ทำไม ดื่ม"เบียร์"แล้วอ้วนลงพุง อันตรายจากการดื่ม"เบียร์"
ไขข้อสงสัย ทำไม ดื่ม"เบียร์"แล้วอ้วนลงพุง อันตรายจากการดื่ม"เบียร์"
หลายคนที่ดื่มเบียร์เป็นประจำ เคยสังเกตตัวเองกันมั้ยว่ามีพุงน้อย ๆ ค่อย ๆ ยื่นออกมาหรือเปล่า ใครไม่มีก็ถือว่าโชคดีไป หรือคุณอาจจะดื่มในปริมาณที่กำลังดี ไม่หักโหมเกินไป เพราะจริง ๆ แล้ว การดื่มเบียร์นั้นจะส่งผลต่อไขมันในร่างกาย ทำให้อ้วนลงพุงได้จริง ๆ
ทำไม ดื่มเบียร์แล้วอ้วนลงพุง
เบียร์มีแคลอรี่สูง
มีงานวิจัยที่ระบุว่าการดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้รู้สึกอยากอาหารด้วย และยิ่งคนที่ดื่มเบียร์เหมือนดื่มน้ำ ไม่ได้คิดว่ามีแคลอรี่สูง และยังกินอาหารเท่าเดิมก็จะยิ่งเพิ่มแคลอรี่ให้กับร่างกายมากขึ้นไปอีก
แคลอรี่ในเบียร์
เบียร์แต่ละประเภทมีปริมาณแคลอรี่แตกต่างกัน โดยเบียร์ขนาดมาตรฐาน 355 มิลลิลิตรที่มีค่า ABV 4 เปอร์เซ็นต์ จะให้พลังงานประมาณ 153 แคลอรี่ และเบียร์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงแคลอรี่ก็จะยิ่งสูง เพราะแอลกอฮอล์ 1 กรัม ให้พลังงานถึง 7 แคลอรี่
เบียร์ขัดขวางการเผาผลาญไขมัน
ในการย่อยแอลกอฮอล์นั้นจะเกิดของเสียที่เรียกว่าอะซิเตทและอะซีตัลดีไฮด์ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สมองสั่งการให้ร่างกายหยุดเผาผลาญไขมัน และสั่งให้แปลงของเสียที่ย่อยจากแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปให้กลายเป็นไขมันด้วย แต่ก็มีบางงานวิจัยที่ระบุว่า การดื่มเบียร์น้อยกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวัน อาจไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของไขมัน เพราะฉะนั้นควรดื่มแต่พอดีจะดีที่สุด
เบียร์มีสารไฟโตเอสโตรเจน
ไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นโดยพืช มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน การดื่มเบียร์จึงอาจส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายของเพศชาย ทำให้หนุ่ม ๆ ที่ดื่มเบียร์อาจเกิดภาวะฮอร์โมนแปรปรวน ที่เพิ่มความเสี่ยงให้อ้วนลงพุงได้
นอกจากจะทำให้อ้วนลงพุงแล้ว เบียร์ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกหลายอย่าง
โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน
เบียร์มีน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจส่งผลให้เส้นเลือดในสมองโป่งพองและแตกได้ ยิ่งการดื่มยิ่งการดื่มเบียร์ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงหรือวันที่ร้อนจัดยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ
โรคเหน็บชาเรื้อรัง
เบียจะไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการมึนชาตามร่างกาย ที่สำคัญกล้ามเนื้อกลุ่ม Datal และ Proximal อ่อนแรง ที่เป็นสาเหตุของอาการมึนชาเรื้อรังและจะฟื้นตัวหรือหายขาดยากมาก ถึงจะเลิกดื่มเบียร์ก็ตาม
เสี่ยงต่อโรคตับแข็ง
การดื่มเบียร์ก็เหมือนการรับสารพิษเข้าร่างกาย และเมื่อรับสารพิษเข้าร่างกายมาก ๆ บ่อย ๆ ตับก็ต้องทำงานหนัก จนเกิดเป็นการสะสมสารพิษและทำให้ตับแข็งได้
ส่งผลเสียต่อสมอง และอาจทำให้สมองฝ่อ
แอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง เมื่อดื่มเบียร์เข้าไปในปริมาณมากจะเกิดอาการมึนและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ได้ และถ้าหากแอลกอฮอล์ในเลือดมากเกินไป อาจถึงขั้นเกิดความผิดปกติของเยื้อหุ้มในสมอง และทำให้เกิดโรคทางสมองได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: sukkaphap-d, pobpad