สุดเจ๋ง "มทร.สุวรรณภูมิ" คว้ารางวัล นวัตกรรมเพื่อการเกษตร ปี 2021
เครื่องขอดเกร็ดปลาอัตโนมัติ "นวัตกรรม" ลดต้นทุนเกษตรกร "มทร.สุวรรณภูมิ" คว้ารางวัล นวัตกรรมเพื่อการเกษตร ปี 2021 จากผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้นกว่า 115 ทีมทั่วประเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัยวิท เฉลิมนนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดประกวด “รางวัลส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ประจำปี 2564” Smart Agro-Machinery DIProm 2021
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"มทรส." เปิดหลักสูตรดีเพื่อการมีงานทำ"นักพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย"
ผ่านแผน 4ปี "มทร.สุวรรณภูมิ" ปั้นบัณฑิตเก่งไอที-มีทักษะ
เปิดตัว "นวัตกรรมใหม่" ระบบดิจิทัล ตรวจโควิดครั้งแรกในไทย
เป็นการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิตและเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตรฯ ได้นำผลงานเข้าร่วมประกวด คือ ผลงานเครื่องขอดเกล็ดปลาอัตโนมัติ วิสาหกิจชุมชนปลานิลแปลงใหญ่ จังหวัดชลบุรี เป็นของอาจารย์เฉลิมขวัญ อริยะวงศ์ ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง
และผลงานอาจารย์พิรุณ ชมศรี เครื่องกลั่นสมุนไพรน้ำมันหอมระเหย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับใบประกาศนียบัตร รางวัลต้นแบบ Smart Agro-Machinery DIProm 2021
ด้าน อาจารย์เฉลิมขวัญ อริยะวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร กล่าวว่า ตนและอาจารย์ในสาขาได้นำผลงานเข้าร่วมประกวด โดยผลงานของตนคือ เครื่องขอดเกร็ดปลาอัตโนมัติ ส่วนอาจารย์พิรุณ ชมศรี ได้ส่งผลงานเครื่องกลั่นสมุนไพรน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้นกว่า 115 ทีม ทั่วประเทศ
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิตและเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะอย่างมืออาชีพ ผลการประกวด พบว่า เครื่องขอดเกร็ดปลาอัตโนมัติ ได้รับโล่รางวัลรางวัลรองชนะเลิศ อันดับสอง เป็นแบบอย่างการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และผลงานเครื่องกลั่นสมุนไพรน้ำมันหอมระเหย ของอาจารย์พิรุณ ชมศรี ได้รับใบประกาศนียบัตร รางวัล ต้นแบบ Smart Agro-Machinery DIProm 2021
อาจารย์เฉลิมขวัญ อริยะวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตร เป็นแนวทางในการต่อยอดและขยายผลการยกระดับและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม มทร.สุวรรณภูมิ นั้นพร้อมสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะและเผยแพร่เทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น ผ่านเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน
“เพื่อยกระดับและพัฒนาแบบอย่างการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะสู่การเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะอย่างมืออาชีพ ประการสำคัญสามารถลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต ให้แก่เกษตรกร สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนด้วย” อาจารย์เฉลิมขวัญ กล่าวในที่สุด