ทีมวิจัยญี่ปุ่นติดเครื่องวัด "สารกัมมันตรังสี" บนงูเพื่อตรวจสอบสารคงค้าง
ประเทศญี่ปุ่นมีทีมนักวิจัยทำการทดลองวัดระดับของ "สารกัมมันตรังสี" ที่เหลืออยู่ใน เมืองฟุกุชิมะ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนี้จะเก็บไปศึกษาต่อว่าสารที่คงเหลือจะส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์อย่างไร
การทดลองนี้ทำโดยติดอุปกรณ์ติดตาม (จีพีเอส) และเครื่องวัดปริมาณกัมมันตรังสีด้วยเทปและกาว "ไว้บนลำตัวของงู” เพื่อให้งูเลื้อยออกไปวัดระดับกัมมันตรังสีในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิที่ประสบปัญหาการระเบิดสามครั้งในเดือนมี.ค. 2554 จากการพัดถล่มของคลื่นสึนามิ ซึ่งการระเบิดที่โรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นนั้นปล่อยสารกัมมันตรังสีสู่ชั้นบรรยากาศและลงดินมากเป็นอันดับสองรองจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลในปี 2529
ที่เมืองฟุกุชิมะผู้คนราว 150,000 คนต้องรีบอพบพทันทีหลังเกิดเหตุ และแม้ว่าวันนี้หลายคนจะเดินทางกลับมายังเมืองนี้แล้วแต่พื้นที่อีกกว่า 400 ตารางกิโลเมตรยังไม่สามารถให้มนุษย์กลับไปอยู่ได้
จากการทดลอง พวกงูเลื้อยไปยังพื้นที่ที่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 24 กิโลเมตรซึ่งพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่บริเวณบ้านของพวกมัน ทำให้มันได้รับร่องรอยทางชีวภาพติดตัวกลับมาด้วย นักวิจัยพบว่างูในเขตฟุกุชิมะมีระดับ สารซีเซียม 134 และ 137 (สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง) สูงกว่างูทั่วไปประมาณ 22 เท่า ซึ่งทีมนักวิจัยอธิบายว่า “สารซีเซียซีเซียม 134 และ 137 ที่สะสมอยู่ในดินได้ฝังตัวเข้ามาอยู่ในเนื้อเยื่อของงู แต่เรายังไม่เข้าใจว่าระดับไหนจะเป็นอันตราย”
จึงทำให้ทีมนักวิจัยสรุปขอบเขตของการศึกษาครั้งนี้ว่า "ยังต้องทำการศึกษาให้ลึกลงไปกว่านี้อย่างแน่นอน"
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2011/radiation
https://theconversation.com/fukushima-ten-years-on-from-the-disaster
https://inis.iaea.org/collection/NCLCollectionStore/_Public/29/044/29044569.pdf
https://www.theguardian.com/world/2021/sep/09/radioactive-snakes-help-scientists-monitor-fallout-from-fukushima-nuclear-disaster?