ข่าว

"Plant-based Food" เทรนด์อาหารโลกในยุคโควิด

"Plant-based Food" เทรนด์อาหารโลกในยุคโควิด

23 มิ.ย. 2564

โควิด หนุนคนหันมาบริโภค "Plant-based Food" ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช คาด มูลค่าการตลาดในไทย อาจแตะระดับ 4.5 หมื่นล้านบาท ในอีก 3 ปีข้างหน้า

เดิม "Plant-based Food" อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก ที่ใช้พืชที่ให้โปรตีนสูงมาพัฒนารสชาติ กลิ่น สีสัน รสสัมผัสให้เหมือนผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์จริงๆ เป็นที่รู้จักอยู่ในแวดวงกลุ่มคนกินมังสวิรัติ หรือในช่วงเทศกาลกินเจ แต่ปัจจุบัน "Plant-based Food" ได้กลายเป็นเทรนด์อาหารโลก โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

\"Plant-based Food\" เทรนด์อาหารโลกในยุคโควิด

(ภาพประกอบ)

 

Krungthai COMPASS ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย เปิดเผยและวิเคราะห์ "Plant-based Food" ว่า เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหารรองรับเทรนด์อาหารโลก

เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น และกระแสปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) ที่ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้ชีวิตในยุคนี้ ทั้งยังตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า นอกจากความก้าวหน้าของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหาร (FoodTech) ที่เติบโตอย่างมาก ผลจากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงปัญหา Food Security ก็ทำให้ "Plant-based Food" มีความจำเป็นมากขึ้น

โดยในประเทศไทย คาดว่า มูลค่าตลาด "Plant-based Food" อาจแตะระดับ 4.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2024 (พ.ศ.2567) หรือเติบโตเฉลี่ย ปีละ 10% โดย "Plant-based Food" กลุ่มที่น่าจับตามองในไทย ส่วนใหญ่ยังสอดคล้องกับเทรนด์ในต่างประเทศ ได้แก่ Plant-based Meat, Plant-based Meal และ Plant-based Egg

ดังนั้นผู้ผลิตอาหารที่มี Potential จึงควรต่อยอดผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหาร ได้แก่ ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ (Processed Meat) และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ (Animal Product) รวมทั้งธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน (Ready-to-cook and Ready-to-eat)

ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ตลาด "Plant-based Food" ในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ Plant-based products ตอบโจทย์เรื่องรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการ

เหตุผลที่ควรรุกตลาด "Plant-based Food"

  • ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพที่ดีมากขึ้น
  •  ผู้บริโภคกลุ่ม Flexitarian (กินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น) เติบโตต่อเนื่อง
  • กระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มสูงขึ้น
  • เทคโนโลยีด้านอาหาร (Food Tech) เติบโตก้าวกระโดด
  • โควิด-19 ยิ่งทำให้ความกังวลในการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น
  • ปัญหา Food Security ทำให้ Plant-based Food มีความจำเป็น

ที่มา : https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_452Plant_based_Food_10_11_63.pdf