รู้จัก "แลมบ์ดา" โควิดสายพันธุ์พิศวง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผย ใกล้เคียง เดลตา
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อ้างอิง WHO และ ft.com เผยแพร่ "แลมบ์ดา" โควิดสายพันธุ์พิศวง (Viva La Lambda) กลายพันธุ์ในลักษณะ "ผิดปกติ" ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy เผยแพร่ "แลมบ์ดา" โควิดสายพันธุ์พิศวง (Viva La Lambda) อ้างอิง WHO และ ft.com ระบุ แลมบ์ดา "Lambda" ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ล่าสุด กำลังสร้างความพิศวงระคนวิตกกังวลให้กับนักวิทยาศาสตร์ในขณะนี้ เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ในลักษณะ "ผิดปกติ" ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วและหลบภูมิคุ้มกันได้ แม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) จะยังไม่ได้ยกระดับความอันตรายของแลมบ์ดาให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลก็ตาม
Lambda, the latest coronavirus variant, is puzzling and worrying scientists at the same time because of its “unusual” set of mutations quite resembling the rampant Delta variant. This linear change enables rapid transmissibility and immune escape; however, the World Health Organization (WHO) doesn't warrant a classification Variants of Concern (VOC) at this point in time.
"แลมบ์ดา" หรือที่ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ C.37 มีการตรวจพบครั้งแรกในประเทศเปรู เมื่อปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการแพร่กระจายในเกือบ 30 ประเทศ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และองค์การอนามัยโลกจัดให้แลมบ์ดาเป็น "เชื้อกลายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจเฝ้าระวัง" หรือ Variant of Interest (VOI) ลำดับที่ 7 เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผศ. พาโบล สึกายามา ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาระดับโมเลกุลแห่งมหาวิทยาลัย Cayetano Heredia ในกรุงลิมา เมืองหลวงของประเทศเปรู กล่าวว่า เชื้อ "แลมบ์ดา" สามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยในลิมามีอัตราการติดเชื้อในตัวอย่างที่เก็บได้ประมาณร้อยละ 50 ในเดือนมีนาคม และตอนนี้มีถึงกว่าร้อยละ 80 แล้ว แสดงให้เห็นว่า อัตราการแพร่เชื้อของสายพันธุ์นี้ค่อนข้างสูงกว่าไวรัสตัวอื่น
Formerly known as C.37, the Lambda variant was first detected late last year in Peru and has since spread to 30 countries, especially in Latin America. Last month the WHO named Lambda as the seventh Variant of Interest (VOI). Assistant Professor Pablo Tsukayama, a microbiologist at the Cayetano Heredia University in Peru’s capital, Lima, said that in March Lambda accounted for about 50% of samples in Lima and now rose to about 80%. It would suggest that its rate of transmission is higher than other variants.
ลักษณะการกลายพันธุ์ที่ซับซ้อนของ "แลมบ์ดา" ทำให้นักวิทยาศาสตร์เร่งศึกษาหาความกระจ่างในเรื่องของอันตรายที่อาจมีต่อมนุษย์และผลกระทบต่อการแพร่ระบาดในอนาคต เชื้อไวรัสชนิดนี้มีการกลายพันธุ์ที่ซับซ้อนคล้ายกับการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เดลตา โดยพบการกลายพันธุ์จากลักษณะดั้งเดิมถึง 7 จุดบนโปรตีนส่วนหนามของไวรัส การกลายพันธุ์บางลักษณะที่พบในสายพันธุ์แลมบ์ดานี้ สามารถเพิ่มศักยภาพให้ไวรัสแพร่ระบาดมากขึ้นได้อย่างมหาศาล และยังลดทอนประสิทธิภาพของแอนติบอดีบางตัวที่ใช้ในการยับยั้งไวรัสได้อีกด้วย
The complex mutation of the Lambda variant has prompted scientists to shed light on the potential threat to humans and the implications for future outbreak characterization. It has a unique pattern of seven mutations in the spike protein, which is similar to that of the Delta variant – believed to contribute to the high infectivity and to confer escape to neutralizing antibodies.
มหาวิทยาลัยชิลีทำการวิจัยศึกษาผลกระทบของสายพันธุ์แลมบ์ดาต่อการติดเชื้อไวรัส โดยใช้ตัวอย่างเลือดจากบุคลากรทางการแพทย์ในท้องถิ่นที่ได้รับวัคซีนครบโดส และพบว่า "แลมบ์ดา" แพร่เชื้อได้มากกว่า "แกมมา" และ "อัลฟา" รวมทั้งสามารถหลบหลีกแอนติบอดีที่เกิดจากการฉีดวัคซีนได้ดีกว่าด้วย แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ได้แน่ชัดว่า ไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดานี้จะทำให้วัคซีนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพลดลง หรือทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
The University of Chile studied the effects of Lambda on viral infectivity using blood samples from fully vaccinated local healthcare workers. Their results suggest that Lambda is more infectious than Gamma and Alpha and better able to escape the antibodies produced by vaccination. However, there is currently no conclusive evidence that the Lambda variant would decrease the effectiveness of any available vaccines or increase the disease severity.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สั่งปิด "สถานธรรมไท่หลินฝอเอวี้ยน - บลูชิพส์ไมโครเฮ้าส์" ระวัง 2 คลัสเตอร์ใหม่
- พบวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" มีประสิทธิภาพต้าน โควิด-19 สายพันธุ์ "เดลตา" สูง
- "ลงทะเบียนเดินทางข้ามจังหวัด" Covid-19.in.th หยุดเชื้อเพื่อชาติ สรุปวิธีที่นี่
- เช็คเลย www.sso.go.th ลงทะเบียนประกันสังคม มาตรา 33-39-40 โอนเงินวันไหนบ้าง
- เช็คคิวใหม่ "ไทยร่วมใจ" อายุ 18 - 59 ปี เลื่อนมาฉีดวัคซีนพรุ่งนี้ เวลาสถานที่เดิม
- "พักชำระหนี้ 2 เดือน" ทีเอ็มบีธนชาตช่วยตั้งหลักลูกค้าสินเชื่อลงทะเบียนด่วนที่นี่