ข่าว

เผย "วัคซีนโควิด" "ไฟเซอร์" สร้างแอนติบอดี้เหนือกว่า "ซิโนเเวค" 11 เท่า

เผย "วัคซีนโควิด" "ไฟเซอร์" สร้างแอนติบอดี้เหนือกว่า "ซิโนเเวค" 11 เท่า

26 มิ.ย. 2564

เผย "วัคซีนโควิด" "ไฟเซอร์" สร้างแอนติบอดี้เหนือกว่า "ซิโนเเวค" 11 เท่า โดยไฟเซอร์เพิ่งได้อนุมัติขึ้นทะเบียน อย.เมื่อไม่นานมานี้

หลังจากที่ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียน "วัคซีนโควิด" "ไฟเซอร์" เป็นรายการที่ 6 ต่อจาก แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โมเดอร์นา และ ซิโนฟาร์ม

 

 

อ่านข่าว : อย.อนุมัติวัคซีน "ไฟเซอร์" แล้ว

 

สำหรับ "วัคซีนโควิด" "ไฟเซอร์" เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ไฟเซอร์ ร่วมกับ บริษัท ไบโอเอ็นเท็ค (BioNTech) ประเทศเยอรมนี ซึ่งแผนการฉีดประกอบด้วยการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21 วัน สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัวระบุว่า ไฟเซอร์ หรือ Pfizer vaccine สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้ได้เหนือกว่าวัคซีนโควิดซิโนแวค หรือ  Sinovac vaccine ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนหลายคนได้เห็นข่าวทีมนักวิจัยจาก HKU นำเสนอข้อมูลที่สรุปได้ว่าคนที่ได้รับวัคซีนของ Pfizer x BioNTech มีภูมิคุ้มกันสูงกว่า Sinovac แต่ยังไม่เห็นข้อมูลผลการศึกษาจริง

 

ศ.นพ.มานพ นำงานวิจัยที่ลงใน Hong Kong Medical Journal ที่เปรียบเทียบระดับ anti-spike antibody และ surrogate neutralizing antibody ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Pfizer หรือ Sinovac หลังฉีดเข็มแรก และหลังฉีดครบสองเข็ม กลุ่มละราว 200 คน ผลการวิจัยพบว่า

 

" ระดับแอนติบอดี ที่วัดโดย 3 เทคนิค (Roche, Genscript และ Abbott) ในพลาสม่าของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer สูงกว่า Sinovac อย่างชัดเจน โดยระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มแรก มีค่าสูงพอ ๆ กัน หรือสูงกว่าผู้ที่ได้ Sinovac ครบสองเข็มนิดหน่อย และผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็ม และตรวจด้วยชุดตรวจ Roche และ Genscript น่าจะมีค่าสูงมากจนชนเพดานของการวัด ทำให้เปรียบเทียบระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ได้ยาก แต่ถ้าดูระดับ antibody ที่วัดด้วยชุดตรวจของ Abbott จะพบว่าระดับ antibody ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็ม สูงกว่า Sinovac ราว 11 เท่า "

 

 

นอกจากนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัคซีน Sinovac และ Pfizer หาได้ยาก เพราะมีไม่กี่ประเทศในขณะนี้ที่มีการใช้วัคซีนทั้งสองยี่ห้อพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ฮ่องกงเป็นที่ที่น่าจะทำการศึกษานี้ได้ดี เพราะสัดส่วนคนที่ฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดพอ ๆ กัน ข้อมูลนี้แม้ไม่ใช่การวัด vaccine effectiveness (VE) ตรง ๆ แต่ก็เป็น surrogate ที่ดี การดู VE คงต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผู้ติดเชื้อไปอีกระยะ

 

อ่านข่าว : พบ "หัวใจอักเสบ" กว่า 1,200 ราย หลังรับวัคซีน โควิด-19 ไฟเซอร์ - โมเดอร์นา

 

ขอบคุณที่มา