ข่าว

 "นิพนธ์" ระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน"โคะงุมะ" กระทบภาคเหนือ อีสาน กลาง ของไทย

"นิพนธ์" ระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน"โคะงุมะ" กระทบภาคเหนือ อีสาน กลาง ของไทย

13 มิ.ย. 2564

"นิพนธ์" ระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน"โคะงุมะ" กระทบภาคเหนือ อีสาน กลาง ของไทย กำชับบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพลดความรุนแรงในภาวะฝนทิ้งช่วง ห่วงสภาพอากาศฝนตกสลับร้อน ทำปชช.เจ็บป่วยได้ง่าย 

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะกำกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์พายุ “โคะงุมะ” โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 ระบุถึงอิทธิพลของพายุโซนร้อนโคะงุมะที่ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามเช้าวันนี้(13 มิ.ย.) ส่งผลให้ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน และส่งผลกระทบต่อภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี นั้น   

นายนิพนธ์ กล่าวว่า "การเตรียมพร้อมรับมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สถานการณ์ไม่รุนแรงมากไปกว่าที่จะเป็น ทั้งนี้ได้กำชับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เตรียมการรับมือสถานการณ์พายุ”โคะงุมะ”ให้ได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานทั้งเครื่องสูบน้ำ จุดอพยพพี่น้องประชาชน เครื่องมือในการช่วยเหลือชีวิต  พร้อมบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ หน่วยงานภาคีต่างๆ เพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ ลดความสูญเสียด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  ส่วนประชาชนขอให้ติดตามข่าวสารสภาพอากาศและสถานการณ์พายุ”โคะงุมะ”อย่างเนื่อง โดยเฉพาะประชาชนที่ปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราบเชิงเขา อาจได้รับผลกระทบจากสภาวะดินสไลด์ กระแสน้ำป่าไหลหลากที่รุนแรง ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็ต้องเฝ้าระวังเตรียมการอพยพให้พร้อม โดยเฉพาะประชาชนที่ปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราบเชิงเขา อาจได้รับผลกระทบจากสภาวะดินสไลด์ กระแสน้ำป่าไหลหลากที่รุนแรง ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็ต้องเฝ้าระวังเตรียมการอพยพให้พร้อม ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด" 

"ขณะเดียวกัน ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพร่วมกับกรมชลประทาน องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเก็บกักน้ำไว้ประโยชน์ในฤดูแล้งปีหน้าและบรรเทาความรุนแรงในสภาวะฝนทิ้งช่วง อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อเกิดสภาพอากาศที่มีฝนตกสลับอากาศร้อนอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย พี่น้องประชาชนต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้มีภูมิต้านทานเพื่อป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคโควิด-19 ที่ทั้งผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและผู้ที่เพิ่งได้รับวัคซีนไปยังคงต้องระมัดระวังตนเองอย่างมากเช่นเดิม และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างสม่ำเสมอ" นายนิพนธ์ กล่าว 

\"นิพนธ์\" ระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน\"โคะงุมะ\" กระทบภาคเหนือ อีสาน กลาง ของไทย