ข่าว

สพ.รฟ. เริ่มเคลื่อนแล้ว รับซักฟอก ศักดิ์สยาม ทวงที่ดิน"เขากระโดง"

สพ.รฟ. เริ่มเคลื่อนแล้ว รับซักฟอก ศักดิ์สยาม ทวงที่ดิน"เขากระโดง"

26 ส.ค. 2564

สมาพันธ์คนงานรถไฟ( สพ.รฟ. )เริ่มเคลื่อนแล้ว รับซักฟอก ศักดิ์สยาม ทวงที่ดิน"เขากระโดง" คืน ให้ตรวจสอบโดยเร่งด่วน

 

 

วันที่ 26 ส.ค. 64 ที่อาคารรัฐสภา นายสุวิช  ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.) พร้อมคณะ ได้ยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบที่ดิน "เขากระโดง" จังหวัดบุรีรัมย์มีใจความดังนี้ 

 

ที่ สพ.รฟ. 003 / 2564

 

 

26 สิงหาคม 2564

 

 

เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการทุจริตกรณีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณเขากระโดง ตำบลอิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

เรียน ประธานคณะกรรมาธิการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์  เตมียเวส  

อ้างถึง   1.คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ ๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

 

 

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๘๐๒๗/ ๒๕๖๑ลงวันที่  ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

 

 

3.พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2543 มาตรา 61 ,62



 

 

สพ.รฟ. เริ่มเคลื่อนแล้ว รับซักฟอก ศักดิ์สยาม ทวงที่ดิน\"เขากระโดง\"

 

สิ่งที่ส่งมาด้วย

 

๑.หนังสือประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ปช. ๐๐๘๑/๑๐๘๕ ถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๔ เรื่องให้ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดิน

 

๒. บันทึกการประชุมร่วมข้อพิพาทการรถไฟฯลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๓

 

๓. มติคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ นร.๐๖๐๑/๒๑๑ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๑  

 

เนื่องด้วยสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวขององค์กรคนงานรถไฟ ทั้งที่อยู่ในระบบรถไฟทั่วไปและระบบรถไฟฟ้า ทั้งที่เป็นพนักงานปัจจุบัน อดีตผู้ที่ปฏิบัติงานในกิจการรถไฟฯ รวมทั้งครอบครัว

 

 

วัตถุประสงค์ปกป้องกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และระบบการขนส่งทางรางของรัฐ ให้มีความสำคัญในการทำหน้าที่โดยรัฐเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการที่เป็นธรรม

 

 

รวมทั้งการปกป้องระบบการขนส่งทางรางของรัฐ ให้เป็นเสาหลักทางด้านการขนส่งของประเทศ

 

 

จากกรณี ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(นายปานเทพ  กล้าณรงค์ราญ)ได้มีหนังสือที่ปช.๐๐๑๘/๑๐๘๕  ถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่  ๑๔ กันยายน  ๒๕๕๔

 

 

กล่าวหาให้ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ (ตามหนังสือที่ส่งมาด้วย ๑) ของโฉนดที่ดินเลขที่  ๓๔๖๖ (นายชัย ชิดชอบ เป็นผู้ขอออกโฉนด) และโฉนดเลขที่  ๘๕๖๔( นางกรุณา  ชิดชอบ) ถือกรรมสิทธิ์ ตำบลอิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

 

 


 

                

 

ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่า“การออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๔๖๖ และ ๘๕๖๔  เป็นการออกโฉนดในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน

 

 

จึงเป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้แจ้งกรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๖๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙๙ ”

 

 

จนถึงปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯแต่ประการใด ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และ พิพากษาศาลฎีกาที่  ๘๐๒๗/ ๒๕๖๑ ลงวันที่  ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ 

 

 

ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐได้รับความเสียหายอย่างยิ่ง  เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ มีจำนวนเนื้อที่ ๕,๐๘๓ ไร่ ๘๐ ตารางวา  อันเป็นที่หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นทรัพย์สิน
ของแผ่นดิน

 

 

เข้าลักษณะเป็นที่ดินรถไฟมาตรา ๓ (๒) ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดวางทางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ. ๒๔๖๔ และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๖ (๑) (๒)

 

