"โอลิมปิก2020" กรณีศึกษาเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค
การได้มา 2 เหรียญ ในกีฬาโอลิมปิก 2020 อันเป็นผลงานของทัพนักกีฬาทีมชาติไทย กลายเป็นคำถามที่น่าสนใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับทีมชาติไทย เมื่อเทียบกับผลงานที่เคยทำไว้ในปี2016
ผลงานของทัพนักกีฬาไทย ใน"โอลิมปิก 2020" เวทีระดับสากล สถิติที่ออกมาด้วยการได้มา เพียง 2 เหรียญ คือ เทควันโด 1 เหรียญทอง , มวยสากล 1 เหรียญทองแดง ถือว่าเป็นสิ่งที่สวนทางกับผลงานเมื่อครั้ง โอลิมปิก2016 หรือ ริโอเกมส์ ที่บราซิล เพราะครั้งนั้นไทย ทำได้ 6 เหรียญ แบ่งเป็น ทอง 2 เงิน 2 และ ทองแดง 2
ที่น่าสนใจต่อข้อเปรียบเทียบระหว่าง "โอลิมปิก 2016" และ "โอลิมปิก 2020" คือ การเห็นถึงความต่างของผลงานนักกีฬาทีมชาติไทย ในเวทีระดับสากล เพราะจำนวนเหรียญกับโอลิมปิก ครั้งล่าสุดที่ถดถอยลง ได้มาเพียง2 เหรียญ กลายเป็นความรู้สึกหรือคำถาม ที่มาจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. ที่มองว่านี่คือการถดถอย
ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ประเมินว่า ถึงเวลาที่ต้องกลับมาทบทวน ศักยภาพความสามารถของนักกีฬาไทย ในการแสดงออกบนเวทีกีฬาระดับสูงสุดของโลก ว่าทำได้ดีหรือไม่ เพราะสถิติที่ออกมาควรจะดีกว่าที่เคยทำได้ จึงจะเรียกได้ว่าเกิดการพัฒนา
สถิติที่หมายถึง ผลงานความสามารถในการไปถึงความสำเร็จ เพื่อทำผลงานของนักกีฬา เมื่อเข้าแข่งขันในกีฬาชนิดนั้นๆ สถิติที่หมายถึงผลงานในจำนวนเหรียญ ที่ควรจะบวกเพิ่ม เพราะหากลดลงย่อมหมายถึงการพัฒนาที่ไปไม่ถึง กรณีนี้จึงเป็นสิ่งที่สมาคมกีฬา ทุกแห่งจะต้องนำไปคิดทบทวน เพื่อพัฒนาผลงานสร้างความสำเร็จร่วมกัน
จริงอยู่ที่ ในรอบ 2 ปีมานี้ วงการกีฬาทั่วโลก ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่ปัญหานี้ก็คือ การไร้พรมแดน ทุกชาติล้วนประสบปัญหาไม่ต่างกัน ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ในแต่ละชนิดกีฬาจึงขึ้นอยู่กับการพัฒนาว่าจะทำได้ดีเพียงใด เพราะผลงานที่เคยสร้างไว้ คือ สิ่งที่ทำให้กีฬาอยู่นิ่งเฉยไม่ได้
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำผลงานคือ คือคำตอบที่มาจากการทุ่มเท เพื่อก้าวข้ามอุปสรรค