ข่าว

สังคมอยู่ยาก "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ"เปิดผลสำรวจ ความหวาดกลัวของชาวบ้าน

สังคมอยู่ยาก "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ"เปิดผลสำรวจ ความหวาดกลัวของชาวบ้าน

06 ส.ค. 2564

"พีเพิลโพล" เผยผลสำรวจ ชาวบ้านหวาดกลัวอยู่ในดงลักทรัพย์ ตามด้วยหวั่นถูกทำร้ายร่างกาย

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ยังต้องสร้างความหวาดวิตกเพิ่มมากขึ้นเมื่อพบว่า สถานการณ์ทางสังคมขณะนี้ มีคดีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น

ล่าสุด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ นำเสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ “พีเพิลโพล (People Poll)” เรื่อง ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมและความเชื่อมั่น ของประชาชนต่อประสิทธิภาพการ ป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 

พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์  หักพาล ที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สบ. 9) ดำเนินการสํารวจความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมและความเชื่อมั่น ของประชาชนต่อประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจ และความพึงพอใจ ต่อการ ให้บริการภายในสถานีตํารวจ หรือ พีเพิลโพล (People Poll) เพื่อเข้าใจถึงความต้องการ ปัญหาของประชาชน อย่างแท้จริง และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการพัฒนาแนวทางการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Smart Safety Zone 4.0)

สำหรับผลสำรวจเดือนกรกฎาคม 2564 นั้น ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 – 20 กรกฎาคม 2564 โดย ให้สถานีตํารวจทั่วประเทศ รวม 1,484 แห่ง สํารวจความคิดเห็นของประชาชนอย่างน้อย สถานีละ 100 ตัวอย่าง ในรูปแบบ Google form มีประชาชนตอบแบบสอบถาม จํานวน 187,632 ตัวอย่าง จำแนกเป็น หญิง ร้อยละ 48.6 ชาย ร้อยละ 51.4 ช่วงอายุที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 20 – 29 ปี หรือร้อยละ 27.30

ผลสำรวจในภาพรวม พบว่า ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรมลดลง ในขณะที่ ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตํารวจอยู่ในระดับที่ สูงขึ้น

สังคมอยู่ยาก \"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ\"เปิดผลสำรวจ ความหวาดกลัวของชาวบ้าน มื่อสอบถามประเภทอาชญากรรมที่หวาดกลัว พบว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวการลักทรัพย์มาก ที่สุด (ร้อยละ 67.22) รองลงมา คือ การถูกทำร้ายร่างกาย (ร้อยละ 59.72) ชิงทรัพย์ (ร้อยละ 56.42) แก็งคอลเซ็นเตอร์ (ร้อยละ 56.21) วิ่งราวทรัพย์ (47.67%) และการพนันออนไลน์ (ร้อยละ 46.82) ตามลำดับ

สำหรับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการภายในสถานีตำรวจในภาพรวมทั้งประเทศอยู่ที่ ร้อยละ 78.25 ซึ่งมีระดับที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน กล่าวคือ ถึงแม้ว่าคะแนนความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่สูงขึ้น แต่ประชาชนยังคงมีความหวาดกลัว อาชญากรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชญากรรมสมัยใหม่หรืออาชญากรรมไซเบอร์ที่มีผลมาจากโลกออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดียที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อการสื่อสาร และการดำรงชีวิตในขณะนี้ คณะทำงานได้นำผลสำรวจมาพัฒนา ปรับปรุงแนวทางการทำงานด้านการให้บริการ และงานป้องกัน อาชญากรรม อาทิเช่น นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในงานสายตรวจ , แอพพลิเคชั่น Police I Lert U , สายตรวจโดรน , เสาส่งสัญญาณ SOS , สร้าง Cyber village รวมถึงโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซนเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย ตามนโยบายของ ผบ.ตร. ที่กล่าวว่า “จะทำอย่างไรให้ประชาชนต้องไม่เกิดความหวาดระแวงภัยอาชญากรรม หากสามารถทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งสามารถเดินคนเดียวได้อย่างสบายใจบนถนนตอนกลางคืน”

ทั้งนี้ได้คัดเลือก สถานีตำรวจนำร่องทั่วประเทศจำนวน 15 สถานี ประกอบด้วย สน.ลุมพินี , สน.ห้วยขวาง , สน.ภาษีเจริญ , สภ.ปากเกร็ด , สภ.เมืองสมุทรปราการ , สภ.เมืองพัทยา , สภ.เมืองระยอง , สภ.เมืองปราจีนบุรี , สภ.ปากช่อง , สภ.เมืองอุดรธานี , สภ.เมืองเชียงใหม่ , สภ.เมืองพิษณุโลก , สภ.เมืองราชบุรี , สภ.เมืองภูเก็ต และ สภ.หาดใหญ่

โดยคัดเลือกพื้นที่ที่เป็นแลนด์มาร์ค แหล่งเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่ประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมมาสร้างเป็นพื้นที่ปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจ ปลอดภัย ในชุมชน

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ได้กล่าวถึงนโยบายการป้องกันอาชญากรรมว่าต้องเน้นการทำงานเชิงรุก โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาพัฒนารูปแบบการทำงานให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และใช้ทรัพยากรให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และลดความหวาดกลัวภัยของประชาชน

นอกจากนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “สองเดือนที่ผ่านมา “พีเพิลโพล” ช่วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องที่ได้มากขึ้น รวมถึงส่งผลเชิงบวกต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจเป็นอย่างมาก โดยได้นำผลสำรวจความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนมาปรับใช้ในการทำงาน หลายด้าน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีในงานป้องกันอาชญากรรม การติดต่อสื่อสารกับประชาชนใน ท้องที่ และการทำงานรูปแบบ “New normal” ลดการสัมผัสแต่สามารถให้บริการได้เหมือนเดิม