ถ้าโลกร้อนด้วยมือเราได้ ก็จะหายร้อนได้ด้วยมือของเรา
หากว่าวันนี้จักรวาลเราไม่มีดาวดวงอื่นนอกจากโลก คุณจะดูแลโลกเราไปกับ COP26 ไหม เพราะถ้าคุณตอบว่าไม่...มนุษย์ก็อาจจะมีโอกาสสูญพันธุ์ได้...
ทำไมเราถึงต้องมารณรงค์ลดโลกร้อน ? อันนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก เพราะไม่น่าจะมีคำตอบที่ตายตัว แต่ถ้าถามว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนคืออะไร ? หนึ่งในเหตุผลซึ่งเป็นที่ยอมรับในสากลก็คือ ในช่วงปี ค.ศ. 1760-ค.ศ. 1850 หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม’ เป็นช่วงที่มีคนคิดเครื่องจักรใหม่ ๆ ขึ้นมา อย่างเครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งการเกิดขึ้นมาของเครื่องจักรนี้จัดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการ ‘ปฏิวัติอุตสาหกรรม’ ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกเดินหน้าเร็วขึ้น พร้อมทั้งเป็นจุดเริ่มการเร่งความเร็วของการเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมไว้ให้กับคนรุ่นหลังด้วย
เมื่อเราได้เข้าใจประวัติศาสตร์โลกร้อนแล้ว และเมื่อได้มีข้อมูลออกมาจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ว่ามลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของเราไม่ว่าจะเวลาฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล หรือ ภาวะภัยแล้ง ด้วยความที่ผลกระทบเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้นจึงทำให้การรณรงค์ลดโลกร้อนระดับนานาชาติเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะจะเป็นวิธีการกระจายข่าวสารให้คนทั่วโลกได้รู้แล้วร่วมมือกันฟื้นฟูให้โลกเรากลับมาร่มรื่นขึ้นได้
มีหลายประเทศสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จึงเกิดเป็นข้อตกลงร่วมกันที่ชื่อว่า Conference of the Parties (COP) ชื่อเต็ม ๆ ก็คือ การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ ซึ่งในเดือนต.ค. ปี 2021 จะเข้าสู่ปีที่ 26 ของงานนี้แล้ว หรืองาน COP26 นั่นเอง
ระยะเวลา 20 กว่าปีที่มีการจัดงาน COP ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าโครงการ COP นี้มีส่วนสำคัญในการสร้างความร่วมมือลดภาวะโลกร้อนระดับโลก เจ้าภาพจัดงานปีนี้คือประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน (Borris Johnson) ได้ออกมาพูดถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการ ซึ่งเขาบอกว่า ถึงแม้ปีนี้เป็นที่เกิดโรคระบาด แต่ปีนี้มีประเทศที่มาเข้าร่วมตั้งเป้าหมายลดคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 40% หลายประเทศทั่วโลกปรับมาใช้พลังงานสะอาดเป็นพลังงานหลัก เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกกำลังปรับฐานการผลิตไปผลิตรถพลังงานไฟฟ้าและไฮบริดกันมากขึ้น นี่ยังไม่รวมโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่ถูกคิดขึ้นมาปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติของประเทศทั่วโลกที่ต่าง มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซมลพิษที่นำไปสู่ภาวะเรือนกระจก
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก:
https://th.wikipedia.org/wiki/การปฏิวัติอุตสาหกรรม
https://ukcop26.org
https://unsplash.com