ข่าว

รู้เท่าทัน.."โรคเหงือกอักเสบ"

รู้เท่าทัน.."โรคเหงือกอักเสบ"

23 ก.ค. 2564

ถ้าใครที่มีปัญหาเลือดออกขณะ"แปรงฟัน" นั่นอาจเป็นสัญญาณของ"โรคเหงือกอักเสบ"ที่เป็นต้นตอหลักของการสูญเสียฟันในอนาคต

ถ้าใครที่มีปัญหาเลือดออกขณะแปรงฟัน นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบที่เป็นต้นตอหลักของการ
สูญเสียฟันในอนาคต

 

อวัยวะในช่องปากที่เรียกว่า"เหงือก" มีความสำคัญมากไม่แพ้อวัยวะส่วนอื่นใด เพราะ"เหงือก"เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะที่ทำหน้าที่ยึดฟันไว้ในกระดูกขากรรไกรและรองรับแรงในการบดเคี้ยว

โดยปกติ"เหงือก"จะมีสีชมพู ขอบเรียบ ไม่บวม ไม่มีเลือดออก แต่ถ้าใครที่มีปัญหาเลือดออกขณะ"แปรงฟัน" นั่นอาจเป็นสัญญาณของ"โรคเหงือกอักเสบ"ที่เป็นต้นตอหลักของการสูญเสีย"ฟัน"ในอนาคต

 

สาเหตุของ"โรคเหงือกอักเสบ"

- แปรงฟันไม่สะอาด
 

-ภายในปากแห้ง

 

- สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
 

-อายุมากขึ้น

 

-เป็นโรคเบาหวาน
 

-ภูมิคุ้มกันต่ำลงจากการเป็นโรคประจำตัวหรือกำลังทานยากดภูมิคุ้มกันร่างกาย

 

-การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาอาการชัก (Anticonvulsant) และยาไดแลนติน (Dilantin)
 

-เหงือกติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อราบางชนิด

 

-ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรือกำลังตั้งครรภ์
 

-รับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่ครบถ้วนมากพอ


เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น"โรคเหงือก"

 

มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน

 

-เหงือกแดงและบวมหรือนุ่ม

 

-ฟันดูยาวขึ้น เนื่องจากเหงือกร่นลงไป

 

-เหงือกไม่ติดอยู่กับฟันเหมือนมีร่อง

 

-ฟันมีการขยับเขยื้อนเวลาเคี้ยว

 

-มีหนองไหลออกมาจากบริเวณร่องเหงือก

 

-มีกลิ่นปากหรือรสชาติแปลก ๆ ในปาก


วิธีการรักษาโรคเหงือก

การขูดหินปูน Scaling และเกลารากฟัน root planing การขูดหินปูนจะทำความสะอาดทั้งส่วนบนตัวฟันและบนผิวรากฟันภายในร่องเหงือก เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินปูนเหนือเหงือกและใต้เหงือก ด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าและเครื่องมือเฉพาะทาง

 

การดูแลอนามัยช่องปากที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ได้แก่ การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้ไหมขัดฟันหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันทุกวันเพื่อป้องกันการสะสมของคราบจุลินทรีย์และหินปูนเหนือเหงือกและในร่องเหงือก

 

แม้การรักษาจะเสร็จสิ้นแล้วหากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคเหงือกจะกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ๆ ดังนั้นหลังจากการรักษาแล้วผู้ป่วยควรได้รับการขูดหินน้ำลายเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ของโรคทุก 3 - 6 เดือน

 

วิธีการป้องกันโรคเหงือก

ทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มหน้าตัดเรียบด้วยวิธีขยับ ปัด และใช้ไหมขัดฟันทุกวันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์

 

พบ"ทันตแพทย์"ทุกๆ 6 เดือน เพื่อรับการตรวจเช็ค และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที