"วิกฤตโควิด-19เรือนจำ" โจทย์ใหญ่ กรมราชทัณฑ์
หลังวานนี้ "กรมราชทัณฑ์" ได้รายงายตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากเรือนจำ 2 แห่ง ปรากฎว่ามีผู้ต้องขังติดเชื้อกว่าสองพันราย ถือเป็นวิกฤตใหญ่ที่กรมราชทัณฑ์ ต้องเร่งแก้ไข
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำกลับมาเป็นกระแสสังคมสนใจอีกครั้ง เมื่อ กรมราชทัณฑ์ ออกหนังสือยืนยันว่า "ทัณฑสถานหญิงกลาง" มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,040 ราย และ "เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร" มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,795 ราย
ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19ดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการตรวจหาเชื้อเชิงรุกของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งจากจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นที่กังวลอย่างมากในการควบคุมดูแลระงับการแพร่ระบาดไม่ให้ลุกลามไปมากว่านี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ใครบ้าง 7 นักเคลื่อนไหวการเมืองติดโควิด-19 ในเรือนจำ
แต่คงไม่ใช่งานง่ายนักด้วยสถานที่อย่างเรือนจำนั้น เป็นการรวมตัวของคนหมู่มาก มีสภาพความแออัด เวลานี้ต้องรีบลงมือเร่งคัดแยกผู้ป่วยออกมาจากผู้ไม่ป่วยให้ได้มากที่สุดและต้องทำอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นตัวเลขคงไม่หยุดอยู่แค่นี้แน่นอน
ตัวเลขสองพันกว่าราย เป็นเพียงแค่ 2 เรือนจำใหญ่เท่านั้น โดยประเทศไทยนั้นเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศจำนวน 143 แห่ง แบ่งออกเป็น
การบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ เรือนจำกลาง 33 แห่ง เรือนจำพิเศษ 4 แห่ง ทัณฑสถาน 24 แห่ง สถานกักกัน 1 แห่ง สถานกักขัง 5 แห่ง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ เรือนจำจังหวัด 50 แห่ง เรือนจำอำเภอ 26 แห่ง
ขณะที่รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 พบว่า มีผู้ต้องราชทัณฑ์รวมทั้งสิ้น 310,830 ราย
ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงเกินกว่าที่เรือนจำจะรับตามปกติ จึงทำให้เกิดปัญหานักโทษล้นคุก หรือ นักโทษเกิน โดยทาง กรมราชทัณฑ์ ได้มีการสรุปจำนวนนักโทษเกินไว้ในเว็บไซต์ของ กรมราชทัณฑ์
เพราะฉะนั้นปัญหานักโทษล้นคุกจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเป็นอยู่ในเรือนจำนั้นแออัด หากมีเชื้อเล็ดลอดเข้าไป จึงง่ายต่อกากระจายของเชื้อ
ทั้งนี้มีบทความของ นางสาวศรันยา สีมา นิติกรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์รัฐสา เมื่อปี 2563 ว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำมากเป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน
การแพร่ระบาดในเรือนครั้งนี้ไม่ได้เป็นครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นแล้วในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ และ เรือนจำจังนราธิวาส แต่จำนวนติดเพียงหลักร้อย ไม่ได้ขยายเป็นวงกว้างแบบครั้งนี้
ส่วนปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 หลุดลอดเข้าไปในเรือนจำได้อย่างไร ทาง "กรมราชทัณฑ์" ได้ระบุว่า เรือนจำและทัณฑสถานต้องรับตัวผู้ขังเข้าใหม่ และนำผู้ต้องขังออกไปศาลอยู่เสมอ จึงอาจมีการหลุดรอดของเชื้อเข้าสู่เรือนจำได้
ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้วางแนวทางป้องกันมาตรการเชิงรุกของคือ แยกกับผู้ต้องขังเข้าใหม่อย่างน้อย 21 วัน พร้อมตรวจหาโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นมาตราการที่ดีเพื่อความปลอดภัยของผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ปฏบัติงาน รวมไปถึงมาตราการก่อนหน้านี้อย่างงดไม่ให้ญาติเข้าเยี่ยม
นาทีนี้ กรมราชทัณฑ์ กำลังเจอกับโจทย์ใหญ่กับการแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้