ข่าว

6 วิธีป้องกัน ไม่ให้เป็น"โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง"

6 วิธีป้องกัน ไม่ให้เป็น"โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง"

13 ก.ค. 2564

คมชัดลึกออนไลน์วันนี้จะพามาแนะนำ 6 วิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เป็น "โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง" เพราะโรคนี้กำลังระบาดหนักในสังคม มาลองเช็กดูว่าตัวเองมีอาการเข้าข่ายบ้างหรือเปล่าและถ้าเข้าข่ายจะป้องกันอย่างไร

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก "โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง" โรคนี้สามารถระบาดส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ เนื่องจากในสังคมนี้มีผู้คนอาศัยอยู่มากมายจะเห็นว่ายิ้มให้กันน้อยลง เป็นมิตรกันน้อยมาก และมีความเห็นแก่ตัวมากกว่าความเห็นใจซึ่งกันและกันจึงทำให้โรคนี้น่าเป็นห่วงมาก หากปล่อยไปนานเท่าไหร่ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาได้ ลองมาสังเกตกันเลยว่าคนรอบข้างมีอาการเหล่านี้กันบ้างหรือไม่

 

 

6 วิธีป้องกัน ไม่ให้เป็น\"โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง\"

 

 

สำหรับอาการขั้นแรกของคนที่เป็น "โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง" จะมีอาการนิ่งเฉย ไม่มีปฏิสัมพันธ์หรือการพูดคุยกับคนรอบข้าง เช่น ทักทาย ขอบคุณ หรือความช่วยเหลือ แต่จะแสดงออกด้วยอาการรุนแรงเมื่อไม่ได้ดั่งใจ

ขั้นที่สอง ผู้ป่วยจะมีมารยาทขั้นพื้นฐาน เช่น ไม่ขอบคุณ ไม่ขอโทษ  ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เห็นอกเห็นใจหรือมีน้ำใจต่อผู้อื่น ถ้าไม่มีผลประโยชน์และผลตอบแทน

ขั้นวิกฤติ ผู้ป่วยจะมีอาการต่อต้านสังคมอย่างเห็นได้ชัด ความเป็นเหตุ และ ผล จะหายไปมีแต่ความเห็นแก่ตัวเข้ามาแทนที่  หน้าตาจะบูดบึ้ง โกรธเคืองตลอดเวลาในทุกสถานการณ์ และจะคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุดในโลก คือมองว่าตัวเองสำคัญเกินกว่าจะต้องลดตัวเองลงไปทำดีกับใคร ตัวเองสำคัญจนไม่จำเป็นต้องเคารพใครทั้งนั้น เพราะเป็นหน้าที่ของคนรอบข้างที่ต้องคอยมาเอาอกเอาใจตัวเพียงฝ่ายเดียว ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครอยากคบหาอีกต่อไป และสังคมก็จะรังเกียจ ตามมาดู 6 วิธีป้องกันและรักษา "โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง" ได้เลย

 

 

6 วิธีป้องกัน ไม่ให้เป็น\"โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง\"

 

 

1. ยิ้มให้คนรอบข้างด้วยความเป็นมิตร
2. หัดเอาใจเขามาใส่ใจเราอยู่เป็นประจำ นึกถึงคนอื่นให้มากกว่านึกถึงแต่เรื่องของตัวเอง
3. หัดพูดคำว่า "ขอบคุณครับ/ค่ะ" และ "ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ" อย่างจริงใจให้เป็นนิสัย
4. หัดเป็นผู้ให้และรู้จักให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง

5. เปลี่ยนจากคำว่า "ยอม" เป็นคำว่า  "เข้าใจ"
6. ใครที่มีอาการอยู่ในขั้นวิกฤติ ถ้าใช้วิธีเหล่านี้รักษาแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรที่จะไปพบแพทย์ในทันที

 

ฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่าอยากจะพัฒนานิสัยตัวเองไม่ให้เป็น "โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง" ก็สามารถนำ 6 วิธีนี้ไปใช้ได้ ยิ่งถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆยิ่งดีเพราะอายุมากขึ้นจะทำให้รักษาได้ยาก และถ้าติดนิสัย "โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง" ไปใช้กับคนอื่น ก็จะเป็นที่รังเกียจต่อสังคม

 

 

6 วิธีป้องกัน ไม่ให้เป็น\"โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง\"

 

 

ขอบคุณที่มาจาก : www.scholarship.in.th, www.amarinbabyandkids.com