ข่าว

"เครือข่ายชาวสวนมังคุด"ขอบคุณ"กองทัพอากาศ"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทางช่วงวิกฤติ "โควิด-19"

"เครือข่ายชาวสวนมังคุด"ขอบคุณ"กองทัพอากาศ"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทางช่วงวิกฤติ "โควิด-19"

10 ส.ค. 2564

"เครือข่ายชาวสวนมังคุด"ขอบคุณ"กองทัพอากาศ"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทาง วอนอย่าดราม่าซ้ำเติม"เกษตรกร" ย้ำชัดขนส่งทางอากาศทางออกดีที่สุดช่วงวิกฤติ "โควิด-19"


จากกรณี"กองทัพอากาศ"ได้นำเครื่องบิน SAAB 340 ลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรผลไม้จากแหล่งผลิตทางภาคใต้สู่ปลายทางภาคเหนือ จนเกิดดราม่าว่า “ไม่เห็นด้วยกับกองทัพอากาศที่เอาเครื่องบิน SAAB 340  บินขนมังคุดจากสุราษฎร์ธานี ไปแลกเปลี่ยนกับลำไยที่เชียงใหม่และลำพูน เป็นการใช้ทรัพย์สินที่ผิด ประเภทและไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย” 
 

 

กระทั่งพลอากาศโท ฐานัตถ์ จันทร์อำไพ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ในฐานะโฆษกกองทัพอากาศ ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19  และเป็นการใช้ชั่วโมงฝึกบินของนักบินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ได้ใช้งบเพิ่มขึ้น

 

ประกอบกับแต่ละเที่ยวบินมีพื้นที่ว่างพอ สำหรับการบรรทุกสิ่งของ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับภารกิจการช่วยลำเลียงผลิตทางการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในการระบายสินค้าไปยังพื้นที่ปลายทาง 

 

           \"เครือข่ายชาวสวนมังคุด\"ขอบคุณ\"กองทัพอากาศ\"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทางช่วงวิกฤติ \"โควิด-19\"

          นายธวัชชัย เทพเลื่อน ผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองสุราษฎร์ธานี จำกัด

 

ล่าสุดวันนี้(10 ส.ค.64)นายธวัชชัย เทพเลื่อน ผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองสุราษฎร์ธานี จำกัดได้ออกมากล่าวขอขอบคุณทางกองทัพอากาศที่ได้นำเครื่องบิน SAAB 340 มาช่วยในการระบายผลผลิตเงาะ มังคุดจากแหล่งผลิตสู่ปลายทางอย่างรวดเร็วเนื่องจากสองชนิดนี้เป็นผลไม้เปราะบาง เน่าเสียได้ง่าย หากใช้ระยะเวลาขนส่งที่ยาวนาน  ในขณะที่ทุกวันนี้มีอยู่ทางเลือกเดียวคือการขนส่งโดยรถยนต์

 

\"เครือข่ายชาวสวนมังคุด\"ขอบคุณ\"กองทัพอากาศ\"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทางช่วงวิกฤติ \"โควิด-19\"

 

“จริงอยู่การขนส่งทางอากาศอาจไม่คุ้มค่าคุ้มทุน แต่ถ้ามองในแง่ความสดของผลไม้ถึงมือผู้บริโภค ก็ถือว่าคุ้มมาก ผลไม้ก็ได้ระบายออกจากสวนอย่างรวดเร็ว อย่ามองแค่ว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม แต่ให้มองถึงประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่า   แต่ขอให้เป็นผลผลิตของสหกรณ์ของเกษตรกรจริง ๆ ไม่ใช่ของบริษัทเอกชน”

 

นายธวัชชัย  กล่าวต่อว่า  การกระจายผลไม้จากแหล่งผลิตที่ผ่านมานั้นใช้รถบรรทุกเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นส่งให้กับทางชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยหรือ ชสท.ที่กรุงเทพฯหรือสหกรณ์ปลายทางอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือและอีสาน ซึ่งจะต้องขนส่งโดยรถยนต์ทั้งสิ้นและใช้ระยะเวลาเดินทางหลายวัน เมื่อไปถึงจุดหมายคุณภาพอาจจะมีปัญหาไม่สดเหมือนต้นทางจากแหล่งผลิต

 

“อย่างวันนี้ก็ส่งเงาะไปโคราช 1 ตันกว่าจะถึงคงอีก 2 วัน ถ้าใช้เครื่องบินชั่วโมงเดียว คุณภาพผลผลิตก็ไม่เสียหาย ยิ่งในช่วงโควิดระบาด ขนส่งทางเครื่องบินน่าจะเป็นทางออกเดียวที่ดีที่สุด”ผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองสุราษฎร์ธานี จำกัดกล่าว