 

กล่าวคือ ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินรถไฟหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของรถไฟ ห้ามไม่ให้เอกชนหรือบริษัทใด ๆ ถือกรรมสิทธิ์ เข้าครอบครองทำประโยชน์ด้วยวิธีใด ๆ ตราบใดที่ยัง “ไม่มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเป็นพิเศษว่าทรัพย์นั้น ๆ ขาดจากเป็นที่ดินรถไฟ และมีการเพิกถอนหรือแก้ไขพระราชกฤษฎีกาสงวนที่ดินของการรถไฟฯ” โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

๑. เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน  ๒๔๖๒ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์ให้สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี  ให้กรมทางหลวง ตรวจและวางแนวทางรถไฟ ตั้งแต่นครราชสีมาไปยังบุรีรัมย์ จนถึงอุบลราชธานี ให้เสร็จภายใน  ๒  ปี

 

 

โดยได้แต่งตั้งข้าหลวงพิเศษจัดการที่ดิน ดำเนินการปักหลักเขตที่ดินที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าห้ามผู้หนึ่งผู้ใดจับจองเป็นเจ้าของ

 

 

ส่วนที่ดินที่มีการครอบครองก่อน ๘ พฤศจิกายน  ๒๔๖๒ ห้ามมิให้เจ้าของนำที่ดินที่อยู่ในเขตที่ดินรถไฟตามที่ปรากฏในแผนที่ ไปยกหรือซื้อขาย แลกเปลี่ยนกับผู้หนึ่งผู้ใด ห้ามมิให้สร้างบ้านเรือน ปลูกต้นไม้ หรือทำไร่ ก่อนได้รับอนุญาตจากข้าหลวงพิเศษ และกรมรถไฟหลวง 

 

 

เห็นว่า การก่อสร้างทางรถไฟมีความจำเป็นต้องใช้หินโรยทางจึงวางแนวและดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณ “เขากระโดง”และบ้านตะโกอันเป็นแหล่งระเบิดหินและย่อยหิน มีระยะทาง  ๘ กิโลเมตร ในช่วง ๔  กิโลเมตรแรก มีผู้เป็นเจ้าของ
ที่ดินจำนวน ๑๘ ราย มีความกว้างจากกึ่งกลางทางรถไฟข้างละ ๑๕ – ๒๐ เมตร

 

 

ส่วนอีก ๔ กิโลเมตรต่อไปจนถึงบริเวณที่มีการระเบิดและย่อยหิน ขณะนั้นไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง โดยข้าหลวงพิเศษจัดการที่ดินได้จัดทำแผนที่ไว้เป็นหลักฐาน

 

ซึ่งถือได้ว่าที่ดินของการรถไฟที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินไม่มีเอกชนรายใดอ้างสิทธิ์ครอบครองได้  เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาหรือประกาศกระแสพระบรมราชโองการ 

 

 

ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ดินรถไฟตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. ๒๔๖๔ มาตรา ๓ (๒) บุคคลใดจะเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

 

 

และตามมาตรา ๖(๑),(๒) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวห้ามไม่ให้เอกชนเข้าหวงห้ามหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินรถไฟห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินรถไฟ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  ๑๓๐๔ 
 

 

ต่อมาเมื่อวันที่  ๙  พฤศจิกายน  ๒๕๑๓  ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเกิดข้อพิพาทระหว่างนายชัย  ชิดชอบ และราษฎรบุกรุกที่ดินของการรถไฟในพื้นที่ “เขากระโดง” ตำบลอิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ กับการรถไฟแห่งประเทศไทย

 

 

ภายหลังการประชุมเจรจากันนายชัย  ชิดชอบ  รับว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ  และทำหนังสือขออาศัยในที่ดินของการรถไฟ และการรถไฟตกลงยินยอมให้อาศัย  ปรากฏตามบันทึกการประชุมร่วมฯ(ตามที่ส่งมาด้วย)

 

 

จากนั้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๕ นายชัย  ชิดชอบ นำที่ดินไปทำการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๔๖๖ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๕๕ ตารางวาในพื้นที่การรถไฟซึ่งตั้งอยู่“เขากระโดง” ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากออกโฉนดแล้วได้นำที่ดินขาย
ให้กับนางละออง  ชิดชอบ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๕ 

 

 

และต่อมานางละออง  ชิดชอบ  ได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวขายต่อให้กับบริษัทศิลาชัยบุรีรัมย์ฯ

 

 

นอกจากนี้เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๑๘ ได้ปรากฏว่านายประพันธ์  สมานประธาน  ได้นำที่ดินบริเวณพื้นที่ “เขากระโดง”ไปออกโฉนดเลขที่ ๘๕๖๔ เนื้อที่ ๓๗ ไร่  ๑ งาน ๕๖  ตารางวา และนำที่ดินขายต่อเป็นทอด ๆ

 

 

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ที่ดินแปลงดังกล่าวมีการโอนขายให้กับนางกรุณา  ชิดชอบ  และทำนิติกรรมการจดจำนองกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

 

 

โดยสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์มีหนังสือถึงธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) เลขที่๑๓๑๒๙/๘๕๖๗  ลงวันที่ ๓๐  ตุลาคม ๒๕๔๐
แจ้งและยืนยันว่าที่ดินที่จดจำนองอยู่ในเขตทางรถไฟ 

 

 

จนกระทั่งเมื่อปี  ๒๕๓๙  เกิดมีกรณีพิพาทบุกรุกในที่ดินบริเวณพื้นที่ “เขากระโดง” ตำบลอิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างราษฎรรวมถึงนายชัย  ชิดชอบ และนางกรุณา  ชิดชอบ กับการรถไฟฯ

 


ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐ จังหวัดบุรีรัมย์ได้ส่งเรื่องข้อพิพาทดังกล่าวให้คณะกรรมกฤษฎีกาวินิจฉัย จนในที่สุด คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ปรากฏตามหนังสือ นร.๐๖๐๑/๒๑๑ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม
๒๕๔๑(ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย )

 

 

ต่อมาปี ๒๕๔๘ คณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต กรณีการครอบครองที่ดินของการรถไฟ บริเวณเขากระโดง ต.อิสาณ  อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

 

 

และมีมติว่า การออกเอกสารสิทธิ์ของประชาชนอื่นและการออกโฉนดที่ดิน เลขที่ ๓๔๖๖ และ ๘๕๖๔ ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ เนื้อที่ ๓๗ ไร่ ๑ งาน ๖๕ ตารางวา ของนักการเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินของการรถไฟฯ เป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ถือว่าผู้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าว ได้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ 

 


นอกจากนี้เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.)ได้ไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

 

 

กล่าวหานายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กับพวก ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

 

 

กรณีนายชัยชิดชอบ ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และนางกรุณา  
ชิดชอบ ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องไว้พิจารณา

 

 

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ ป.ป.ช.มีมติว่าที่ดินโฉนดเลขที่๓๔๖๖,๘๕๖๔ ทั้ง ๒ แปลง ซึ่งนายชัย ชิดชอบ และ นางกรุณา  ชิดชอบ  ครอบครองอ้างกรรมสิทธิ์บริเวณพื้นที่ “เขากระโดง”นั้น
เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ อันเป็นที่หวงห้ามเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

 

 

และได้ดำเนินการส่งเรื่องให้กับกรมที่ดินทำการเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง ๒ แปลง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๑ ประกอบพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

 

 

นอกจากนี้ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ยังได้มีหนังสือที่ ปช.๐๐๘๑/๑๐๘๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ ถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่องให้ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่ดินทั้ง  ๒ แปลง ที่ขอออกโฉนดที่ดินของการรถไฟที่สงวนหวงห้ามไว้

 

จนในที่สุด ๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๐ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คดีระหว่างราษฎรจำนวน ๓๕ รายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นจำเลยที่ ๑ และ กรมที่ดินเป็นจำเลยที่ ๒ เพื่อขอออกโฉนดที่ดิน

 

 

ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทในพื้นที่“เขากระโดง”ตามแผนที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของการรถไฟฯ พิพากษาให้ขับไล่ รื้อถอน และให้ราษฎรชดใช้ค่าเสียหายให้กับการรถไฟฯ 

 

 

