ข่าว

"ไม่อยากตาย" เรื่องเล่า COVID-ICU สิ่งที่คนไข้ทุกรายทำเหมือนกันเมื่อเจอหมอ

"ไม่อยากตาย" เรื่องเล่า COVID-ICU สิ่งที่คนไข้ทุกรายทำเหมือนกันเมื่อเจอหมอ

16 ก.ค. 2564

โชคดีก็เข้าถึงการรักษา หากโชคร้ายอาจได้จากไปอย่างโดดเดี่ยวที่บ้านหรือแม้แต่ข้างถนน "ยังไม่อยากตาย" เรื่องเล่า COVID-ICU คนไข้ทุกรายทำเหมือนกันเมื่อเจอหมอ

"ยังไม่อยากตาย" "ยังไม่ร่ำลาใคร" "หนูเห็นคนไข้ตายต่อหน้าต่อตาโดยช่วยอะไรไม่ได้แทบทุกวัน แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่ชิน สะเทือนใจตลอด" เรื่องเล่า COVID-ICU สิ่งที่คนไข้ทุกรายทำเหมือนกันเมื่อเจอหมอ ?

โควิด-19 ระลอกใหม่ (เมษายน 2564) ยังคงวิกฤติหนัก ยอดผู้ป่วยรายใหม่พุ่งสูงขึ้นเกือบหมื่นราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลักร้อย ซึ่งส่งผลต่อจำนวนเตียงผู้ป่วยระดับสีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง ที่ครองเตียงจนกว่าจะอาการดีขึ้นเป็นผู้ป่วยสีเหลือง หรือเสียชีวิต นายแพทย์ เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก Methee Wong บอกเล่า เหตุการณ์ที่คนไข้ทุกรายทำเหมือนกัน ณ COVID-ICU ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ อยากจะแบ่งปันให้คนที่ไม่มีโอกาสได้พบเห็นด้วยตาตนเองทราบ และหาก #เห็นด้วยช่วยแชร์

นายแพทย์ เมธี เล่าว่า วันนี้มีโอกาสเลี้ยวผ่านเข้าไปยัง ward COVID-ICU ที่ รพ.แห่งหนึ่ง ได้พบเหตุการณ์ที่คนไข้ทุกรายทำเหมือนกัน และอยากจะแบ่งปันให้คนที่ไม่มีโอกาสได้พบเห็นด้วยตาตนเองทราบ บรรยากาศในห้อง COVID-ICU เป็นห้องขนาดใหญ่ที่มีห้องย่อยเล็ก ๆ นับสิบห้อง เป็นห้องกั้นกระจกอย่างมิดชิดหลายห้องอยู่ล้อมรอบ counter พยาบาล ที่อยู่ตรงกลางเหมือนไข่แดง

 

คนไข้แต่ละคนที่ถูกส่งมาที่ ICU คล้ายจะเหมือนโชคดีที่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่ดีที่สุด เพราะทุกห้องเป็นห้อง ICU เดี่ยว ที่ได้มาตรฐาน พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือกู้ชีพ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพ โดยเฉพาะการติดตามค่าออกซิเจนในเลือด แต่สิ่งที่ต่างออกไป คือ สภาพคนไข้ในแต่ละห้องมีอาการมากน้อยต่างกัน

  • บางคนต้องอยู่ในสภาพนอนคว่ำเกือบตลอดเวลา เพื่อให้ปอดที่ยังพอเหลือน้อยนิดสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้
  • บางคนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งเท่าที่ทราบ รายที่ต้องใส่ท่อนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก
  • ส่วนรายที่โชคดีหน่อย ก็คือ ยังสามารถหายใจได้เองหรืออาจใช้เครื่องอัดออกซิเจนแรงดันสูงผ่านรูจมูก (hiflow)

แต่ไม่ว่าจะอาการหนักเบามากน้อยต่างกันแค่ไหน สิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ แววตาจะแสดงความกังวล ความกลัว ออกมาอย่างชัดเจน และทุกคนไม่ได้รับอนุญาตให้แม้แต่จะลงจากเตียงไปเข้าห้องน้ำ กิจกรรมทุกอย่างต้องทำอยู่บนเตียง "เท่านั้น"

 

นายแพทย์ เมธี เล่าต่อว่า เหตุการณ์น่าประหลาดใจอันหนึ่งเมื่อเราเดินผ่านในห้องกลางของเจ้าหน้าที่ คือ คนไข้ที่ยังรู้สึกตัวทุกรายเมื่อเห็นแพทย์พยาบาลชุดใหม่ที่ถูกส่งเข้ามารับไม้ต่อมองเข้ามาในห้อง คนไข้จะยกมือไหว้อย่างนอบน้อม ซึ่งตอนแรกก็เข้าใจว่าคงภาวนาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือที่เขากุมอยู่ในมือ จนเมื่อมีโอกาสได้ถามไถ่ จึงได้ทราบความจริงว่า ที่คนไข้ยกมือไหว้เวลาเห็นเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "แพทย์" เข้าไปในห้อง ICU ดังกล่าว ก็เพราะเขายกมือทั้งไหว้ขอบคุณและทั้งร้องขอ เพื่อขอร้องว่าอย่าทิ้งเขาไปไหน หลายรายพูดผ่านไมโครโฟนออกมายัง counter ว่า "ยังไม่อยากตาย" "ยังไม่ร่ำลาใคร" !!! สอดคล้องกับคำบอกเล่าของคุณพยาบาลประจำตึกที่ไม่ได้กลับบ้านมาหลายเดือน "หนูเห็นคนไข้ตายต่อหน้าต่อตาโดยช่วยอะไรไม่ได้แทบทุกวัน แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่ชิน สะเทือนใจตลอด"

