ข่าว

ลดน้ำหนักแบบ "IF"  ได้ผลจริงหรือไม่

ลดน้ำหนักแบบ "IF" ได้ผลจริงหรือไม่

09 มิ.ย. 2564

เทรนด์การดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการหันมาการออกกำลังกายกันมากขึ้น แต่หลายคนยังให้ความสนใจกับควบคุมการทานอาหาร ด้วยวิธีการทานอาหารแบบ "IF" ซึ่งช่วยให้น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน นอกจากการหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น  ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย หลายคนมีเป้าหมายเพียงเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่สำหรับสาวๆแล้วเชื่อว่าสาวๆหลายคนน่าจะต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย แต่การออกกำลังกายเพียงพอที่จะทำให้น้ำหนักลดลง แต่จะต้องทำควบคู่ไปกับการคุมอาหารไปด้วย 

ลดน้ำหนักแบบ \"IF\"  ได้ผลจริงหรือไม่

 

วิธีลดน้ำหนักแบบ IF เป็นอีก 1 วิธี ที่น่าจะคุ้นหู กันพอสมควร แต่ IF คืออะไร จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริงหรือ เราจะมาทำความรู้จักในฉบับง่ายๆไปพร้อมๆกัน 

 

ลดน้ำหนักแบบ \"IF\"  ได้ผลจริงหรือไม่

 

การลดน้ำหนักแบบ IF หรือ Intermitent Fasting คือ วิธีลดน้ำหนักที่คิดค้นโดยทีมแพทย์ เป็นการลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารเป็นช่วงเวลา (Feeding) และปล่อยให้ร่างกายหยุดรับอาหารเป็นช่วงเวลา (Fasting) แต่ทั้งนี้หลังการลดน้ำหนักแบบ ก็มีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่ 3 ข้อ คือ  ต้องงดอาหาร 1 มื้อในแต่ละวัน  หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อดึก  และ กินอาหารตามปกติในช่วงเวลา Feeding 8 ชั่วโมง

 

ลดน้ำหนักแบบ \"IF\"  ได้ผลจริงหรือไม่

 

สำหรับวิธีการลดทานอาหารแบบ  IF มีด้วยกันหลายวิธีที่ได้รับความนิยม อาทิ 
1.  12/12   ทาน 12 ชม. งด 12 ชม.   สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำ IF น่าจะเริ่มจากวิธีนี้ดีที่สุด เมื่อร่างกายปรับได้แล้วจึงค่อยๆเพิ่มระยะเวลาของการอดมากขึ้น 
2.  8/16     ทาน 8 ชม. งด 16 ชม.    วิธีนี้ได้รับความนิยมมากสำหรับผู้ที่ทำ IF เนื่องจากช่วงเวลาที่อดอาหาร ถือเป็นระยะเวลาที่ร่างกายรับได้ 
3.  5/19    ทาน 5 ชม.  งด 19 ชม.  
4.  ทานอาหารวันละ 1 มื้อ  เลือกงดทานอาหารในมื้อที่เราไม่หิว เช่น มื้อเช้า 
5. งดอาหาร 1วันเต็ม  วิธีนี้อาจทำได้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง 

 

ลดน้ำหนักแบบ \"IF\"  ได้ผลจริงหรือไม่

ส่วน ข้อดี ข้อเสียของการลดน้ำหนัก แบบ IF 

ข้อดี 
ช่วยให้น้ำหนักลดได้จริงเพราะช่วงที่อดอาหาร อินซูลินจะหลั่งออกมาน้อย เพราะร่างกาย มีการดึงเอาไขมันออกมาใช้มากขึ้น เมื่อทำไปนานๆไขมันจะลดลงด้วย , เรายังเลือกทานอาหารได้ตามปกติ , สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ หรือ เพิ่มกล้ามเนื้อ สามารถทำได้ง่ายขึ้น 

ข้อเสีย 
ลดน้ำหนักแบบ IF อาจจะส่งผลให้ฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ , ช่วงแรกของการกินแบบ IF อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย แต่เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้วอาการเล่านั้นก็จะหายไป และ IF ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว  อาทิ ความดันโลหิตต่ำ เบาหวาน เป็นต้น รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ 

 

ลดน้ำหนักแบบ \"IF\"  ได้ผลจริงหรือไม่


จะว่าไปแล้วการทำ  IF เป็นการปรับพฤติกรรมการกินของแต่ละคน ให้สอดคล้องกับหลักความต้องการร่างกายของแต่ละบุคคล  แต่ทั้งนี้การทำ IF ต้องคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก  

 

 

ขอบคุณข้อมูล    https://allwellhealthcare.com/
ขอบคุณภาพ      https://pixabay.com/