จนในที่สุดเมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ.๒๕๖๐ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คดีระหว่างราษฎรจำนวน ๓๕ รายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นจำเลยที่ ๑ และกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ ๒ เพื่อขอออกโฉนดที่ดิน

 

 

ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทในพื้นที่“เขากระโดง”ตามแผนที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของการรถไฟฯ พิพากษาให้ขับไล่ รื้อถอน และให้ราษฎรชดใช้ค่าเสียหายให้กับการรถไฟฯ 

 

 

นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ ๘๐๒๗/ ๒๕๖๑  คดีซึ่งนายศุภวัฒน์  เกษมสุทธิ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องการรถไฟเป็นจำเลย  เพื่อรังวัดขอออกโฉนดที่ดินที่ซื้อมาจากนายชัย  ชิดชอบ

 

 

ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.๓ ข เลขที่ ๒๐๐ อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ ๒๔ ไร่  ๔  ตารางวา ซึ่งการรถไฟฯ ทำหนังสือคัดค้านและต่อสู้คดีอ้างว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดเป็นที่ดินของการรถไฟฯทั้งแปลง ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องและวินิจฉัยทำนองเดียวกันกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐

 

 

จากกรณีดังกล่าวได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ ๑๖ – ๑๙กุมภาพันธ์  ๒๕๖๔  โดยกล่าวหาว่าได้กระทำการจงใจบริหารราชการแผ่นดินโดยเห็นแก่ประโยชน์ของตนเอง เครือญาติและพวกพ้อง

 

 

ไม่คำนึงถึงผลเสียแก่ประเทศชาติและประชาชน ไม่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ มีผลประโยชน์ทับซ้อนทุจริตต่อหน้าที่และปล่อยปละละเลย  สมคบกันเพื่อปิดบังการทุจริตไม่ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง

 

โดยเฉพาะต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองและผู้อื่น

 

และกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีมีการบุกรุก ครอบครอง ทำประโยชน์ ตลอดจนออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ของการรถไฟโดยมิชอบ

 

อีกทั้งกล่าวหาว่าจงใจละเว้นไม่บังคับคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย

 

 

ซึ่งข้อเท็จจริงยังได้ปรากฏว่านายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ  ได้แจ้งที่อยู่ต่อรัฐสภาเมื่อครั้งได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าตนเองอยู่บ้านเลขที่ ๓๐/๒ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลอิสาณอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

ซึ่งบ้านเลขที่ดังกล่าวนั้นได้ตั้งอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๕๖๔ ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ

 

 

นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่ามีบรรดาเครือญาติ และบุคคลใกล้ชิด ได้บุกรุกครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินของ การรถไฟฯโดยมิชอบด้วยกฎหมายจำนวนมาก พฤติกรรมดังกล่าวเป็นที่สนใจของประชาชนและสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง

 

 

เมื่อมีคำพิพากษาของศาลฎีกาถึงที่สุด และมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ได้เคยชี้มูลจนเสร็จสิ้นยุติเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วถือเป็นข้อยุติว่าที่ดินบริเวณ “เขากระโดง” ตามแผนที่ทั้งแปลงเนื้อที่ จำนวน ๕๐๘๓ ไร่ ๘๐ ตารางวา  ตำบล
อิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์ ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่ดินของการรถไฟฯ

 

 

ดังนั้นเอกสารสิทธิ์ใดที่ออกทับซ้อนพื้นที่ในที่ดินรถไฟจึงออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

 

หนังสือที่ยื่นต่อ กมธ. ป.ป.ช. กล่าวหาในตอนท้ายว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ  ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รู้ข้อเท็จจริงการกระทำความผิดของตนเองและเครือญาติโดยสมบูรณ์แล้ว

 

 

ดังนั้นจึงถือว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ จงใจบริหารราชการแผ่นดินโดยเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องไม่คำนึงถึงผลเสียแก่ประเทศชาติและประชาชน ไม่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ  ไม่ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง 

 

 

โดยเฉพาะต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองและผู้อื่น

 

 

และกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗  เป็นตัวการ

 

 

