เช็ควิธีลงทะเบียนรับชุดตรวจ "ATK" ผ่าน "แอปฯเป๋าตัง" ด่วน ดีเดย์แจก วันนี้
เปิดวิธี ลงทะเบียนรับชุดตรวจโควิด "ATK" ต้องประเมินความเสี่ยง ผ่าน "แอปฯเป๋าตัง" ก่อนดีเดย์แจก วันนี้ เช็คขั้นตอนด่วน
เช็คขั้นตอน รับชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) แบบ Self-test ลงทะเบียน และทำแบบประเมินความเสี่ยงผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง โดยสามารถเลือกร้านยาที่จะเข้าไปรับชุดตรวจได้ รวมทั้ง อาจ Walk in มาที่ร้านยา ให้ร้านยาประเมินความเสี่ยง และบันทึกข้อมูลเข้ามาในระบบแอปฯเป๋าตังเช่นกัน
ขั้นตอนก่อนรับชุด ATK
- ลงทะเบียน-ประเมินความเสี่ยงผ่านแอป เป๋าตัง
- Walk In มาที่ร้านขายยา เพื่อประเมินความเสี่ยง
- บันทึกข้อมูลเข้าระบบ แอป เป๋าตัง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- Labพร้อม รับการตรวจคุณภาพ "ATK" ล็อตแรกเข้าไทยสัปดาห์หน้า
- แนะ 3 วิธีทิ้ง "ATK" อย่างไรให้ปลอดภัยไม่เหลือโรค
- เช็กอัปเดต จุดตรวจ "โควิด-19" แบบ ATK ในพื้นที่ กทม. ประจำเดือน ก.ย. 64
นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า มีหลายภาคส่วนที่เข้ามากระจายชุดตรวจ ATK ซึ่งร้านยาก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่รู้ตอนนี้คือ สปสช.มีร้านยาที่ลงทะเบียน เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ ประมาณ 1,000 ร้านทั่วประเทศ อยู่ใน กทม.ประมาณ 300 ร้าน คนที่ได้รับ ATK จะได้ไปคนละ 2 ชุด สำหรับตรวจครั้งแรก และตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อผ่านไป 5 วัน ส่วนคนที่จะรับชุดตรวจนั้น จะต้องเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนในที่ทำงานติดเชื้อ แต่ตัวเองยังมีอาการปกติ ไม่แน่ใจว่าจะได้รับเชื้อด้วยหรือไม่ แบบนี้ก็เข้าข่ายสามารถมารับ ATK ได้
ทั้งนี้ เมื่อทราบผลตรวจแล้ว ผู้ทำการตรวจต้องส่งรูป หรือโทรกลับมาแจ้งที่ร้านยา เพื่อรับคำแนะนำในการแปลผลการตรวจ ในกรณีที่ผลเป็นลบ เภสัชกรจะแนะนำให้กักตัวอยู่บ้านให้ครบ 14 วัน แต่ถ้าผลเป็นบวก ก็จะแนะนำให้เข้าระบบการดูแลที่บ้านแบบ Home Isolation และถ้ามีอาการมาก ก็มีการพูดคุยกันว่า จะให้ร้านยาส่งยาฟาวิพิราเวียร์ไปให้ที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการส่งยาฟาวิพิราเวียร์ต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง
ด้าน นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ชุดตรวจ ATK จะแจกสำหรับให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนในบ้านเป็น อยู่ในชุมชนแออัด มีการสัมผัสอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ อยู่ในพื้นที่ระบาด กลุ่มที่ให้บริการผู้อื่น เช่น แม่ค้าในตลาด เป็นต้น
ในส่วนของพื้นที่ กทม. ได้เตรียมไว้ 2 ล้านชุด สำหรับชุมชน 2,000 กว่าชุมชน โดยกระจายให้ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. แล้วกระจายต่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสส.เอาไปกระจายในชุมชน แต่คนที่รับต้องพิสูจน์ตัวตนผ่านแอปฯเป๋าตัง และทำแบบประเมินว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจริงหรือไม่
ขณะที่อีกส่วนส่งไปตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสีแดง ผ่านหน่วยบริการ เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากนั้น หน่วยบริการกระจายผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือให้ประชาชนมารับที่หน่วยบริการก็ได้ แต่ต้องประเมินว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงก่อนรับชุดตรวจ ATK ด้วยเช่นกัน
ส่วนที่ 3 กระจายผ่านร้านยาและคลินิกในเครือข่าย สปสช. ประมาณ 1,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งอาจให้ผู้รับมารับชุดตรวจที่ร้านยา และลงทะเบียนผ่านแอปเป๋าตัง โดยให้ร้านยาติดตามผลการคัดกรองให้
อย่างไรก็ตามคาดว่า จะสามารถกระจายชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ในช่วงประมาณวันที่ 15 ก.ย.นี้
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