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเดินหน้าต่อไป ซึ่งต้องคิดแนวทางต่อไป ซึ่งหากคิดเร็วๆคือการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะอุปสรรคกุญแจดอกใหญ่ที่คล้องประตูประชาธิปไตยไว้ ซึ่งต้องสะเดาะออก คือมาตรา 256 ที่มีวิธีซับซ้อนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นายจุรินทร์ ยอมรับว่า พรรคประชาธิปัตย์มีเสียงประมาณ 50 เสียง ไม่ถึง 100 เสียง จึงไม่สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยลำพังได้ต้องร่วมมือกับพรรคการเมืองอื่น ในการยื่นญัตติแก้ไขต่อไปและจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับวิปรัฐบาล

ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นเงื่อนไขเข้าร่วมรัฐบาลจะตอบสังคมอย่างไร นายจุรินทร์ ย้ำว่าเงื่อนไขในการเข้าร่วมรัฐบาลไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังต้องเดินหน้าตราบใดที่รัฐบาลยังไม่เปลี่ยนนโยบายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผูกพันกับรัฐสภา พรรคประชาธิปัตย์พร้อมร่วมมือกับพรรคร่วมในการแก้ไข ทั้งนี้ไม่ขอวิจารณ์ท่าทีของพรรคพลังประชารัฐที่เสนอญัตติโหวตวาระ3 ต่อ เพราะเป็นดุลยพินิจในการตัดสินใจ 

ส่วนจะทบทวนการร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่าตนเพียงคนเดียวยังไม่สามารถตอบได้บางเรื่องเป็นเรื่องของอนาคตตราบใดที่ยังเข้าร่วมรัฐบาลก็จะต้องผลักดันแก้รัฐธรรมนูญให้สำเร็จจงได้ ทั้งนี้หากสมาชิกและกระแสสังคมเรียกร้อง ต้องกลับไปทบทวนการร่วมรัฐบาลหรือไม่ ก็เป็นไปตามข้อบังคับพรรค เพราะประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคของใครคนใดคนหนึ่ง 

สำหรับกระแสเรื่องการยุบสภา หลังท่าทีพรรคร่วมรัฐบาลเริ่มแข็งกร้าว กังวลเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า การยุบสภาเป็นกลไกหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาได้ แต่หากยุบสภาขณะนี้และมีการเลือกตั้งใหม่จะย้อนกลับไปใช้กติกาเดิม สังคมได้เรียนรู้ในระดับหนึ่งแล้ว ตนไม่ขอแสดงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเพราะเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ต้องไปถามนายกรัฐมนตรี 

ผู้สื่อข่าวถามว่าในฐานะ 1 ในคณะรัฐมนตรี หลังจากนี้จะเสนอให้ครม. เดินหน้าทำประชามติตามอำนาจของ ครม. เลยหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะทำประชามติในประเด็นใด และยังต้องรอร่างพ.ร.บ.ประชามติด้วยเพราะต้องรอพ.ร.บ.ประชามติผ่านก่อน แม้ร่างรัฐธรรมนูญจะถูกคว่ำไป