ไขข้อข้องใจ "เต่า" สัตว์ดึกดำบรรพ์ 200 ล้านปี
ไขคำถามข้องใจ "เต่า" สัตว์ดึกดำบรรพ์ อายุ 200 ล้านปี สามาราถปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ แต่ป้องกันตัวเองไม่ได้
มุมสบายๆ วันนี้ จะมาไขข้อข้องใจให้กับหลายๆคน ซึ่งมักตั้งคำถาม เกี่ยวกับเจ้า "เต่า" ที่แสนเชื่องช้า กระดองแข็งๆ เดินแบบเนิบๆ สรุปแล้วพวกน้องๆ เหล่านี้ เป็นสัตว์ ประเภทไหนกันแน่
บอกได้เลยครับว่า "เต่า" เป็นสัตว์เลื้อยคลาน..นะครับ วางไข่ครั้งละเป็นร้อยฟอง และถือกำเนิดขึ้นมาในโลกใบนี้ ประมาณ 200 กว่าล้านปีแล้ว เรียกได้ว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์เลยทีเดียวเชียว มีทั้งเต่าน้ำจืด เต่าน้ำเค็ม และเต่าบก ซึ่งน้องๆ เหล่านี้ สามารถปรับตัวให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
วันนี้เรามาศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเต่าทะเล ที่มักพบในประเทศไทย ก็คือ เต่าตนุ , เต่ากระ และเต่าสังกะสี หรือเต่าหญ้า อย่างไรก็ตาม เต่าทะเล ก็ยังถือว่าเป็นสัตว์ประเภทคลานอยู่ดี ตามที่เราๆ ท่านๆ มักจะเห็นข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก เพราะพวกน้องๆเหล่านี้ แต่ละปีก็จะกลับมายังถิ่นฐานเดิม เพื่อวางไข่ตามชายหาด คราวละเป็นร้อยฟอง อย่างที่ได้เกริ่นนำไว้ในข้างต้น
และหากใครพบเจอ หรือเห็นว่าพวกน้องๆ เหล่านี้ กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่ว่าจะติดแห ติดอวน หรือกำลังได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวแล้วคิดว่า น่าจะเข้าไปช่วยเหลือให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงนะครับ เพราะพวกน้องๆ ที่ค่อยๆ เดินต้วมเตี้ยม จะไม่สามารถที่จะป้องกันตัวเองได้เลย..
เพราะ"เต่า"ทะเลมีแค่กระดอง ที่เป็นเกล็ดห่อหุ้มปกคลุมตัวเท่านั้น และเมื่อมีภัยจึงทำได้แค่หดหัว หดขา เข้าไปเก็บไว้ในกระดอง นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า น้องๆเต่าทะเล ส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ทั่วไปในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ยกเว้นเต่ามะเฟือง ที่สามารถใช้ชีวิตในทะเลที่มีกระแสน้ำเย็นได้ และพวกน้องๆ ก็จะมีอายุยืนมากกว่า 50 ปี
สำหรับภัยคุกคามของเต่าเหล่านี้ ประเด็นหลักๆ เลยก็คือ การสูญเสียถิ่นฐานเดิม หรือแหล่งวางไข่ของพวกเขา ไม่ว่าเป็นการบุกรุก หรือทำลาย โดยเฉพาะการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไป และอีกประการที่สำคัญ คือ ปัญหามลภาวะทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นคราบน้ำมัน และปัญหาขยะต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ กัดกร่อน และจำกัดการแพร่พันธุ์ของ "น้องเต่า" แทบทั้งสิ้น
ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า น้อง"เต่า" เจ้าสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ในยุคไดโนเสาร์ นะครับ โดยทุกๆวันที่ 16 มิถุนายน ของทุกปี ก็จะเป็น “วันเต่าทะเลโลก (World Sea Turtle Day)” และจากการตรวจสอบ ก็พบว่า เต่าทะเลมีทั้งหมด 8 ชนิด อาทิ เต่าหลังแบน เต่าตนุดำ เต่าหญ้าแอตแลนติก เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าหัวค้อน และเต่ามะเฟือง แต่พบในไทยไม่กี่ชนิด ดังนั้น การกำหนดวันเต่าทะเลโลก ก็เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก ให้คนทั่วโลกร่วมกันอนุรักษ์ ให้พวกน้องๆ เต่าเหล่านี้ ได้อยู่กับเราไปนานๆ