ข่าว

วันไหว้ "บะจ่าง" ตั้งโต๊ะอย่างไรให้เป็นมงคล 

วันไหว้ "บะจ่าง" ตั้งโต๊ะอย่างไรให้เป็นมงคล 

14 มิ.ย. 2564

ในปี 2564 วันไหว้ "บะจ่าง" ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน ถือว่าเป็นวันสำคัญอีกวันของลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีน และวันไหว้บะจ่างนับเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของจีน 

     เดือนมิถุนายนของทุกปีจะมีวันสำคัญของลูกหลานไทยเชื้อสายจีนอยู่วันหนึ่ง คือ วันที่ 5 เดือน 5 ตามปฎิทินจันทรคติของทุกปี เรียกวันโหงวเว่ยโจ่ว โดยปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.2564 ตามปฏิทินสากล นั้นคือ วันไหว้ "บะจ่าง" หรือเรียกกันว่า "เทศกาลตวนอู่เจี๋ย"

     วันไหว้ "บะจ่าง" ในประเทศไทยอาจจะรู้จักกันในรูปแบบของ บะจ่าง แต่ที่จริงแล้วมีที่มาถึง 2 ประเพณี การบูชาเทพเจ้ามังกร และ ประเพณีแข่งเรือมังกร สอดคล้องกับชื่อภาษาสากล ของ วันไหว้ "บะจ่าง" คือ Dragon Boat Festival    

ข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยประวัติอันยาวนาน "เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง" ของลูกหลานแดนมังกร

 

  

     การบูชาเทพเจ้ามังกร 

    เป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณ โดยการบูชาเทพเจ้ามังกร นั้นเป็นถือว่า มังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจีนไป่เยว่ ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ตั้งแต่ช่วงกลางลงไปยังตอนใต้ ว่ากันว่าชาวไป่เยว่มีการสักตัวด้วยรูปมังกร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าตนคือลูกหลานมังกรอีกด้วย

     ประเพณีแข่งเรือมังกร

    ด้วยเหตุที่ชาวไป่เยว่ต้องเดินทางโดยใช้เรือที่ทำมาจากไม่ท่อนเดียวเพื่อใช้เป็นพาหนะในการเดินทางข้ามฟากแม่น้ำ จึงเกิดการจัดการแข่งพายเรือกันขึ้น เพื่อบูชาเทพเจ้ามังกร ทั้งสองประเพณีนี้จึงสอดคล้องกัน 

     สำหรับวิธีการตั้งโต๊ะไหว้บะจ่างให้เป็นศิริมงคล

     -จำนวนบะจ่างต้อเป็นเลขู่ เช่น 2 ลูก 4 ลูก 6 ลูก 8ลูก 

     -นอกจากบะจ่างแล้วยังต้องมีผลไม้ 5 อย่าง น้ำชา 5 ถ้วย เพื่อเป็นการขอพร 

    -ผลไม้มงคล แก้วมังกร ส้ม กล้วยหอม แอปเปิ้ลแดง สาลี่  ส้ม 

    -ขอพรขณะกำลังไหว้ 

     จำนวนธูปที่ต้องใช้ 

     ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก โดยการไหว้ธูป 5 ดอก หมายถึงการระลึกถึงครู-อาจารย์ พ่อ แม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

     นอกจากนี้ วันไหว้ "บะจ่าง" ยังถูกยกให้เป็นเทศกาลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) กับทาง UNESCO ในปี 2009 และนับว่าเป็นเทศกาลแรกของประเทศจีนที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

     สำหรับ "บะจ่าง" ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นการถนอมอาหารอย่างเหนึ่ง โดยการนำข้าวเหนียวมาห่อใส่ใบไผ่ก่อนนำไปต้ม

     ส่วน ไส้ "บะจ่าง" มีสูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่โดยจีนทางเหนือนิยมทำไส้ถั่วแดงหรือพุทราแดง ส่วนทางใต้มีหลากหลาย เช่น เห็ด  ไข่แดง แปะก๊วย เนื้อ 

    แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด บะจ่างต้องเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม เนื่องจากเป็นลักษณะคล้ายเขาวัว ซึ่งชาวจีนมีความเชื่อว่า "วัว" เป็นส่วนหนึ่งของการไหว้