ข่าว

เลขาธิการ กพฐ. แจงการจ่ายเงิน "เยียวยา2000" ย้ำจ่ายเต็มจำนวนไม่มีหักเงิน

เลขาธิการ กพฐ. แจงการจ่ายเงิน "เยียวยา2000" ย้ำจ่ายเต็มจำนวนไม่มีหักเงิน

06 ก.ย. 2564

ว่อนโซเชียล รร.หักค่าธรรมเนียมโอนเงิน 50 บาท เลขาธิการ กพฐ. ออกโรงแจกแจงจ่ายเงิน "เยียวยา2000" ต้องจ่ายเต็มจำนวนไม่มีหักเงิน กำชับทุกเขตพื้นที่ฯ ติดตาม ตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

วันที่ 6 กันยายน 2564  ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)  กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากที่มีเสียงสะท้อนทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับการจ่ายเงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท  ตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ปกครอง 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คนนั้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เยียวยา2000" ได้สิทธิ์แต่ยังไม่ได้เงิน ตรวจสอบสิทธิ์ได้ตามช่องทางนี้

เช็กสิทธิ์เงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท รร.รัฐบาล เอกชน ครบทุกขั้นตอนที่นี่

อย่าเด็ดขาด นายกฯสั่งห้ามโรงเรียนหัก "เงินเยียวยานักเรียน" 2,000 บาท

 

 

ดร.อัมพร กล่าวว่า สำหรับการจ่ายเงินให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียน ในอัตรา 2,000 บาท ต่อนักเรียน 1 คน หรือ "เยียวยา2000" ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาจ่ายตามจำนวนนักเรียนที่มีตัวตนอยู่จริง ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 และต้องเรียนอยู่ในโรงเรียน ณ วันที่จ่ายเงิน โดยการเบิกจ่ายสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี

 

เลขาธิการ กพฐ. แจงการจ่ายเงิน \"เยียวยา2000\" ย้ำจ่ายเต็มจำนวนไม่มีหักเงิน

ผู้ปกครองและนักเรียนรอรับ"เยียวยา2000"

 

"คือ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารผู้ปกครองหรือนักเรียน หรือจ่ายเป็นเงินสดให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียน โดยโรงเรียนจ่ายเงินให้เต็มจำนวนไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ"เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

 

 

เลขาธิการ กพฐ. แจงการจ่ายเงิน \"เยียวยา2000\" ย้ำจ่ายเต็มจำนวนไม่มีหักเงิน

ผู้ปกครองนักเรียนรับเงิน "เยียวยา2000"

 

ทั้งนี้ ในส่วนที่มีผู้กล่าวว่ามีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมโอนเงิน 50 บาทด้วยนั้น ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง  เนื่องจาก สพฐ. ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหนังสือที่ ศธ 04006/ว2730 ให้สถานศึกษาในสังกัดจ่ายเงินให้กับผู้ปกครองหรือนักเรียนเต็มจำนวน "เยียวยา2000" ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ส่วนกรณีที่มีรายชื่อนักเรียนตกหล่น ทำให้ไม่ได้รับเงิน "เยียวยา2000" ทั้งในกรณีนักเรียนย้ายเข้ามาจากสังกัดอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

 

 

รวมทั้งนักเรียนที่มีตัวตนอยู่ในโรงเรียน ณ วันที่จ่ายเงิน แต่ไม่มีข้อมูลนักเรียนในระบบ DMC ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564 ให้โรงเรียนรายงานข้อมูลเพื่อขอสนับสนุนเพิ่มเติม ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ สพฐ. เพื่อพิจารณาข้อมูลประกอบการจัดสรรเพิ่มเติมต่อไป

 

 

“เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้เน้นย้ำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต กำกับ ติดตาม ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติตามแนวทางการจ่ายเงินเยียวยาอย่างเคร่งครัด”เลขาธิการ กพฐ. กล่าวย้ำ