และหรือผู้สนับสนุนให้ตนเอง ญาติพี่น้อง และพวกพ้อง ที่ได้ยึดถือครอบครองเบียดบังที่ดินของการรถไฟฯ อันเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายและโดยทุจริต ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ปกป้องละเว้นและเลือกปฏิบัติ มีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยไม่ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับเครือญาติ พวกพ้องและตนเอง

 

 

และกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

 

 

รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งให้ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.  ๒๕๖๐  มาตรา ๒๑๙ วรรคสอง  ประกอบข้อ ๗  ข้อ ๘ และข้อ ๑๑

 

 

เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๖๐มาตรา ๑๖๐ (๕)และมาตรา ๑๗๐ (๔) ต่อไปด้วย

 

 

๒.เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา๑๖  ก.พ. ๒๕๖๐ และคำพิพากษาศาลฎีกา ลงวันที่  ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของการรถไฟ ฯ ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.๓)และสิทธิครอบครอง(ส.ค.๑)เพราะการออกโฉนดหรือเอกสารสิทธิ์ใดๆไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

 

ซึ่งเป็นการที่ศาลวินิจฉัยตามแผนที่พิพาทของการรถไฟซึ่งมีเนื้อที่ จำนวน ๕,๐๓๘ ไร่ ๘๐ ตารางวาเป็นการวินิจฉัยครอบคลุมที่ดินทั้งแปลง (มิใช่เฉพาะราย) และคดีเป็นที่ยุติสิ้นสุดแล้วและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติแล้วด้วย

 

 

เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๖๑ ที่บัญญัติรองรับว่า“เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์.....ให้แก่ผู้ใดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่ง

 

 

รองอธิบดีหรือผู้ตรวจราชการกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้.....” มาตรา ๖๒ บัญญัติว่า “ บรรดาคดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว เมื่อศาลพิจารณาพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วให้ศาลแจ้งผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดหรือคำสั่งนั้นต่อเจ้าพนักงานที่ดินแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ด้วย”

 

 

เนื่องจากในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษานั้นกรมที่ดินตกเป็นจำเลยที่ 2 ด้วยและศาลได้แจ้งผลคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าวข้างต้นแล้ว

 

 

หนังสือที่ยื่นต่อ กมธ. ป.ป.ช. กล่าวหาว่า กรมที่ดินเพิกเฉย ไม่ดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ศาลมีคำพิพากษาตลอดรวมทั้งกรณีโฉนดเลขที่  ๓๔๖๖ และ ๘๕๖๔ ตำบลอิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ ,นางกรุณา  ชิดชอบ  และบุคคลที่บุกรุกที่ดินของการรถไฟซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินในพื้นที่ทั้งหมด

 

การละเว้นปฏิบัติหน้าที่และการไม่บังคับใช้กฎหมายเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๕๓ บัญญัติว่า “ รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด”

 

 

และเมื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐแล้วหากมีการปล่อยปละละเลย ประชาชนอาจฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๕๑

 

 

ดังนั้นด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น กรมที่ดินต้องดำเนินการเพิกถอนคำสั่งต่าง ๆ ของกรมที่ดินที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมายและเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ

 

 

แต่กลับไม่ดำเนินการปฏิบัติบังคับใช้ตามกฎหมาย ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐไม่ใช้อำนาจทำหน้าที่ของตนทำการเพิกถอนโฉนดที่ ๓๔๖๖ และ ๘๕๖๔ ซึ่งออกทับซ้อนที่ดินของการรถไฟฯ

 

 

ทั้งที่มีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ปี ๒๕๔๑ ผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯวุฒิสภาเมื่อปี ๒๕๔๘
และผลการไต่สวนของ ป.ป.ช.ปี ๒๕๕๔ ตลอดจนมีคำพิพากษาศาลฎีกาปี ๒๕๖๐,ปี ๒๕๖๑  

 

 

การไม่ยอมเพิกถอนทำให้รัฐสูญเสียที่ดินที่เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินจำนวนมหาศาลอันเป็นปัญหาสำคัญของประเทศชาติ จึงแจ้งมาเพื่อเป็นเบาะแสข้อมูลให้กับคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อดำเนินการต่อไป

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) จึงขอเรียนมายังท่านประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการตรวจสอบโดยเร่งด่วนต่อไป