ข่าว

ลูกจ้าง TST "วอนเห็นใจ" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ลูกจ้าง TST "วอนเห็นใจ" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

02 ก.ย. 2564

ลูกจ้างโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ หรือ Tambon Smart Team วอนรัฐบาลเห็นใจ ต่อสัญญาโครงการออกไปอีก 1 ปี เหตุผลเพราะเชื้อโควิด-19 ยังมีจำนวนมาก หางานลำบาก

ลูกจ้างเหมาบริการตามโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ หรือ Tambon Smart Team (TST) จำนวน 14,510 คนทั่วประเทศ แบ่งเป็นตำบลละ 2 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างโครงการจ้างงานของกระทรวงมหาดไทย โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 รวมระยะการจ้างงาน 12 เดือน (1 ต.ค. 63 – 30 ก.ย. 64) ส่วนอัตราค่าตอบแทนจ้างเหมา 15,000 บาท/เดือน

โครงการดังกล่าวกำลังจะสิ้นสุดสัญญาจ้างในวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างจำนวน 14,510 คนทั่วประเทศตกงาน
เบื้องต้นกรมการปกครอง กระทวงมหาดไทยได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 เพื่อขอต่ออายุโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ หรือ Tambon Smart Team (TST) สำหรับปีงบประมาณ 2565

โดยให้เหตุผลว่ากระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ ( Tambon Smart Team ) อันนำไปสู่ผลผลิตและผลลัพธ์ (Output and Outcome) ที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หลัก ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ อย่างเป็นประจักษ์และเป็นรูปธรรมในระดับพื้นที่จึงขอพิจารณาต่ออายุโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team)

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ร.ต.ท. ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เคยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Googmorning Asean ทางวิทยุคลื่นความถี่ 100.5 อสมท. ว่าโครงการได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ 3 หลักการคือ

  1. ส่งเสริมกระตุ้นเกิดการจ้างงานทุกตำบลให้มีรายได้ในระดับพื้นที่ตำบล 
  2. มีภารกิจจัดเก็บฐานข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่ในทุกระดับ และหากดำเนินการเสร็จหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนสามารถนำไปประมวลผลและใช้งานได้อย่างแน่นอน 
  3. เมื่อประมวลผลเสร็จสิ้นสามารถเกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับตำบล โดยการดำเนินงานของลูกจ้าง Tambon Smart Team จำนวน 14,510 คน ได้ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระดับตำบลใกล้แล้วเสร็จในทุกมิติทั้ง 12 ด้าน ซึ่งถือว่าดำเนินการจนเห็นผล และหากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จก็จะมีการนำข้อมูลมาประมวลผลและสร้างแพลตฟอร์มให้หลายภาคส่วนสามารถเข้ามาดูข้อมูลว่าแต่ละพื้นที่ แต่ละตำบลมีพืชเศรษฐกิจอะไรบ้าง มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจยังไงบ้าง ซึ่งมีการประมวลผลทุกเดือน

สำหรับ 12 ด้าน ที่ลูกจ้าง Tambon Smart Team จัดเก็บข้อมูล แยกเป็น

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและกายภาพ
  2. ด้านการปกครองและความมั่นคง
  3. ด้านสาธารณภัย
  4. ด้านสาธารณสุข
  5. ด้านที่ดิน
  6. ด้านการผังเมือง
  7. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8. ด้านเศรษฐกิจ
  9. ด้านเกษตรกรรม
  10. ด้านอุตสาหกรรม
  11. ด้านการบริการและการท่องเที่ยว
  12. ด้านสังคมและการศึกษา

ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมการปกครอง ได้ตอบคำถามถึงกรณีหากหมดสิ้นโครงการจะทำการต่อสัญญาหรือไม่ โดยระบุว่า ได้ทำเรื่องให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามถึงเลขาธิการสภาพัฒนฯ ในการต่อสัญญาโครงการ ซึ่งขณะนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะเล็งเห็นความสามารถของเด็กในโครงการ Tambon Smart Team มีประโยชน์อย่างไรบ้าง เนื่องจากถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับพื้นที่ในการค้นคว้าหาข้อมูล และหากมีการอนุมัติต่อโครงการก็จะถือว่าได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ รัฐได้ข้อมูลระดับพื้นที่ที่เป็นจริง และเกิดการจ้างงานเด็กจบใหม่หรือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด

ด้านลูกจ้าง Tambon Smart Team ได้มีการตั้งกลุ่มออกมาเรียกร้องในการอยากให้มีการต่อสัญญา เพราะที่ผ่านมาพวกเขาก็ทำงานอย่างเต็มที่ ทั้งลงพื้นที่เก็บข้อมูล 12 ด้าน จัดเก็บพิกัด ตามแผนของกระทรวงมหาดไทย และทำงานตามคำสั่งของที่ทำการปกครองอำเภอ ได้ทุกมิติ รวมทั้งเข้าด่านตรวจคัดกรองโควิด จัดห้องประชุม ทำความสะอาดหอประชุม รวมทั้งเขียนโปรเจ็กแบงค์ในการของบประมาณด้วย
 
โดยหนึ่งในลูกจ้าง Tambon Smart Team ระบุว่า ที่พวกเขาออกมาเรียกร้องให้มีการต่อสัญญาโครงการ เหตุผลเพราะว่าช่วงนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวนมาก และขยายเป็นวงกว้าง การจะให้ไปหางานใหม่ก็คงเป็นเรื่องยากและลำบาก เนื่องจากบางแห่งเป็นพื้นที่สีแดง ถ้าเป็นโรงงาน หรือบริษัท บางบริษัทก็ปิดตัวลง จ้างคนออก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี อุ้มค่าใช้จ่ายไม่ไหว หากมีการต่อสัญญาโครงการจริงก็จะทำให้ไม่ต้องเดินทางจากบ้านไปไกล ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ เศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ดังนั้นจึงอยากขอความอนุเคราะห์ไปถึงรัฐบาลให้เล็งเห็นประโยชน์ที่เราได้ปฏิบัติงานมาตลอดเกือบครบ 1 ปี ซึ่งวันที่ 30 กันยายน 2564 ก็สิ้นสุดสัญญาจ้างแล้ว หากไม่มีการต่อสัญญาก็จะมีคนจำนวน 14,510 คน กลายเป็นผู้ตกงาน


"ไม่ใช่ว่าพวกเราเห็นแก่ตัว จริงอยู่ว่ามีคนตกงานจำนวนมาก แต่ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่พวกเราทำงานในพื้นที่ ช่วยงานที่ทำการปกครองอำเภอ ถือว่าแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ไม่มากก็น้อย การลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล จัดเก็บพิกัด หากทางกรมการปกครองดำเนินการประมวลผลแล้วเสร็จ ทางภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคการท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้งานได้จริง เป็นข้อมูลในการจัดทำเรื่องเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวได้ ตามที่ท่าน รองอธิบดีกรมการปกครอง ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ ยิ่งปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกระจายเป็นวงกว้าง และมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา"

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ

ลูกจ้าง TST \"วอนเห็นใจ\" ต่อสัญญาโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