ข่าว

โทษหนัก "ผู้กำกับโจ้" ประหารชีวิตสถานเดียว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อดีตบิ๊กตำรวจ ยัน กรณี"ผู้กำกับโจ้"พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับการสภ.เมืองนครสวรรค์ กับลูกน้องร่วมกันใช้ความรุนแรงแก่ผู้ต้องหาจนถึงแก่ความตาย โทษประหารสถานเดียว

พล ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีตรองผู้บัญชา การตำรวจนครบาล เปิดเผยกับทีมข่าวคมชัดลึกออนไลน์ ถึงกรณีที่ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับการสภ.เมืองนครสวรรค์ หรือผู้กำกับโจ้ กับพวกก่อเหตุซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนเสียชีวิต ว่า ระบบดังกล่าวในการซ้อมผู้ต้องหาหรือทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลนั้น ถามว่าเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นหรือไม่ต้องยอมรับว่าในอดีตเคยมีการใช้วิธีการเหล่านี้จริงในสมัยที่กฎหมายหรือตำรวจยังเป็นใหญ่แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ มีความทันสมัยมากขึ้นเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือในด้านการสืบสวนสอบสวนมากขึ้น จึงทำให้วิธีการรุนแรงเหล่านั้น ไม่ค่อยมีใช้ในปัจจุบันแล้ว

อีกทั้งเทคนิคในการสืบสวนที่จะได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีรุนแรงแบบนี้อีกแล้ว มันยังมีเทคนิคและวิธีอื่น ๆ ที่จะสามารถนำมาซึ่งข้อเท็จจริงได้มากกว่านี้ จึงทำให้การซ้อมผู้ต้องหาหรือการใช้ความรุนแรงในพักหลังไม่ค่อยมีใครใช้วิธีการดังกล่าวแล้ว

แต่หากว่าจะยังมีหลงเหลือผู้ที่ใช้อยู่ก็มีเพียงกลุ่มคน บางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะในคดียาเสพติด ที่จำเป็นที่จะต้องรีดเอาหลักฐาน ข้อมูลหรือแม้กระทั่งเงิน เลยทำให้ต้องใช้ความรุนแรง ส่วนตัวคิดว่ามีเพียงบางคนที่ยังคงใช้วิธีการรุนแรงนี้อยู่ แต่เชื่อว่าเป็นส่วนน้อย ซึ่งความจริงแล้วการจับในคดียาเสพติดสามารถมีการต่อรองได้เช่นการจับผู้ต้องหาแล้วต่อรองข้อมูลเพื่อที่จะนำไปสู่การจับกลุ่มขยายผลเพื่อแลกเปลี่ยนกับการรับโทษหรือการดำเนินที่เบาลง

โทษหนัก "ผู้กำกับโจ้" ประหารชีวิตสถานเดียว

สำหรับคลิปเหตุการณ์ผู้กำกับโจ้ที่เกิดขึ้นรองแต้มมองว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงเกินไปโหดร้ายและทารุณและทำให้เสื่อมเสียถึงกระบวนการยุติธรรมและที่รุนแรงที่สุดคือ คนทำก็ขาดประสบการณ์ ซึ่งประสบการณ์ เป็นเรื่องสำคัญที่สอนกันไม่ได้แต่ต้องรู้จักเรียนรู้และเก็บเกี่ยวทางด้านความรู้ และเทคนิคต่าง ๆรวมไปถึงการปลูกฝัง โดยเฉพาะในตำรวจรุ่นใหม่สมัยนี้ที่โตมาโดยไม่ได้ผ่านประสบการณ์เหมือนกันบ่มแก๊สที่ทำให้โตเร็วแต่ประสบการณ์ไม่มี ต่างจากตำรวจรุ่นก่อนรวมถึงการได้รับอิทธิพลจากนายหรือผู้บังคับบัญชาที่ไม่ถูกต้อง
โทษหนัก "ผู้กำกับโจ้" ประหารชีวิตสถานเดียว
สำหรับการกระทำผิดของผู้กำกับโจ้ และกลุ่มผู้ร่วมกระทำความผิด อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยด้วยว่า ทั้งผู้กำกับโจ้เองและผู้ร่วมกระทำความผิดต้องรับโทษเท่ากัน โทษที่จะได้รับเป็นโทษถึงประหารชีวิตอย่างเดียว เช่นมาตรา 149 การเรียกรับผลประโยชน์ในการปฎิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ,ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยการทารุณโหดร้ายก็ถือเป็นโทษประหารชีวิตเช่นกัน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดแต่เห็นเหตุการณ์และไม่ได้ห้ามมีการห้ามปรามก็ถือว่ามีความผิดเท่าเทียมกัน

