เช็กเลย.. "ศบค."เพิ่มเฝ้าระวังจังหวัดสีแดงสีส้มและข้อจำกัดอะไรบ้าง
เช็กเลย.. "ศบค."เพิ่มเฝ้าระวังจังหวัดสีแดงสีส้มและข้อจำกัดอะไรบ้าง
เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2564 ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. มีมติสรุปการกำหนดมาตรการลดการติดเชื้อโควิด-19 โดยเน้นจำกัดการเดินทางและการรวมกลุ่มของบุคคล ในขั้นสูงสุด รวมทั้งกำหนดเวลาการออกนอกเคหะสถาน ควบคู่การเร่งรัดมาตรการป้องกันโรค การฉีดวัคซีน การควบคุม การรักษาพยาบาล รวมทั้งการเยียวยา
โดยมติที่ประชุมเห็นชอบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด คือ กทม. นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา โดยมาตรการออกจากบ้านหลัง 21.00 น. จะให้ออกจากเคหะสถานเฉพาะผู้มีความจำเป็นเท่านั้น มีข้อปฏิบัติดังนี้
พื้นที่ควบคุมสูงสุด 24 จังหวัด คือ กระบี่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตาก นครนายก นครราชสีมา นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
พื้นที่ควบคุม 25 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตราด บุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สตูล สระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี
พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 18 จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ นครพนม น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ลำปาง ลำพูน สกลนคร หนองคาย อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์
การปฏิบัติในจังหวัดอื่น
1.กระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกันรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (10 จังหวัด : กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ มุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ทั้งนี้ “ให้พร้อมดำเนินการต้ังแต่วันที่ 10 ก.ค.64 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป” โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนด ฉบับที่ 25
2. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เป็นไปตามพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดตามคำสั่ง ศบค.