ข่าว

NIA ผนึก HUAWEI เดินหน้ายกระดับสตาร์ทอัพด้วยเทคโนโลยี 5G

NIA ผนึก HUAWEI เดินหน้ายกระดับสตาร์ทอัพด้วยเทคโนโลยี 5G

10 ก.ย. 2564

"NIA" ร่วมกับ HUAWEI Thailand เปิดกิจกรรม DEMO DAY ในงาน Startup Thailand Club ครั้งที่ 6 หัวข้อ 5G Technology ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง NIA และ HUAWEI Thailand ในโครงการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G ปีที่ 3

 

 

นายปริวรรต วงษ์สำราญ  ผอ.ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน)หรือ" NIA" เผยถึงกรอบความร่วมมือระหว่าง" NIA" กับ HUAWEI Thailand ครั้งนี้ว่า

 

 

สืบเนื่องจาก"NIA"และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของกำลังคน เพื่อสังคมนวัตกรรมที่ยั่งยืน เมื่อตุลาคม 2019

 

 

ซึ่งจาก MoU ฉบับนี้นำไปสู่ความร่วมมือในการจัดอบรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G ในโครงการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพ

 

 

และผู้ประกอบการนวัตกรรมในระยะเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีเชิงลึก
(Deep Tech)เข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G (Pre-incubator) และผลักดันเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น (Incubationprogram)
 

 

 

NIA ผนึก HUAWEI เดินหน้ายกระดับสตาร์ทอัพด้วยเทคโนโลยี 5G

 

 

สำหรับโครงการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นและผู้ประกอบการนวัตกรรมในระยะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G (Pre-incubator) และผลักดันเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น (Incubation program)

 

 

ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง "NIA"และ HUAWEI Thailand ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3  ผ่านกระบวนการอบรมเรียนรู้ในเรื่อง 5G Network, Cloud Service & IoT Synergy Program

 

 

โดยปีนี้ได้เพิ่มการบ่มเพาะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพด้วยการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษา (Mentorship)เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ ที่นำเทคโนโลยี5G มาใช้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในกิจกรรม DEMO DAY

 

 

และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ NIA เป็นการพัฒนาขีดความสามารถของสตาร์ทอัพให้สามารถขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต 

 


 

 

 

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ Chief Technology Officer (CTO), Carrier Network Business Group  บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือในโครงการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นเทคโนโลยีเชิงลึกด้าน 5G ปีที่ 3 นี้ เป็นการสนับสนุนเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ผ่านการส่งมอบความรู้ในระดับสากล

 

 

และหลักสูตรการอบรมชั้นนำอย่าง Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ผนวกเข้ากับธุรกิจต่างๆ (5GTechnology Mentoring) เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้และยกระดับแผนธุรกิจได้จริง

 

 

จากการเข้ารับฟังแผนธุรกิจของหลายๆ เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในปีนี้ พบว่าบริษัทส่วนใหญ่มีความเข้าใจในศักยภาพและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี 5G มากขึ้น

 

 

และมีแนวคิดในการประยุกต์รวมเทคโนโลยี 5G เข้ากับผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือแผนธุรกิจในระยะสั้นหรือระยะยาวได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถนำมาประกอบเข้ากับความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศไทย

 

 

สำหรับเทคโนโลยี 5G ประเทศไทยถือเป็นผู้นำในอาเซียนในการวางโครงข่าย 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ และยังเป็นผู้นำด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5Gในภาคสาธารณสุข ภาคการศึกษา ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการสร้างระบบนิเวศด้านเทคโนโลยี 5G ในด้านการบ่มเพาะบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G 

 

 

กิจกรรม DEMO DAY ในงาน ‘Startup Thailand Club’ ครั้งที่ 6 ในวันที่ 2 กันยายน 2564  ภายใต้หัวข้อ 5G Technology เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอัพเดทเทรนด์ล่าสุดของเทคโนโลยี 5G จากวิทยากรภาครัฐ เอกชน และกลุ่มนักลงทุนจากภาคส่วนต่าง ๆ

 

 ได้แก่ ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานดิจิทัลแพลตฟอร์ม ดร.ณัฐนรินทร์ เนียมประดิษฐ์ CEO, Lean Business Design Thailand ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมการค้าส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ เอสเอ็มอี  

 

คณิศรา กาญจนวงศ์  Senior Fund Management andBusiness Development Manager, Beacon VC อมฤต เจริญพันธ์  Angel Investor และ Co-founder of Techsauce / HUBBA  และอัฐพงศ์ ชูละออง 5G Solution Architect บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

 

 

และผลงานจาก 4 สตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือก นำเสนอการพัฒนาแผนงานธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยี 5G  ได้แก่ ระบบสร้างห้องแรงดันลบ และควบคุมด้วยเทคโนโลยี IOT สำหรับการทำ home isolation โดยบริษัท เอ็นอาร์จีแทรค จำกัด  

 

 

การส่งเสริมการขายเสมือนจริง ทำงานผ่านจอ Interactive 5G Network โดยบริษัท โปร-ทอยส์ จำกัด  แพลทฟอร์มสำหรับการเรียนการสอนดนตรีที่ผู้ปกครองติดตามพัฒนาการของเด็กๆ ได้ โดยบริษัท บีเอ็นเค มิวสิคมอล จำกัด และระบบ Telemedicine สำหรับโรงพยาบาลสัตว์ โดยบริษัท เพ็ท พอว์ จำกัด

 

 

นายปริวรรต ทิ้งท้ายถึงสตาร์ทอัพหน้าใหม่ว่า ขณะนี้สถานการณ์ของสตาร์ทอัพทั่วโลกเกิดการชะลอตัวในการระดมทุนจากวิกฤตของโควิด-19 ดังนั้นสตาร์ทอัพควรปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี เรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ อาทิ 5G, Cloud, IoT เข้ามาปรับใช้เพื่อความอยู่รอดและสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโตต่อไป