สำหรับในกรณีคดีนี้ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวด้วยว่าผู้ต้องหาทั้งหมด จะทยอยมอบตัวรวม ไปถึงตัวผู้กำกับโจ้ เนื่องจากหากหนีก็ไม่มีทางรอด เพราะหลักฐานแน่นหนา เพียงแต่อาจจะมีการหนีไปตั้งหลักหรือหาช่องทาง รวมไปถึงสงบสติอารมณ์ก่อนเท่านั้น แต่หากคิดจะหนีก็ตอบว่าไม่รอด เชื่อว่าจะสามารถจับตัวผู้กระทำความผิดทั้งหมดได้ไม่นานนี้อีกทั้งยังเชื่อว่าคดีนี้ไม่มีทางเงียบโดยเฉพาะในคดีในสมัยนี้ที่เงียบได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่จะคอยทำการท้วงเตือนโดยการโพสต์ผ่านโซเชียล ซึ่งเป็นการกระตุ้นเตือนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานและให้ความยุติธรรมมากขึ้น
โทษหนัก "ผู้กำกับโจ้" ประหารชีวิตสถานเดียว
ซึ่งก็พอทราบมาบ้างว่าตัวผู้กระทำความผิดหรือผู้กำกับโจ้พอมีประวัติด่างพร้อยมาบ้างเป็นตำรวจที่มีตำหนิ มีชื่อเสียงเป็นที่โจษขานไม่ใช่เพียงแค่ภายในจังหวัดแต่ไปลามไปถึงนอกจังหวัดโดยรอบด้วย

สำหรับวิธีการซ้อมผู้ต้องหาหรือทำรับกระทะความรุนแรงกับผู้ต้องหาควรจะเป็นเรื่องที่หมดไปจากวงการสืบสวนสอบสวนได้แล้วเนื่องจากในปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนมีผู้คนให้ความสำคัญมากขึ้น หากจะเอาผิดจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานและหลักฐานต่างๆต้องมาได้มาอย่างถูกต้องไม่ใช่หลักฐานที่ปั้นขึ้นมาดังนั้นระบบเก่า ๆ ควรจะเลิกใช้ได้แล้ว
ด้านภาพลักษณ์ขององค์กรตำรวจในปัจจุบันต้องขอพูดตามตรงว่าเป็นภาพลักษณ์ที่ประชาชนไม่ให้ความเชื่อถือและเป็นเรื่องที่คนทั่วไปวิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้วยิ่งมาเกิดเรื่องราวแบบนี้ขึ้นยิ่งทำให้องค์กรเสียหายดังนั้นหลังจากนี้ผู้บังคับบัญชาจะต้องกู้ภาพลักษณ์ของตำรวจกลับคืนมาให้ได้ให้ภาพลักษณ์ของตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชนให้ได้หลีกเลี่ยงการทำสิ่งไม่ดีหรือการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งหากจะแก้ภาพลักษณ์ของตำรวจต้องเริ่มต้นที่หัวหรือผู้บังคับบัญชา เพราะหากหัวไม่ส่ายหางก็จะไม่กระดิก ถ้าผู้บังคับบัญชามีการเอาจริงเอาจังตามลำดับขั้นลงมาเอาใจใส่รวมถึงสำรวจพฤติกรรมของลูกน้อง สำหรับเหตุการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีการสั่งการอย่างรวดเร็ว ในการให้ออกจากราชการและมีการเร่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน โดยเร็วเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้และหลังจากนี้ก็จำเป็นที่จะต้องไปอบรมรวมถึงขาดโทษผู้กระทำผิดเพื่อให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่างและฟื้นศรัทธาของประชาชน เชื่อว่าการฟื้นภาพลักษณ์ของตำรวจไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจากหน้าที่ของตำรวจคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