 

ตลอดชีวิตที่ดูแลคนไข้หนักมาตลอด ไม่เคยเห็นเหตุการณ์เช่นนี้ ที่คนไข้จะยกมือไหว้ในแบบที่ไม่เชิงไหว้ขอบคุณ แต่เป็นการไหว้เพื่อขอร้องให้ไม่ทอดทิ้งเขา หากยังนึกไม่ออก ลองหลับตานึกภาพ เมื่อเราเดินเข้าไปห้องขนาดใหญ่ที่แต่ละคนจะถูกแยกออกไปอยู่ในห้องปิดของตนเอง แม้ระยะทางระหว่างประตูกั้นห้องมาถึงเคาน์เตอร์พยาบาลห่างกันเพียงแค่ก้าวสองก้าว แต่คนไข้ทุกคนกลับมีความรู้สึกถึงความห่างไกล โดดเดี่ยว ที่หากโชคดีก็จะอยู่ในห้องนี้ไม่เกิน 14 วัน ก่อนจะกลับสู่ครอบครัวได้ โดยตลอดเวลา 14 วันนี้ จะไม่ได้เจอญาติหรือเพื่อนฝูงแม้แต่คนเดียว มีเพียงแพทย์พยาบาลผลัดกันเข้ามาดูแลอยู่ห่าง ๆ ผ่านกระจกหรือจอมอนิเตอร์ ส่วนรายที่อยู่ห้อง ICU ได้ไม่ถึง 14 วัน อาจไม่ได้หมายถึงโชคดีหายเร็วกว่าคนอื่น แต่อาจหมายถึงการที่จะไม่ได้พบญาติอีกตลอดไป และญาติเองก็ไม่แม้แต่จะมีโอกาสได้เห็นหน้าเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกัน

 

"หวังว่าบรรยากาศเช่นนี้ คงไม่เจอกับตัวเอง กับคนที่เรารัก หรือญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของทุกคน" นายแพทย์ เมธี ระบุและว่า สถานการณ์ขณะนี้ต้องเลิกดราม่า ฉีดวัคซีน อะไรดี ฉีดอะไรก่อนหลัง ฉีดแบบลูกผสมดีหรือไม่ และยิ่งกับประเภทกลัววัคซีนจนเกินเหตุ ยิ่งต้องเลิกชุดความคิดแบบนี้ได้แล้ว คำพูดของครูแพทย์หลายท่านที่่พร่ำบอกว่า "วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่เรามีโอกาสได้รับเร็วที่สุด" คือคำพูดที่ถูกต้อง ยกเว้นท่านมีโอกาสเลือกสิ่งที่ท่านคิดว่าดีที่สุด ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่อย่าถึงขนาดปล่อยให้เรือจมแล้วค่อยร้องเรียกหาห่วงชูชีพ และอย่ามัวแต่ถกว่าจะเลือกชูชีพเซิ่นเจิ้นดีหรือไม่ดี ชูชีพอะไรที่เพิ่มโอกาสรอดให้ท่าน คว้าไว้เลยถ้ามีโอกาส แม้ชูชีพนั้นอาจทำให้ท่านจมน้ำไปครึ่งตัว แต่ก็ยังมีอีกครึ่งตัวที่ลอยอยู่เหนือน้ำ เพราะหมายถึงโอกาสรอดชีวิตจะสูงกว่าคนที่มัวแต่ถกเถียงกันว่าจะเลือกชูชีพแบบไหนดี

 

 

ไม่อยากตาย, ยังไม่อยากตาย, COVID-ICU, คนไข้, หมอ, ล็อกดาวน์, ฉีดวัคซีน, lockdown, โควิด-19

ไม่อยากตาย, ยังไม่อยากตาย, COVID-ICU, คนไข้, หมอ, ล็อกดาวน์, ฉีดวัคซีน, lockdown, โควิด-19

ไม่อยากตาย, ยังไม่อยากตาย, COVID-ICU, คนไข้, หมอ, ล็อกดาวน์, ฉีดวัคซีน, lockdown, โควิด-19

ไม่อยากตาย, ยังไม่อยากตาย, COVID-ICU, คนไข้, หมอ, ล็อกดาวน์, ฉีดวัคซีน, lockdown, โควิด-19

 

แต่ที่สำคัญที่สุด คือ กับตันเรือกับต้นหน ต้องรีบจัดหาชูชีพให้พอกับจำนวนผู้โดยสาร มาโดยเร็วที่สุด สำหรับใครที่ดราม่าว่า ล็อกดาวน์ lockdown แล้วจะลงแดงตาย เพราะไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนฝูง ไม่ได้ไป party ไม่ได้ออกไปเดินเล่น ลองกลับไปอ่านข้างบนอีกรอบ แล้วคิดใหม่ว่าจะเลือกแบบไหน หากโชคดีก็เข้าถึงการรักษาใน รพ. ได้ หากโชคร้ายอาจได้จากไปอย่างโดดเดี่ยวคนเดียวที่บ้าน หรือแม้แต่ข้างถนน

 

ไม่อยากตาย, ยังไม่อยากตาย, COVID-ICU, คนไข้, หมอ, ล็อกดาวน์, ฉีดวัคซีน, lockdown, โควิด-19

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง