ข่าว

"ปวดหลัง" ไม่ควรมองข้าม

"ปวดหลัง" ไม่ควรมองข้าม

29 ก.ค. 2564

อาการ"ปวดหลัง" สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ เพศชายหรือเพศหญิง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ"ปวดหลัง"นั้นมีด้วยกันหลายอย่าง

 

อาการ"ปวดหลัง" สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ เพศชายหรือเพศหญิง

 

จากสถิติพบว่าร้อยละ 15-45 ของวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ มีอาการ"ปวดหลัง" ร้อยละ5 มีอาการปวดมากจนต้องไปโรงพยาบาล มีถึงร้อยละ 10 ที่อาการปวดรบกวนชีวิตและการทำงาน และร้อยละ 20 ที่อาการปวดเป็นติดต่อกันมากกว่า 1 ปี 

 

ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ"ปวดหลัง"นั้นมีด้วยกันหลายอย่างและปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้น ส่งผลให้เกิดปัญหากล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก่อนจะแสดง “อาการปวดหลัง” ออกมา

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ"ปวดหลัง” 

-ที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป ไม่ถูกต้องตามสรีระ

 

-ยกของหนัก ถือของหนัก ก้มยกของผิดวิธี

 

-การสูบบุหรี่

 

-ภาวะกระดูกพรุนหรือบาง

 

-ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลให้หมอนรองกระดูกสันหลังและก้นกบรับภาระมากกว่าจุดอื่น

 

-"ออฟฟิศซินโดรม" นั่งทำงานนาน ๆ หรือท่าทางในการเคลื่อนไหวผิดปกติ

 

อาการ"ปวดหลัง”แต่ละประเภท

"ปวดหลัง"จากการยกของหนัก : กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

 

ปวดแนวกระดูกกลางหลัง : มีปัญหาที่หมอนรองกระดูกสันหลังหรือข้อต่อกระดูกสันหลัง

 

"ปวดหลัง"เยื้องออกมาด้านข้าง : กล้ามเนื้อหลังมีความผิดปกติ

 

ปวดร่วมกับมีอาการชา-อ่อนแรง : ระบบประสาท เส้นประสาทผิดปกติ

 

ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต : เส้นประสาทอาจถูกกดเบียด


ปวดหลังแบบล้าๆ เมื่อยๆ : อาจเกิดจากกล้ามเนื้อ

 

"ปวดหลัง"ระดับไหน...ควรรีบไปพบแพทย์

ถึงแม้ว่าอาการ"ปวดหลัง"อาจต้องใช้เวลากว่าอาการจะทุเลาลง แต่บางครั้งก็อาจมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่

 

-อาการปวดหลังที่เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเกินกว่า 3 เดือน

 

-ปวดหลังร้าวลงสะโพก ขา จนถึงบริเวณน่องหรือเท้า

 

-อาการปวดเฉียบพลันที่ไม่ทุเลาลงเมื่อได้พักหรือมีอาการปวดรุนแรง จนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

 

-อาการปวดหลังจากการได้รับบาดเจ็บหรือหกล้ม

 

-อาการปวดร่วมกับควบคุมการขับถ่ายไม่ได้

 

การรักษาอาการ'ปวดหลัง'

 

1. การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด เช่น การให้ทานยา การทำกายกายภาพบำบัด การนอนพัก การฉีดสเตียรอยด์เข้าโรงกระดูกสันหลัง เป็นต้น

 

2.การรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อวิธีที่หนึ่งไม่สามารถรักษาอาการปวดหลังให้หายขาดได้ หรือคนไข้มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งวิธีการผ่าตัดก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่อาการอีกเช่นกัน

 

เราทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการ"ปวดหลัง"ได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อหลัง เช่น ยกของหนัก แบกของหนัก และควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับรูปร่างของเรา