 

และย้ำว่าหากจะต้องขนส่งทางอากาศก็จะต้องมีการเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าเมื่อถึงปลายทาง โดยเฉพาะการกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภคจะต้องใช้เวลาไม่นานและจะต้องขนส่งแต่ละครั้งจะต้องใช้ผลผลิตในปริมาณมากเพื่อให้คุ้มค่าใช้จ่ายในการขนส่งให้มากที่สุด

 

ขณะที่ นายพรชัย โชติวรรณ เจ้าของสวนมังคุดไข่นุ้ย อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราชยอมรับว่าการ ขนส่งทางรถยนต์ขณะนี้มีปัญหาทั้งจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และระยะเวเลที่ยาวนาน โดยเฉพาะมังคุดและเงาะ เนื่องจากไม่สามารถคงสภาพเดิมได้เมื่อถึงปลายทาง การขนส่งทางเครื่องบิน น่าจะเป็นทางออกดีที่สุดในเวลานี้

 

“เห็นด้วยอย่างมากในการขนส่งทางเครื่องบิน อย่าว่าแต่เครื่องบินของกองทัพอากาศเลย เครื่องบินของการบินไทย ช่วงนี้ยังทำการบินไม่ได้จอดทิ้งไว้เฉย ๆ ทำไมไม่เอามาบินขนผลไม้ช่วยเกษตรกรระบายผลผลิต”เจ้าของสวนมังคุดไข่นุ้ย กล่าวย้ำ

 

\"เครือข่ายชาวสวนมังคุด\"ขอบคุณ\"กองทัพอากาศ\"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทางช่วงวิกฤติ \"โควิด-19\"

 

\"เครือข่ายชาวสวนมังคุด\"ขอบคุณ\"กองทัพอากาศ\"ช่วยเร่งระบายผลผลิตสู่ปลายทางช่วงวิกฤติ \"โควิด-19\"

นายปราโมทย์ วุฒิมานพ  เจ้าของสวนมังคุดวุฒิมานพ ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

 

ด้านนายปราโมทย์ วุฒิมานพ  เจ้าของสวนมังคุดวุฒิมานพ ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช อีกรายกล่าวเห็นด้วยในการขนส่งผลผลิตผลไม้ทางเครื่องบินในช่วงวิกฤติโควิด-19 เนื่องจากการขนส่งทางรถยนต์ตามปกติไม่อาจทำได้    

 

“เห็นด้วยกับการขนส่งทางเครื่องบินในช่วงวิกฤติ แต่ถ้าอยู่ในภาวะปกติก็ไม่มีความจำเป็นเพราะระบบการขนส่งโลจิสติกส์ก็มีความพร้อมอยู่แล้ว  ส่วนคนที่ค้านก็ขอให้เข้าใจหัวอกเกษตรกรด้วย แค่ราคาตกต่ำก็เจ็บปวดมากพออยู่แล้ว  ขออย่าได้ซ้ำเติมกันอีกเลย”เจ้าของสวนมังคุดวุฒิมานพ  กล่าววิงวอน

 

นายปราโมทย์  ยังกล่าวเรียกร้องรัฐบาลให้หน่วยงานเกี่ยวข้องมาจัดระเบียบสวนผลไม้ให้ได้มาตรฐาน”จีเอพี”(GAP) พร้อมประกันราคาผลผลิตขั้นต่ำโดยคำนวณจากจุดที่คุ้มทุนเพื่อทำให้เกษตรกรมีกำลังใจในการบริหารจัดการสวนให้ได้มาตรฐานเพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพ ทั้งยังเป็นการจูงใจให้เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ เข้าสู่ระบบจีเอพีมากขึ้นเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องราคาและการตลาด

 

“ทางออกในระยะยาว ก็อยากให้หน่วยงานภาครัฐมาจัดระเบียบสวนให้ได้มาตรฐานจีเอพี(GAP) สวนไหนที่ได้จีเอพีแล้วก็ประกันราคารับซื้อให้เขาเลย สมมติมังคุดคำนวณต้นทุนแล้วประกันราคาขั้นต่ำอยู่ที่โลละ 20 บาท ถ้าขายได้ต่ำกว่านี้รัฐบาลก็ชดเชยส่วนต่างไป แต่ถ้าขายได้เกินกว่า 20 บาทก็เป็นกำไรของเกษตรกร ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกสวนก็จะหมดปัญหาเรื่องราคา รัฐบาลก็ไม่ต้องมาแก้ปัญหากันทุกปี”เจ้าของสวนมังคุดวุฒิมานพ  ย้ำทิ้งท้าย