ข่าว

ข่าวดี"จุฬาฯ" แถลงความสำเร็จ วัคซีนสัญชาติไทย"Chula-Cov 19" จ่อใช้ เม.ย.65

ข่าวดี"จุฬาฯ" แถลงความสำเร็จ วัคซีนสัญชาติไทย"Chula-Cov 19" จ่อใช้ เม.ย.65

16 ส.ค. 2564

ข่าวดี"จุฬาฯ" แถลงความสำเร็จ วัคซีนสัญชาติไทย"Chula-Cov 19" หากไม่มีอะไรผิดพลาด เตรียมใช้จริงก่อนสงกรานต์ เม.ย.65

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงความสำเร็จ การผลิตวัคซีน Chula-Cov 19 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA  สัญชาติไทยรุ่นแรก ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตเช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer-BioNTech  และวัคซีน Moderna ว่า ภายหลังทดสอบใช้งานในมนุษย์ระยะที่ 1 จากกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 36 คนแรก อายุระหว่าง 18-55 ปี ซึ่งฉีดครบเข็ม 2 แล้ว ถือว่าประสบความสำเร็จ

 

 

ข่าวดี\"จุฬาฯ\" แถลงความสำเร็จ วัคซีนสัญชาติไทย\"Chula-Cov 19\" จ่อใช้ เม.ย.65


สรุปผลได้ดังนี้
1.ความปลอดภัย พบว่า ปฎิกิริยาผลข้างเคียงจำนวน 36 คนแรก ยังไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง มีเพียงผลข้างเคียงเล็กน้อยเหมือนฉีดวัคซีนทั่วไป เช่น ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการไข้ เล็กน้อย-ปานกลาง 
2.ผลทางภูมิคุ้มกัน การตรวจวัดภูมิคุ้มกันในอาสาสมัคร พบว่า สามารถยับยั้งการจับของ RBD ปุ่มหนามได้ 100% สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
3.ภูมิคุ้มกันในเลือดจะสามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้หรือไม่ พบว่า หลังจากฉีดเข็ม 1 ไป 3 อาทิตย์ ได้ผลใกล้เคียงกับการฉีดด้วยวัคซีน"ไฟเซอร์"
4.ยับยั้งข้ามสายพันธุ์ได้หรือไม่ พบว่า ค่าเฉลี่ยตัวเลขอยู่ที่ 1285 ซึ่งตัวเลขยิ่งสูงถือว่ายิ่งดี จึงมีประสิทธิภาพยับยั้งได้ในระดับหนึ่ง

 

ทั้งนี้ จะสามารถเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการด้านเมื่อไรนั้น ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า เบื้องต้นที่ตั้งเป้าไว้สูงสุด หากทดลองในระยะ 2 พบว่า ได้ผล และปลอดภัย จะเริ่มใช้ได้ก่อนสงกรานต์ คือเดือนเมษายน 2565 แต่อย่างไรก็ตาม ต้องหางบประมาณให้ได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานภาครัฐ หรือ การระดมทุนก็ตาม

 

ข่าวดี\"จุฬาฯ\" แถลงความสำเร็จ วัคซีนสัญชาติไทย\"Chula-Cov 19\" จ่อใช้ เม.ย.65

 

ส่วนเฟส 2 จะเริ่มฉีดในอาสาสมัคร อายุ 56-75 ปี อีกจำนวน 36 คน ซึ่งต้องทำด้วยความรอบคอบมากขึ้น ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้